รายงานการดำเนินงาน โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก มูลนิธิเด็ก เดือนมกราคม - เดือนธันวาคม ๒๕๔๘
งานด้านเด็ก ในปี พ.ศ.๒๕๔๘ รับเด็กใหม่เข้ามา จำนวน ๑๓ คน มีเด็กรวมทั้งสิ้น ๑๔๔ คน แยกเป็นประเภทดังนี้ ประเภท จำนวน/คน เด็กกำพร้า ๓๑ เด็กยากจน ๔๑ ครอบครัวแตกแยก ๔๗ เด็กถูกทอดทิ้ง ๑ เด็กถูกทารุณกรรม ๘
งานชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดทุกขณะจึงจัดให้มีห้องเรียนธรรมชาติโดยสมาชิกในชุมชนช่วยกันสร้าง และจัดบรรยากาศ กระตุ้นให้คนในชุมชนศึกษาเรื่องของธรรมชาติ ทั้งธรรมชาติของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติ บรรยากาศภายในโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก
งานด้านสุขภาพจิต งานด้านการศึกษา ส่งเสริมให้เด็กเล่นกีฬา มีทั้งแข่งขันภายในโรงเรียน และแข่งขันกับต่างโรงเรียน งานด้านการศึกษา งานด้านสุขภาพจิต แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนหมู่บ้าน เด็กที่ผ่านมา เน้นทักษะการใช้ชีวิตร่วมกันในลักษณะ เป็นครอบครัว ชุมชน สังคม
งานวัฒนธรรมของหมู่บ้านเด็ก ชุมชนหมู่บ้านเด็กมีวิธีคิดในการดำเนินชีวิตโดยเน้นความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย กำหนดการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เน้นความหลากหลาย ปรารถนาสร้างชุมชนทางเลือกให้คนทุกเพศทุกวัยอยู่ด้วยกันมีความสุข แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ ได้จัดเป็นห้องเรียนธรรมชาติ บรรยากาศเป็นห้องเรียนที่เรียนอยู่ใต้ต้นไม้ ท่ามกลางบรรยากาศที่ร่มรื่นเรียนรู้เรื่องพันธุ์ไม้นานาชนิด เรื่องแมลง ดิน หิน ระบบนิเวศน์
โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ มูลนิธิเด็กโดยมอบให้ทางฝ่ายโรงเรียนหมู่บ้านเด็กซึ่งเป็นโครงการที่ทำงานด้านเด็กโดยตรง และได้ให้ความช่วยเหลือเด็กๆ ที่ด้อยโอกาสหรือได้รับความเดือดร้อน หลังจากเกิดภัยพิบัติครั้งนี้ ทางโครงการได้พยายามประสานงานกับหน่วยงานต่างๆเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างเร่งด่วน มีการทำงานในพื้นที่จริงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน และเพื่อให้การทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างเต็มที่ หลังจากสำรวจสภาพปัญหาที่แท้จริงของผู้ประสบภัย และได้พบพื้นที่ๆยังมีความเหลื่อมล้ำในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อน ทางโครงการได้มีการจัดตั้งศูนย์อยู่ในพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์ “สึนามิ” ซึ่งได้เริ่มการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว ๕ ศูนย์ คือ ศูนย์ที่ ๑ บ้านทุ่งขมิ้น ศูนย์ที่ ๒ บ้านทับตะวัน ศูนย์ที่ ๓ บ้านปากเตรียม ศูนย์ที่ ๔ บ้านในไร่ ศูนย์ที่ ๕ เกาะเหลานอก
๑. บ้านทุ่งขมิ้น อยู่ที่หมู่ ๔ ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นชาวไทยไหม่ (มอแกลน) มี ๗๓ ครอบครัว จำนวน ๒๘๙ คน อาหารเช้าทำให้เราแข็งแรง อาสาสมัครสอนเด็กระบายสี อาสาสมัครสอนหนังสือให้กับเด็กๆ ภาพกิจกรรมต่างๆ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๔๘ ฝึกอาชีพดอกไม้จากแป้งปั้น เด็กๆ ชอบวาดภาพระบายสี
๒. บ้านทับตะวัน อยู่ที่หมู่ ๗ ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นชาวไทยใหม่ (มอแกลน) มี ๑๐๐ ครอบครัว จำนวน ๒๙๓ คน ภาพศูนย์การเรียนรู้ที่ทับตะวัน อาสาสมัครสอนคอมพิวเตอร์ให้กับเด็ก การเล่นกีฬาทำให้สุขภาพแข็งแรง ภาพกิจกรรมต่างๆ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๔๘ สอนฝึกอาชีพด้วยการเพาะเห็ดนางฟ้า เด็กๆ ฝึกทำอาหารจากเห็ด
๓. บ้านปากเตรียม อยู่ที่ หมู่ ๕ ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นชาวไทยมุสลิม มี ๒ ครอบครัว จำนวน ๙ คน กำลังฝึกแป้งปั้น ฝึกใช้ปากกาหัวแลงก์วาดภาพ อาสาสมัครกำลังช่วยกันคัดเลือกหนังสือ ภาพกิจกรรมต่างๆ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๔๘ โรงเพาะเห็ดที่บ้านปากเตรียม ป้ายศูนย์การเรียนรู้ฝีมืออาสาสมัครและเด็กๆ
๔. บ้านในไร่ อยู่ที่หมู่ ๗ ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เป็นชาวไทยมุสลิม ๓๐ ครอบครัว จำนวน ๑๔๓ คน ภาพศูนย์การเรียนรู้บ้านในไร่ เจ้าหน้าที่กำลังเล่านิทานให้เด็กฟัง กิจกรรมสันทนาการบนชายหาด ภาพกิจกรรมต่างๆ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๔๘ อาหารอร่อย ร่างกายแข็งแรง ฝึกทำเรือจากไม้
๕. เกาะเหลา อยู่ที่หมู่ ๖ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เป็นชาวไทยใหม่ (มอแกลน) มี ๗๐ ครอบครัว จำนวน ๓๐๐ คน ภาพบรรยากาศของเกาะเหลา เจ้าหน้าที่เยี่ยมชาวบ้าน กินข้าวอิ่มแล้ว มีขนมกินอีกด้วย ภาพกิจกรรมต่างๆ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๔๘ เด็กๆ ที่เกาะเหลา เมื่อกินอิ่มแล้วเด็กๆ ต้องช่วยกันล้างจาน