การทำกราวด์(Grounding) วัตถุประสงค์ ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วซึ่งเป็นอันตรายกับคน และก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์เครื่องจักร
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ 1.แท่งกราวด์(Ground rod) ขนาด 5/8” ยาว 3 เมตร จำนวนขึ้นอยู่กับค่าที่ต้องการกี่โอห์ม
2.ฆ้อน สำหรับตอกแท่งกราวด์
3.สายกราวด์ขนาด 95 ตารางมิลลิเมตร
4.ผงเชื่อม(Weld powders)และแผ่นเหล็ก ผงเชื่อม:แยกออกเป็นเบอร์ๆแต่ละเบอร์ใช้กับงานที่ต่างกันไป แผ่นเหล็ก:ใช้รองรับผงเชื่อมในตัวโมลด์
5.โมลด์(Moulds) คือเบ้าที่ใช้ในงานเชื่อมมีหลายแบบขึ้นอยู่กับรูปแบบการเชื่อมต่อ
ใช้ในการจุดเชื้อปะทุ 6.ปืนจุด(Flint Gun) ใช้ในการจุดเชื้อปะทุ
ขั้นตอนการทำกราวด์ 1.ตอกแท่งกราวด์เป็นDelta Loop แต่ละหลักควร ห่างกันเท่ากับความยาวของแท่งกราวด์หรือ >2เมตร (ถ้าพื้นที่มีจำกัดตอกเป็น Line(เส้นตรง)ก็ได้)
2.ติดตั้งตัวโมลด์และสายกราวด์กับแท่งกราวด์ เข้าด้วยกันและใช้ดินเหนียวหรือดินน้ำมันอุด ตามขอบหรือรอยต่อให้สนิทเพื่อป้องกันผงเชื่อม ไหลออก
3.ใส่แผ่นเหล็กลงไปในโมลด์เพื่อรองรับผงเชื่อม 4.ใส่ผงเชื่อมเข้าไปในตัวโมลด์ 5.ยิงด้วยปืนจุด ผงเชื่อมจะเกิดการลุกไหม้, หลอมละลายในตัวโมลด์และมีประกายไฟขึ้นมา
6.เปิดโมลด์ออกมาจะเห็นผลการเชื่อม และทำการวัดค่าด้วย Earth Resistivity Tester ค่าทีได้จะต้องไม่เกิน 5 โอห์มIndividual loop ส่วนOverall loop ต้องไม่เกิน 2 โอห์ม แต่ถ้าค่า Individual loopยังสูงกว่า 5 โอห์มต้องตอกแท่งกราวด์เพิ่ม
วิธีวัดค่าGround
7.พันด้วยเทปเพื่อป้องกันCorrosion
การต่อไปใช้งาน
กราวด์ของInstrument กับกราวด์ของไฟฟ้าควรตอกห่างกันเท่าไร? ตามข้อกำหนด(NEC)กราวด์ทุกจุดในระบบงานต้องเชื่อมต่อถึงกันหมดไม่ควรตอกกราวด์แยก เหตุผลคือ 1.เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและอุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเลคทรอนิคส์ 2.เพื่อไม่ให้เกิดความต่างศักย์ขึ้นในระบบกราวด์ ถึงแม้ว่างาน Instrument ทำการแยกกราวด์เพื่อประสิทธิภาพของงานวัดและการประมวลผลดีขึ้น แต่ก็เป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนด เพราะว่าการแยกกราวด์ออกจากกันจะก่อให้เกิดความต่างศักดิ์ไฟฟ้าขึ้นที่ระบบกราวด์ และนำไปสู่การเกิดกราวด์ลูบ สร้างความเสียหายต่อระบบงานในวงกว้างได้ สาเหตุที่ก่อให้เกิดความต่างศักดิ์ได้แก่ ฟ้าผ่า,กระแสไฟกระโชก,และการเกิดกราวด์Fault ในระบบงาน (ข้อมูลจาก หนังสือ การกราวนด์ในระบบไฟฟ้าและ สื่อสาร ของ วัฒนา สุนทรานุรักษ์ )
ค่าความต้านทานของระบบ ground Earthing กับ Grounding ความหมายเดียวกันคือ การต่อลงดิน Earth เป็นคำที่ใช้ในมาตรฐาน IEC , Ground เป็นคำที่ใช้ในมาตรฐาน ANSI
Q&A