งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การป้องกันไฟไหม้สวนยางในฤดูแล้ง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การป้องกันไฟไหม้สวนยางในฤดูแล้ง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การป้องกันไฟไหม้สวนยางในฤดูแล้ง
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ของทุกปี ประเทศไทยจะมีสภาวะอากาศที่ร้อน และแห้งแล้ง ซึ่งจะทำให้เกิดอัคคีภัยสวนยางที่ปลูกในปัจจุบันซึ่งมีถึง 13.57ล้านไร่ได้เพราะเศษใบไม้และกิ่งไม้ที่หล่นตามต้นไม้จะเป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้เป็นอย่างดี ดังนั้น ในช่วงฤดูแล้งนี้เกษตรกรเจ้าของสวนยางจึงควรตระหนักและดำเนินการป้องกันไฟสวนของตนเองโดยมีวิธีการดังนี้ กำจัดวัชพืชและเก็บเศษไม้ยางที่แห้งออกจากสวนเพราะสิ่งเหล่านี้เป็น เชื้อเพลิงในการเผาไหม้เป็นอย่างดี ถางรอบสวนให้เตียนเป็นแนวกว้าง 3-4 เมตร จัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงพื้นฐาน เช่นทราย เศษผ้า จอบ เสียม คราด ไม้และน้ำถ้าสามารถจัดหาได้ เพื่อที่จะได้ดับไฟเบื้องต้นเมื่อเกิดไฟ ไม้สวนยาง จัดเวรยามช่วยกำกับดูแลสวนยางของแต่ละคนให้พร้อมที่จะดับไฟ ทันทีเมื่อเกิดไฟไหม้สวนยาง เรียงเรียงโดย : เบ็ญจรงค์ จิรเศวตกุล , นิวัตร วรรณนิธิกุล

2 โรคเปลือกแห้งระบาดหนักในสวนยาง
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของไทยที่สร้างรายได้ สร้างอาชีพที่มั่นคง ให้กับเกษตรกรผู้ตัดสินใจเลือกปลูกยาง ในช่วงฤดูร้อน ปี 2550 นี้ สภาวะอากาศของประเทศไทยมีอุณหภูมิร้อนจัด เกือบทุกภาคประสบภัยแล้ง เป็นช่วงฤดูที่ยางพาราผลัดใบหากเกษตรกรผู้ปลูกยางมิได้สนใจดูแลบำรุงรักษาสวนยางของตนเอง ก็จะทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต ปริมาณน้ำยางที่ไดรับน้อย ไม่สม่ำเสมอ เปลือกยางแข็ง กรีดยากและมีอัตราเป็นโรคเปลือกแห้งสูง อาการขณะเป็นโรค ต้นยางเปลือกจะแห้ง กรีดแล้วไม่มีน้ำยางไหลเปลือกต้นยางตามลำต้นจะแตกพุพอง แต่ต้นยางไม่ตาย การป้องกัน เอาใจใส่ดูแลบำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูก ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมตามจำนวน และระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้องและเหมาะสมกับพันธุ์ยาง อย่ากรีดยางเมื่อยางยังไม่ได้ขนาดเปิดกรีด(อย่ากรีดยางเล็ก) หยุดกรีดยางในขณะยางผลัดใบ และเริ่มเปิดกรีดยางใหม่เมื่อใบ ยางที่ผลิงอกจนเป็นใบแก่เติมที่แล้ว เรียบเรียงโดย : เบ็ญจรงค์ จิรเศวตกุล ,นิวัตร วรรณนิธิกุล โทร

3 ผลกระทบจากภัยแล้งต่อปาล์มน้ำมัน
หากมีสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานานไม่น้อยกว่า เดือน จะมีผลกระทบต่อปาล์มน้ำมัน คือ จะมีผลต่อผลผลิต ถ้าช่วงแล้งตรงกับช่วงเวลาของการพัฒนาของดอก ภายใน 3 เดือน จะทำให้ดอกตัวเมียลดลง จะมีการเพิ่มขึ้นของดอกตัวผู้ หากมีช่วงแล้งที่ยาวนานกว่านี้ จะมีผลต่อการเป็นหมันของดอกตัวเมีย ความร้อน หรืออุณหภูมิที่สูงจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันด้วย ที่จะเห็นได้ด้วยสายตาคือถ้าแล้งยาวนานมาก จะพบว่าทางใบล่างจะเหี่ยวลู่ลง การดูแลสวนปาล์มน้ำมัน หากมีสภาวะฝนทิ้งช่วงยาว เจ้าของสวนควรปฏิบัติดังนี้ หมั่นเข้าไปตรวจความผิดปกติของสวนปาล์มน้ำมัน รักษาความชื้นของสวนปาล์ม โดย ไม่ตัดหญ้าจนโล่งเตียนจะเป็นการเร่งการสูญเสียความชื้นในดินทางหนึ่ง คลุมโคนต้นด้วยวัสดุ หรือทะลายเปล่าวางกระจายให้รอบโคนต้น ในกรณีมีแหล่งน้ำ ควรให้น้ำเสริมในสวนปาล์ม ตัดทางใบด้านล่างออก ให้เหลือทางใบรองรับทะลาย ประมาณ 48 ทางใบ ทำแนวกว้างประมาณ 2 เมตร รอบสวนปาล์ม โดยเก็บเศษไม้หรือใบไม้แห้งออกให้โล่ง เพื่อป้องกันภัยจากไฟไหม้ที่จะเกิดขึ้นได้ เรียบเรียงโดย : ศักดิ์ศิลป์ โชติกสกุล โทร

4 จัดรูปแบบโดย สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
คณะทำงานประชาสัมพันธ์สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร 2143/1 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ


ดาวน์โหลด ppt การป้องกันไฟไหม้สวนยางในฤดูแล้ง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google