งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ณ ห้องประชุม สป. ๑ ชั้น ๘ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ณ ห้องประชุม สป. ๑ ชั้น ๘ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ณ ห้องประชุม สป. ๑ ชั้น ๘ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
การมอบนโยบาย เรื่องระบบติดตามการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของจังหวัด ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุม สป. ๑ ชั้น ๘ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

2 เหตุผลความจำเป็น ตามมาตรา ๒๖ (๓) แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ คำสั่ง ปกค. เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ศปคม. จังหวัด คดีที่อยู่ในความสนใจของสังคม เหตุผลความจำเป็น ตามมาตรา ๒๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดระบบงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมทั้งช่วยเหลือเยียวยาและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายให้มีประสิทธิภาพ คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.) ที่มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีคำสั่งที่ ๓/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด (ศปคม.จังหวัด) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการ เมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ทาง พม. ได้รับอีเมล์จากองค์กรพัฒนาเอกชนรายงานความคืบหน้าคดีค้ามนุษย์คดีหนึ่งที่เกิดเหตุเมื่อหลายปีก่อนในพื้นที่ต่างจังหวัด เป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของสังคม แต่กลับหลุดรอดออกจากระบบการติดตามการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ไม่มีการรายงานความคืบหน้าจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ๆ ที่ในส่วนกลางประชุมคณะกรรมการระดับชาติกันทุกเดือน ปลัด พม. จึงได้เสนอคณะกรรมการ ปกค. กำหนดให้จังหวัดจัดประชุมคณะอนุกรรมการ ศปคม.จังหวัด เป็นประจำทุกเดือน เพื่อจัดระบบการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ให้เป็นปัจจุบัน รวดเร็ว ทันการณ์ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

3 ระบบติดตามการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
คณะกรรมการ ปกค. ศปคม.จังหวัด พมจ. สถานคุ้มครองฯ บ้านพักเด็กฯ ตำรวจภูธร อัยการจังหวัด หน่วยงานอื่น จึงขอความร่วมมือให้คณะอนุกรรมการ ศปคม.จังหวัด ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ องค์กรเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้นำเสนอผลการดำเนินงานและความคืบหน้าต่อที่ประชุม แล้วให้ พมจ. ส่งผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ให้ พม. ทราบ ทุกวันที่ ๗ ของเดือน เพื่อจะได้ประมวลเสนอคณะกรรมการ ปกค. ต่อไป ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงฯ ได้สนับสนุนงบประมาณเป็นค่าเบี้ยประชุม ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับการประชุมดังกล่าว โดยอยู่ระหว่างโอนงบประมาณให้จังหวัดตามระเบียบของทางราชการ ทั้งนี้ ในส่วนของแบบฟอร์มรายงานที่จัดส่งให้จังหวัด จะเป็นแบบเดียวกับที่ส่วนกลางใช้ประกอบการจัดทำรายงานประจำปี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (พม. ได้แจ้งจังหวัดไปแล้วว่าสามารถดาวน์โหลดแบบรายงานได้ที่เว็บไซต์

4 การติดตามคดี (Prosecution)
รายงานเชิงปริมาณทุกครั้งที่มีการประชุม ศปคม.จังหวัด ๑. ตำรวจภูธรจังหวัด ๑.๑ จำนวนคดีที่ดำเนินการสอบสวน จำแนกตามรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ ๑.๒ สถิติการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จำแนกตามเพศ อายุ และสัญชาติ ๒. อัยการจังหวัด ๒.๑ จำนวนการฟ้องคดีต่อศาล จำนวนคดี/จำเลย จำแนกตามรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ ๒.๒ จำนวนจำเลยที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษถึงที่สุด และบทลงโทษ รายงานเชิงคุณภาพเฉพาะคดีสำคัญ การติดตามคดีค้ามนุษย์ ขอให้หน่วยงานดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมายของแต่ละจังหวัด รายงานผลการดำเนินคดีค้ามนุษย์เชิงปริมาณ ทุกครั้งที่มีการประชุม ดังนี้ ตำรวจภูธรจังหวัด เช่น ๑.๑ จำนวนคดีที่ดำเนินการสอบสวน จำแนกตามรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ ๑.๒ สถิติการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จำแนกตามเพศ อายุ และสัญชาติ ๒. อัยการจังหวัด เช่น ๒.๑ จำนวนการฟ้องคดีต่อศาล จำนวนคดี/จำเลย จำแนกตามรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ ๒.๒ จำนวนจำเลยที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษถึงที่สุด และบทลงโทษ นอกจากนี้ ขอให้รายงานเชิงคุณภาพเฉพาะคดีสำคัญ เช่น คดีที่มีความซับซ้อน คดีที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง คดีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติ คดีที่อยู่ในความสนใจของสังคม และต่างประเทศ รวมทั้งคดีที่ต้องการการสนับสนุนจากคณะกรรมการ ปกค. เพื่อคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินคดี เป็นต้น

