การดำเนินงานตามกฎหมายป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ส่วนที่ 2 องค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ
Advertisements

กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
กองทุนพัฒนาไฟฟ้ากับ การพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ กับ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
แนวทางการบูรณาการ อพม.กับโครงการพัฒนาตำบลต้นแบบ
การดำเนินการจัดการเลือกตั้ง
การค้ามนุษย์.
การค้ามนุษย์.
การค้ามนุษย์.
ผลกระทบการเปิดประตูสู่อาเซียน
8. นโยบายรักษาความมั่นคงของรัฐ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนที่วัฒนธรรมในเขตคูเมืองลำพูน
การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตาม ตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ วันที่ 29 มกราคม 2551.
การปรับปรุงโครงสร้างภายในกองพัสดุ เสนอที่ประชุม
ภาคีห้องสมุด สถาบัน อุดมศึกษาไทย. ความเป็นมา คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการจัดการประชุม ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 22 ในภาพมีความร่วมมือ.
แนวทางการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพ ในภาพรวม ปีงบประมาณ 2551
การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
ความร่วมมือในการพัฒนาทุนมนุษย์ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ข้อดี และประสบการณ์ที่ควร ปรับปรุงเพื่อนำไปใช้ให้เกิด ประโยชน์จากการเข้าร่วมอบรม ให้สัมฤทธิ์ผลและสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน.
ACTION PLAN THAILAND.
Case Management.
ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัดลพบุรี วิทยฐานะ เชี่ยวชาญ
หลักการบริหารภาครัฐยุคใหม่
การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแผนชุมชน
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การโดยสรุป 1 หน้า
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางปฏิบัติและการเตรียมความพร้อม การถ่ายโอนภารกิจ
สำนักส่งเสริมและ พิทักษ์เด็ก
การจัดทำหอพักเครือข่ายของสถาบันการศึกษา
วันพฤหัสบดี ที่ 3 ตุลาคม 2556 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การบริหารราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗
กรอบอัตรากำลัง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.จังหวัด) (18) ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด (1) คณะกรรมการ กศน. จังหวัด/กทม.
โครงการเปลี่ยนแปลงด้านขั้นตอน / วิธีปฏิบัติงาน (นักพัฒนามาตรฐาน)
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน
1 (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุน ( ชื่อกองทุน ) ว่าด้วย ว่าด้วยการประชุม.
ระเบียบคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่
มติ ครม.19 มิถุนายน 2550 เห็นชอบ
วาระที่ 3.1 การประชุมคณะกรรมการ ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนผ.)
โดย วัชรินทร์ จำปี รองเลขาธิการ กศน.
ทำไมต้องปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ?
ระดับท้องถิ่น/พื้นที่
สาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานกักขัง ควบคุม และสถานบำบัดของกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ 1/2552 แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดแบ่งออกเป็น.
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อรับมอบนโยบาย และสร้างความเข้าใจต่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของกระทรวงยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ
ผลการดำเนินงานของจังหวัด
แผนยุทธศาสตร์ ไตรมาส ที่ 1 ไตรมาส ที่ 2 ไตรมาส ที่ 3 ไตรมาส ที่ 4 แผน 3 1. นักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 30% ทั่ว ประเทศได้มีการ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ด้านยาเสพติด.
งาน 1 : สรุป และนำเสนอ. 1. สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ. 2
พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553
อย.น้อย : เริ่มต้น และความคาดหวัง รวบรวมโดย...กฤษณา แป้นงาม
ณ ห้องประชุม สป. ๑ ชั้น ๘ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อคุ้มครอง
บทบาท อำนาจ หน้าที่ข้าราชการ กอ. รมน
พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.๒๕๔๘
สำนักบูรณาการสาธารณภัย อุบัติภัย และความปลอดภัยทางถนน
การวิเคราะห์ประเด็น ปัญหาการเฝ้าระวังใน พื้นที่ นายมนัสพร ภมรบุตร นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์จังหวัดเชียงใหม่
สำนักประสานและติดตามนโยบาย ???
การจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี
การบริหารราชการแผ่นดิน
มีอำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวง
แผนการดำเนินงาน ของศูนย์กฎหมาย ปีงบประมาณ พ.ศ กรมควบคุมโรค
ขั้นตอนการใช้พระราชบัญญัติ การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
นโยบายกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2554
ประสบการณ์การบริหาร มหาวิทยาลัย ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารมหาวิทยาลัย โครงสร้าง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ รูปแบบการบริหารและขอบเขต อำนาจ.
การขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงาน ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ความเป็นมาของความยุติธรรม
ประเภทของนโยบายสาธารณะ
โครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการ เรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาสหกรณ์ ในส่วนของสหกรณ์การเกษตร คณะกรรมการ ๑. คุณสายพิณเอี่ยมป๊อก ประธาน ๒. คุณนิภาเลี่ยมสกุลรองประธาน.
4. ด้านการสื่อสาร 5. ด้านการพัฒนานโยบายสาธารณะ
Roadmap : การขับเคลื่อนระดับพื้นที่ เป็นอย่างไร ??
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การดำเนินงานตามกฎหมายป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ สามารถชาย จอมวิญญา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

