โครงการทำบุญเข้าวัดด้วยการแต่งชุดผ้าไทย ทำไมต้องรณรงค์เชิญชวนแต่งชุดผ้าไทย เหตุผล สภาพสังคมไทยในปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเบี่ยงเบนทางด้านวัฒนธรรมไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนับวันที่จะทำให้วัฒนธรรมไทยอันดีงามเสื่อมลง ๆ เห็นได้จากค่านิยมการแต่งกาย ของวัยรุ่นไทยซึ่งจะลอกเลียนแบบการแต่งกายของศิลปินนักร้อง นักแสดงของต่างประเทศ ซึ่งจะนิยมการแต่งกาย แบบเปิดเผยร่างกาย เช่น ผู้หญิงสวมกระโปรง กางเกงสั้นมากเกินไป สวมเสื้อผ้าไม่ใส่ชุดชั้นใน ใส่สายเดียว โชว์ด้านหน้าด้านหลัง ใส่เสื้อคอลึกมาก ซึ่งผิดไปจากค่านิยมของหญิงไทยสมัยเก่าที่สวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกาย มิดชิด บางครั้งพฤติกรรมการแต่งกายของหญิงวัยรุ่นไทยที่ชอบโชว์ร่างกายยังทำให้ศาสนามัวหมอง เพราะการ แต่งกายลักษณะดังกล่าวเข้าไปในวัด เป็นการไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะหน่วยงาน หลักในการส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์ ฟื้นฟู งานด้านวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของชาติ ได้มีนโยบายรณรงค์ ให้ประชาชนคนไทยหันมานิยมสวมใส่เสื้อผ้าชุดไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน โอกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ และสนับสนุนภูมิปัญญาไทย ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การดำเนินการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตราด ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงปัญหาความเบี่ยงเบนดังกล่าว และเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ และสนับสนุน ภูมิปัญญาไทย ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้จัดทำ “โครงการทำบุญเข้าวัดด้วยการแต่งชุดผ้าไทย” ขึ้น
วัตถุประสงค์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน วัฒนธรรมไทยและอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชาติไทยให้คงอยู่สืบไป เพื่อส่งเสริม สนับสนุนพระพุทธศาสนาไม่ให้มัวหมองและเสื่อมลง เพื่อส่งเสริม สนับสนุนภูมิปัญญาไทย ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดปัญหาพฤติกรรมความเบี่ยงเบนวัฒนธรรมไทยด้านการแต่งกาย
เป้าหมาย ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนหญิง วัดทุกวัดในเขตพื้นที่จังหวัดตราด ส่วนราชการ เอกชน สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ ๑. ศึกษาวิเคราะห์สภาพความจริงของสังคมไทยด้านการแต่งกายจากสื่อต่าง ๆ ๒ สรุปผลการวิเคราะห์เพื่อจัดทำร่างโครงการทำบุญเข้าวัดด้วยการแต่งชุดผ้าไทย ๓. เสนอขออนุมัติโครงการ ๔. ดำเนินการตามโครงการ โดยวิธี - ประชาสัมพันธ์โครงการทาง - หน่วยงานราชการ - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - สถานศึกษา - และสื่อมวลชนท้องถิ่นทุกแขนง
- แบบสอบถาม - สังเกต - และสัมภาษณ์ ๕. ขอความร่วมมือทางคณะสงฆ์ระดับจังหวัด อำเภอและตำบล ประชาสัมพันธ์ไปยังวัด ต่าง ๆ ในสังกัด ๖. ขอความร่วมมือวัดทุกวัดในเขตพื้นที่จังหวัดตราด ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ประชาชน ให้ความร่วมมือกับทางราชการ ๗. สรุปและรายงานผลโครงการ โดยวิธี - แบบสอบถาม - สังเกต - และสัมภาษณ์
ระยะเวลาดำเนินการ เป็นโครงการต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นหญิงจะมีพฤติกรรมความเบี่ยงเบนด้านการแต่งกายที่ดีขึ้น ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีรายได้และช่วยกระตุ้นเศรษกิจให้ดีขึ้น และประชาชนมีค่านิยมในเอกลักษณ์ของความเป็นไทยให้คงอยู่คู่สังคมและวัฒนธรรมไทยสืบไป