5 การคุ้มครองช่วยเหลือ (Protection)
รายงานผลการช่วยเหลือผู้เสียหายทั้งเชิงปริมาณ จำนวนผู้เสียหายทั้งคนไทยและคนต่างด้าวที่เข้ารับการคุ้มครอง จำแนกตาม อายุ เพศ สัญชาติ และตามประเภทของการถูกแสวงหาประโยชน์ ผู้เสียหายที่ออกไปทำงานนอกสถานคุ้มครองฯ เชิงคุณภาพ : กรณี (case) ที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน ล่าช้าจากการ ดำเนินคดีและการบังคับใช้กฎหมาย การคุ้มครองช่วยเหลือ ขอให้หน่วยงานที่ให้ความคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ และบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด ซึ่งอาจรวมถึงองค์กรเอกชนด้วย) รายงานผลการช่วยเหลือผู้เสียหายทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทุกครั้งที่มีการประชุม เช่น จำนวนผู้เสียหายทั้งคนไทยและคนต่างด้าวที่เข้ารับการคุ้มครอง จำแนกตามอายุ เพศ สัญชาติ และตามประเภทของการถูกแสวงหาประโยชน์ จำนวนผู้เสียหายที่ออกไปทำงานนอกสถานคุ้มครองฯ (เฉพาะจังหวัดที่มีสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ และสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด) ๓. กรณี (case) ที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน ล่าช้าจากการดำเนินคดีและการบังคับใช้กฎหมาย

6 การป้องกัน (Prevention)
จำนวนบุคลากรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องภัยของการค้า มนุษย์ จำนวนครั้งในการตรวจแรงงาน/สถานประกอบการ/โรงงาน/เรือประมง เพื่อ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ผลของการตรวจดังกล่าว การป้องกัน ขอให้หน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการป้องกัน เช่น พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด แรงงานจังหวัด จัดหางานจังหวัด สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ประมงจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตำรวจน้ำ ท่องเที่ยวจังหวัด ฯลฯ รายงานผลการดำเนินงานด้านการป้องกัน ดังนี้ ๑. จำนวนบุคลากรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ๒. จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องภัยของการค้ามนุษย์ ๓. จำนวนครั้งในการตรวจแรงงาน/สถานประกอบการ/โรงงาน/เรือประมง เพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ผลของการตรวจดังกล่าว เป็นต้น

7 ข้อพึงระวัง ข้อมูลที่ได้เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายของจังหวัด ไม่ใช่ “การ จับผิด” ไม่มีค้ามนุษย์ : อย่าไปทำให้มี มีเยอะ : อย่าปกปิด กำหนดอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน ไม่ใช่เกี่ยงงาน : แต่บูรณาการงานร่วมกัน ขอฝากข้อพึงระวัง ดังนี้ วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งของการจัดระบบการติดตามงานฯ คือ เพื่อจังหวัดจะได้นำข้อมูลไปสู่การกำหนดนโยบายของจังหวัดในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เช่น เร่งรัดการดำเนินคดีและการบังคับใช้กฎหมาย การประสานงานกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายให้มีการสืบพยานผู้เสียหายที่รวดเร็วขึ้นก่อนส่งผู้เสียหายกลับภูมิลำเนา/ประเทศต้นทาง เร่งรัดขั้นตอนการจัดให้ผู้เสียหายออกไปทำงานนอกสถานคุ้มครอง การป้องกันไม่ให้คนไทยตกเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์ เป็นต้น แต่ไม่ใช่ “การจับผิด” จังหวัดต่าง ๆ จึงขอให้อย่าปั้นตัวเลข ปั้นคดี ไม่มีคดีค้ามนุษย์ อย่าไปพยายามจับกุม อย่าไปพยายามคัดแยกให้เป็นผู้เสียหายให้ได้ ในทางกลับกัน พื้นที่ใดมีการค้ามนุษย์มาก ก็อย่าปกปิด ต้องช่วยกันเอาข้อมูลมาหารือกันในที่ประชุม เพื่อจะได้ดำเนินการในทุกมาตรการทั้งดำเนินคดี คุ้มครอง และป้องกันให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มีหลายส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ควรกำหนดอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน แต่ไม่ใช่เพื่อให้เกี่ยงงานกัน แต่ขอให้บูรณาการร่วมกันในรูปแบบของทีมสหวิชาชีพต่อไป

8 รับเรื่องราวร้องทุกข์ แจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชั่นค้ามนุษย์
รับเรื่องราวร้องทุกข์ แจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชั่นค้ามนุษย์ tip = trafficking in persons (ค้ามนุษย์) = การส่งข่าว/เคล็ดลับ ps = Permanent Secretary (ปลัดกระทรวง) Tel : ขอพบ : นัดหมายได้ที่สำนักงานเลขานุการ ปคม. (ตึก ๕ ชั้น ๓ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) สุดท้าย ประเด็นที่ปลัดกระทรวงฯ ให้ความสำคัญ คือ การปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งในรายงานการค้ามนุษย์ของสหรัฐฯ หลายปีติดต่อกัน มักระบุว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ในส่วนกลางก็เรียกร้องกับฝ่ายสหรัฐฯ มาโดยตลอดว่า ขอรับข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน เพื่อจะได้ดำเนินการให้ถึงที่สุด อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ปลัดกระทรวงฯ จึงได้เปิดช่องทางเพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์ รับแจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชั่นการค้ามนุษย์ ไว้ ๓ ช่องทาง คือ ทางโทรศัพท์ เบอร์ ๐ ๒๒๘๑ ๐๑๕๓ เข้าพบปลัดกระทรวงฯ เพื่อให้ข้อมูลด้วยตนเอง สามารถนัดหมายได้ที่สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.)


ดาวน์โหลด ppt ณ ห้องประชุม สป. ๑ ชั้น ๘ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google