สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย School of Accounting www.accounting.crru.ac.th
สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย School of Accounting Accounting Theory AC 4103 Asst.Prof. Dr. Panchat Akarak www.accounting.crru.ac.th
บทที่ 9 การบัญชีสำหรับหนี้สิน หัวข้อสำคัญ ความหมายหนี้สิน (Definition) ลักษณะหนี้สิน (Nature of Liabilities) เกณฑ์การรับรู้หนี้สิน (Recognition) ประเภทหนี้สิน (Liabilities classified) หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-Current Liabilities) ประมาณการหนี้สิน (Estimated Liabilities) หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น (Contingent Liabilities) CRRU
ความหมายของหนี้สิน ความหมาย หนี้สิน Hatfield ให้ความหมายโดยเน้นทฤษฎีความเป็นเจ้าของ หนี้สินมีความแตกต่างจากส่วนของเจ้าของ ดังนั้น สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของจะแสดงแยกจากกันในงบดุล โดยหนี้สินตลอดจนบัญชีปรับมูลค่าต่าง ๆ คือ รายการที่ต้องนำหักออกจากสินทรัพย์เพื่อแสดงส่วนของเจ้าของ Paton ให้ความหมายตามทฤษฎีความเป็นหน่วยงาน หนี้สิน คือสิทธิเรียกร้องเหนือสินทรัพย์ของกิจการ หนี้สินจะมีลักษณะเช่นเดียวกับส่วนของเจ้าของ เนื่องจากสินทรัพย์เท่ากับหนี้สินและส่วนของเจ้าของรวมกัน ซึ่งไม่ได้ระบุถึงการแบ่งแยกระหว่างเจ้าหนี้และเจ้าของ CRRU
ความหมายของหนี้สิน ความหมาย หนี้สิน Vatter ให้ความหมายโดยเน้นทฤษฎีเงินกองทุน คือความแตกต่างระหว่างหนี้สินและส่วนของเจ้าของเกิดจากข้อจำกัดทางการเงินข้อบังคับทางกฎหมาย และดุลยพินิจของผู้บริหาร หนี้สินตามทฤษฎีนี้จึงหมายถึงภาระผูกพันหรือข้อจำกัดในการใช้สินทรัพย์ ซึ่งเกิดจากข้อจำกัดตามกฎหมาย สัญญา ข้อจำกัดทางการเงิน ข้อตกลงอื่น และนโยบายของผู้บริหาร หนี้สินและส่วนของเจ้าของเป็นเสมือนข้อจำกัดของสินทรัพย์ CRRU
ความหมายของหนี้สิน ความหมาย หนี้สิน Kohler ให้ความหมายหนี้สินไว้ 2 ความหมาย คือ 1. หนี้สิน หมายถึง จำนวนที่บุคคลหนึ่งเป็นหนี้อีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีการชำระหนี้ หรือปลดหนี้สินโดยการชำระเงินสด สินค้าและบริการ หรือสินทรัพย์อื่น 2. หนี้สิน หมายถึง รายการทางด้านขวาของงบดุล ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Paton ตามทฤษฎีความเป็นหน่วยงาน CRRU
ความหมายของหนี้สิน ความหมาย หนี้สิน American Accounting Association :AAA หนี้สิน หมายถึง สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่อกิจการ ซึ่งเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต สิทธิเรียกต้องดังกล่าวจะถูกชดใช้ด้วยสินทรัพย์ของกิจการ AICPA หนี้สิน หมายถึง จำนวนที่เป็นยอดดุลเครดิต ซึ่งจะต้องยกยอดไปงวดต่อไปเมื่อมีการปิดบัญชี นอกจากว่าจำนวนดังกล่าวจะเป็นยอดดุลเครดิตที่จะนำไปหักสินทรัพย์ ดังนั้น บัญชีต่าง ๆ ที่มียอดดุลทางด้านเครดิตทุกรายการ ยกเว้นบัญชีปรับมูลค่าสินทรัพย์ จะต้องถือเป็นหนี้สิน โดยนัยนี้ บัญชีทุนและบัญชีสำรองต่าง ๆ จึงต้องถือเป็นหนี้สินด้วย CRRU
ศัพท์บัญชี สภาวิชาชีพบัญชีฯ ความหมายของหนี้สิน ความหมาย หนี้สิน ศัพท์บัญชี สภาวิชาชีพบัญชีฯ หนี้สินหมายถึง พันธะผูกพันของกิจการอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืมเงินหรือจากการอื่น ซึ่งกิจการต้องชำระในภายหน้า ด้วยสินทรัพย์หรือบริการ แม่บทการบัญชี หนี้สินหมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้น คาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ CRRU
ลักษณะของหนี้สิน สรุปลักษณะของหนี้สิน 1. ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ (Present Obligation) ภาระผูกพันเป็นหน้าที่ หรือความรับผิดชอบของกิจการจากประเพณีการค้า หรือจากความต้องการที่จะรักษาความสัมพันธ์เชิงธุรกิจกับลูกค้า 2. ภาระผูกพันในปัจจุบันต้องแยกออกจากภาระผูกพันในอนาคต (Future Commitment) อย่างชัดเจน 3. ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการต้องเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต (Past Event) 4. การชำระภาระผูกพันนั้นจะส่งผลให้กิจการสูญทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ CRRU