ขอบเขตเนื้อหา โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของ พม. ในการต่อต้านการค้ามนุษย์ การดำเนินงานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กลไกการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ขอบเขตเนื้อหา ประกอบด้วย โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของ พม. ในการต่อต้านการค้ามนุษย์ การดำเนินงานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กลไกการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของ พม. สป.พม. (สำนักงานเลขานุการปคม.) พมจ. (ศปคม. 75 จังหวัด) พส. สท. ประเทศไทยมีความตระหนักว่าการค้ามนุษย์เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง และได้พยายามดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์มาเป็นเวลานานแล้ว ทั้งนี้ ได้ประกาศเจตนารมณ์และนโยบายเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยให้เป็นวาระแห่งชาติ เช่นเดียวกับปัญหายาเสพติด เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2547 โดยมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยประสานงานหลักในเรื่องนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้มอบหมายให้ส่วนราชการต่าง ๆ ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ดังนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการระดับชาติ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และเป็นหน่วยประสานงานหลักของกระทรวงฯ ในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ทำหน้าที่คุ้มครองช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟู เยียวยา ส่งกลับ และคืนสู่สังคม รวมทั้งรับผิดชอบเรื่องการจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ รับผิดชอบเรื่องการจัดทำบันทึกข้อตกลงระดับชาติ และระดับภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินงานตามกฎหมาย พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 เดิมประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์มาบังคับใช้เป็นการเฉพาะ แต่มีการนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับมาใช้ให้เหมาะสมกับความผิดโดยมีเจตนารมณ์เพื่อคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา และที่แก้ไขเพิ่มเติม (เพื่อบริการทางเพศ เช่น สนองความใคร่ อนาจาร เพื่อใช้แรงงาน เช่น เอาคนลงเป็นทาส การแสวงประโยชน์จากการใช้แรงงานเด็กที่ผิดกฎหมาย) พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พ.ร.บ. มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. 2540 (เดิม พ.ร.บ. มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็กหญิง พ.ศ. 2471 ปัจจุบันถูกยกเลิกและประกาศใช้เป็น พ.ร.บ.ฯ ค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 แทน) ต่อมา รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551

การดำเนินงานฯ (ต่อ) คณะกรรมการระดับชาติ 2 คณะ คณะกรรมการ ปคม. – นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน คณะกรรมการ ปกค. – รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ตามพระราชฯ ดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการระดับชาติ 2 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (คณะกรรมการ ปคม.) ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และให้มีอำนาจหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์, กำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์, สั่งการและกำกับดูแลให้มีการศึกษาวิจัยและจัดทำข้อมูลแบบบูรณาการเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (คณะกรรมการ ปกค.) ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 กำหนดให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และให้มีอำนาจหน้าที่จัดทำและกำกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการและแผนประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นชุมชน และประชาสังคม ให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์, จัดทำและกำกับการดำเนินการตามแผนงานและแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง, จัดให้มีและกำกับการดำเนินการตามโครงการรณรงค์และการให้การศึกษากับประชาชนทั่วไป, จัดให้มีการรายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

จัดทำแนวทางการคัดแยกผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ จัดทำแนวทางการคัดแยกผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ ตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ยังได้จัดทำกลไกการดำเนินงานตามกฎหมายต่าง ๆ ประกอบด้วย 1. สร้างเครื่องมือการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยการจัดทำขอบเขตและองค์ประกอบในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เพื่อให้กรอบและความหมายคำว่าผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเป็นเกณฑ์ให้พนักงานสอบสวนใช้ประกอบการวินิจฉัยและคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

อนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง กฎกระทรวง 1 ฉบับ 2. ยกร่างอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง กฎกระทรวง จำนวน 1 ฉบับ คือ กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. .... (มาตรา 4) – คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

อนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) ระเบียบ 7 ฉบับ ประกาศ 1 ฉบับ

การดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ฯ (ต่อ) อบรมเผยแพร่ พ.ร.บ.ฯ 10 รุ่น นอกจากนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าภาพร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดการอบรมเพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 แก่ผู้แทนส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง องค์กรเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ระดับจังหวัดทั้ง 75 จังหวัด ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติฯ จัดอบรมไปแล้ว 10 รุ่น ตามโครงสร้างการบังคับบัญชาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 5,088 คน (ประกอบ ด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ 4,426 คน และเจ้าหน้าที่ทีมสหวิชาชีพ 622 คน)

กลไกการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กลไกการทำงาน ระหว่างประเทศ ระดับชาติ สำหรับกลไกการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ สามารถแยกออกเป็น 2 ระดับ คือ ระหว่างประเทศ ระดับชาติ

กลไกการป้องกันและปราบปรามฯ (ต่อ) ระหว่างประเทศ ทวิภาคี ไทย-กัมพูชา ไทย-ลาว ไทย-เวียดนาม ไทย-พม่า พหุภาคี COMMIT ASEAN

กลไกการป้องกันและปราบปรามฯ (ต่อ) ระดับชาติ บริหาร (ตาม พ.ร.บ.ฯ) คณะกก.ปคม. คณะอนุกก.นโยบายฯ คณะอนุกก.ประมง คณะอนุกก.ฐานข้อมูล คณะกก.ปกค. อนุกรรมการต่าง ๆ ปฏิบัติ (มติ ครม. ปรับสู่ พ.ร.บ.ฯ) ศปคม.แห่งชาติ ศปคม.จังหวัด (กทม. + 75 จว.) ศปคม.ระหว่างประเทศ

ลูกจ้างค้ามนุษย์ ความคาดหวังจาก พม. และภาคีเครือข่าย มีการจัดประชุมคณะกรรมการ ศปคม.จังหวัด อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และบูรณาการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เสียหาย เป็นกลไกหลักในการประสานงานกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ความคาดหวัง จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และภาคีเครือข่าย มีการจัดประชุมคณะกรรมการ ศปคม.จังหวัด อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และบูรณาการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เสียหาย เป็นกลไกในการประสานงานกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

ขอบคุณ