ด.ช. กิตติธัช แก้วนิลกุล เรื่อง โคมไฟยี่เป็ง ด.ช. กิตติธัช แก้วนิลกุล
ความหมายของโคมไฟยี่ เป็ง โคมไฟใช้สำหรับบูชาพระพุทธเจ้าในช่วงประเพณียี่เป็งของชาวไทยล้านนาโดยถือว่าเป็นของสูง ที่แสดงถึงความสว่างรุ่งโรจน์ตามตำนานในพระคัมภีร์พระธรรมเทศนา อนิสงค์ผาง ผะตี๊บ (ประทีป) ผู้ใดที่ทำโคมไฟบูชาในวันเพ็ญเดือนสิบสองเดือนยี่เป็ง จะได้รับผลบุญมีชีวิตอยู่ร่มเย็นเป็นสุข
ความหมายของโคมไฟยี่ เป็ง ชุมชนเมืองสาตรหลวง บนถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ตำบลหนองหอย อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งงานหัตถกรรมโคมแขวนล้านนา หัตถกรรมพื้นบ้านที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นปู่ย่าตายาย สู่รุ่นลูกรุ่นหลานในยุคปัจจุบัน
ความหมายของโคมไฟยี่ เป็ง ฤดูฝนปีนี้เป็นปีที่มีฝนตกชุกในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เกือบจะทุกภูมิภาคต่างได้รับผลกระทบจากสภาวะฝนตกชุกนี้เช่นเดียวกัน ก็ได้แต่หวังว่าในเดือนพฤศจิกายนนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมจะลืมเลือนความเดือดร้อนเหล่านี้ไป แล้วหันมาสนุกสนานกับงานประเพณีลอยกระทงแทน
ความหมายของโคมไฟยี่ เป็ง ประเพณีลอยกระทงในแต่ละภูมิภาคที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมานั้น บางจังหวัดก็จะมีการจัดงานอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของตน อย่างเช่น จังหวัดนครพนม จัดงานไหลเรือไฟ จังหวัดตากก็มีงานประเพณีลอยกระทงสาย เป็นต้น
วัสดุที่ใช้สำหรับประดิษฐ์โคม วัสดุที่ใช้สำหรับประดิษฐ์โคม ได้แก่ กระดาษสา กระดาษแก้ว กระดาษตะกั่ว และกระดาษว่าว สีสด ๆ ผ้าดิบหรือผ้าโทเร กาว และไม้ไผ่
วิธีทำ นำไม้ไผ่มาขึ้นโครง จากนั้นนำผ้า หรือกระดาษที่ตัดเป็นรูปแบบต่าง ๆมาติดเข้ากับโครงไม้ไผ่ แล้วนำผ้า หรือกระดาษที่ตัด หรือฉลุลายเรียบร้อยแล้วมาตกแต่งที่บริเวณชายโคมเป็นอันเสร็จสิ้น ราคานั้นก็มีให้เลือกซื้อหาตั้งแต่สิบบาทขึ้นไปจนถึงหลักพัน ขึ้นอยู่กับขนาดและความยากง่ายของงานแต่ละชิ้น ที่ต้องใช้เวลาในการประดิษฐ์ต่างกันไปตามรูปแบบ
*สืบสานตำนานโคมยี่เป็ง* โคมไฟใช้สำหรับบูชาพระพุทธเจ้าในช่วงประเพณียี่เป็งของชาวไทยล้านนาโดยถือว่าเป็นของสูง ที่แสดงถึงความสว่างรุ่งโรจน์ตามตำนานในพระคัมภีร์พระธรรมเทศนาอนิสงค์ผางผะตี๊บ(ประทีป) ผู้ใดที่ทำโคมไฟบูชาในวันเพ็ญเดือนสิบสองเดือนยี่เป็ง จะได้รับผลบุญมีชีวิตอยู่ร่มเย็นเป็นสุข
โคมผัด เป็นโคมไฟชนิดหนึ่งที่ใช้จุดในคืนวันเพ็ญเดือนยี่เป็ง ส่องสว่างในยามราตรี โคมผัดนี้จะหมุนได้ ไม่มีกลไกในการหมุน หมุนเองด้วยความร้อนจากแสงเทียนหรือประทีปค่ะ
โคมผัดสวยๆ ภูมิปัญญาชาวล้านนา ท้ายๆเรื่องจะมีชื่อโคมรูปร่างต่างๆมาให้ชมค่ะ