“การจัดการความรู้ : Share and Learn ประจำปี 2555” วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม 2555 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อผลงาน การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางเดินหายใจ หอผู้ป่วย 5ง เจ้าของผลงาน ทีมนำทางคลินิก โสต ศอ นาสิกวิทยา / มรกต ลิ้มวัฒนา /ไพพร แซ่เตีย ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา /งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิธีดำเนินการ (How to) กลุ่มทีมนำทางคลินิกโสต ศอ นาสิกวิทยาได้ร่วมประชุมกัน เพื่อจัดทำมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางเดินหายใจโดยมีแนวทางในการประเมินผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางเดินหายใจดังต่อไปนี้ ความสำคัญ การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางเดินหายใจที่มีประสิทธิภาพจะมีผลทำให้อัตราการรอดชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ทีมที่ให้การดูแลรักษาประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความรู้ความสามารถ ในการประเมินอาการผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วโดยมีแนวทางในการประเมินภาวะฉุกเฉินทางเดินหายใจที่เป็นมาตรฐานเดียวกันจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา ได้ทันท่วงทีและมีการเผ้าระวังสังเกตอาการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ ช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตสูง ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก พยาบาล เฝ้าระวังและสังเกตอย่างใกล้ชิดประเมินอาการแสดงนำของผู้ป่วยก่อนเกิดภาวะฉุกเฉินทางเดินหายใจตามสภาพความรุนแรงทุก 15 นาที จนถึง 1 ชั่วโมงตามแนวทางปฏิบัติดั้งนี้ อาการแสดงทางคลินิก 1 2 1. ระดับการรู้สติ ปกติ กระสับกระส่าย หมดสติ 2. เสียง Stridor ไม่มี Inspiratory stridor Biphasic stridor 3. Heart rate 60 – 120 min 120 – 140 / min 140 / min , 60 / min 4. Accessory muscle ไม่มีอาการจมูกบาน หรือหน้าอกบุ๋ม จมูกบาน หรือ Suprastemal retraction 1+ Intercostals andsubcostal retraction 5. Cyanosis ไม่มี หรือ O2 sat on room air 95 – 100 % มีใน room air หรือ O2 sat on room air 95 % มีขณะได้รับ O2 หรือ O2 sat 95 % ขณะ on O2 ประเภทผลงานตามพันธกิจ การบริการวิชาการและวิชาชีพ ผลการดำเนินงาน มีมาตรฐานในการประเมินผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางเดินหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและปลอดภัยจากการเสียชีวิต ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจาการใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเจาะคอ หมายเหตุ : ถ้า Score ≥ 5 เป็นเวลานานกว่า 30 นาที ต้องให้การรักษาแบบภาวะฉุกเฉิน ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ 1. การทำงานเป็นทีมของผู้ปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน 2. การสื่อสาร / ประสานงานระหว่างผู้ปฏิบัติงานในทีมช่วยส่งเสริมให้มีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมีการนำแนวทางลงไปสู่ การปฏิบัติให้ได้ผลในเวลาที่รวดเร็ว บันทึกข้อมูลตามอาการแสดงนำที่พบในแบบบันทึกการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางเดินหายใจ ข้อเสนอแนะ เนื่องจากเราไม่สามารถจะพยากรณ์ล่วงหน้าได้ว่า ภาวะฉุกเฉินทางเดินหายใจ จะเกิดขึ้นเมื่อใด ดังนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรมีเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยในการแก้ไขภาวะฉุกเฉินทางเดินหายใจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รายงานแพทย์เมื่อค่า Score ≥ 5 เป็นเวลานานกว่า 30 นาที เพื่อให้การช่วยเหลือแก้ไขภาวะฉุกเฉินทางเดินหายใจ ให้การดูแลเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยก่อนที่จะใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเจาะคอตามแผนการรักษาของแพทย์ ได้แก่ O2 Mask ,ให้พ่นยา ฯลฯ เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขภาวะฉุกเฉินทางเดินหายใจให้อยู่ในที่ๆหยิบใช้ได้ง่ายและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันที ได้แก่ รถ Emergency / อุปกรณ์ให้ Oxygen ที่ครบชุด / Endotracheal tube / Tracheostomy tube / Defibrillator พร้อมใช้ใน 4 นาที / Set เจาะคอฉุกเฉิน