เกณฑ์การรับรู้หนี้สิน แม่บทการบัญชีกำหนดว่า หนี้สินควรรับรู้ในงบแสดงฐานะการเงินต่อเมื่อหนี้สินนั้นเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ 2 ข้อ ดังนี้ 1. เมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากร จะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน 2. เมื่อมูลค่าของภาระผูกพันที่ต้องชำระนั้นสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ CRRU
เกณฑ์การรับรู้หนี้สิน ในบางกรณีมีภาระผูกพันเกิดขึ้นแต่ไม่สามารถรับรู้ในงบแสดงฐานะการเงินได้ เช่น คดีความฟ้องร้องที่กำลังพิจารณาอยู่ในศาล รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีนี้ไม่เข้าเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อ ของการรับรู้เป็นหนี้สินใน งบแสดงฐานะการเงิน เนื่องจาก 1. มีความน่าจะเป็นไม่ถึงระดับความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ 2. กิจการไม่สามารถวัดมูลค่าภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอ กรณีนี้ จึงถือเป็น “หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น” Contingent Liabilities กิจการจะไม่รับรู้ในงบแสดงฐานะการเงิน แต่จะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินในหมายเหตุประกอบงบการเงิน CRRU
เกณฑ์การรับรู้หนี้สิน หนี้สินบางประเภท วัดมูลค่าได้โดยการประมาณเท่านั้น เรียกว่า “ประมาณการหนี้สิน” (Provisions) หนี้สินประเภทนี้ต้องรับรู้ใน งบแสดงฐานะการเงิน สรุป กิจการจะต้องรับรู้รายการหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินเมื่อเข้าเกณฑ์ทุกข้อ ดังนี้ 1. กิจการมีภาระผูกพันในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ในอดีต 2. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการเพื่อจ่ายชำระภาระผูกพันนั้น 3. กิจการสามารถประมาณมูลค่าภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ CRRU
ประเภทหนี้สิน การจำแนกประเภทหนี้สิน มี 3 เกณฑ์ ดังนี้ 1. การจำแนกตามกำหนดระยะเวลาชำระหนี้สิน -หนี้สินระยะสั้น (ชำระคืนภายใน 12 เดือน) -หนี้สินระยะยาว (ชำระคืนเกินกว่า 12 เดือน) 2. การจำแนกตามลักษณะความแน่นอนของหนี้สิน -หนี้สินที่มีลักษณะแน่นอน (มูลค่าต้องชำระแน่นอน) -หนี้สินที่ประมาณการ (มูลค่าต้องชำระใช้ประมาณการ) 3. การจำแนกตามความเป็นไปได้ของการเกิดหนี้สิน -หนี้สินที่เกิดขึ้นแล้ว (เกิดขึ้นแล้วค่อนข้างแน่) -หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น (ระดับการเกิดไม่ถึงค่อนข้างแน่) CRRU
หนี้สินหมุนเวียน ศัพท์บัญชี ความหมายหนี้สินหมุนเวียน AICPA หนี้สินหมุนเวียนหมายถึง ภาระผูกพันที่จะต้องชำระจากสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการในขณะนั้น หรือด้วยการก่อหนี้สินหมุนเวียนอื่นขึ้นมาทดแทน ศัพท์บัญชี หมายถึง หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืน ภายใน 1 ปี หรือภายในรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินเดือนค้างจ่าย ค่านายหน้าค้างจ่าย CRRU
หนี้สินหมุนเวียน ความหมายหนี้สินหมุนเวียน มาตรฐานการบัญชี เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ฉบับที่ 1 กำหนดว่าหนี้สินต้องจัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียนเมื่อเข้าเงื่อนไขดังนี้ 1. หนี้สินนั้นถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี นับจากวันสิ้นสุดรอบ ระยะเวลารายงาน 2. กิจการคาดว่าจะชำระหนี้สินนั้นคืนภายในรอบระยะเวลา ดำเนินงานปกติ CRRU
การกำหนดมูลค่าของหนี้สินหมุนเวียน มูลค่าหนี้สินหมุนเวียนอาจกำหนดได้โดยการหามูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินที่กิจการต้องจ่ายชำระในอนาคต แต่ในทางปฏิบัติไม่นิยมทำเช่นนั้น เนื่องหนี้สินหมุนเวียนเป็นหนี้สินที่เกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ ซึ่งไม่เกินรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้นผลต่างที่เกิดขึ้นจากการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของเงินที่ต้องจ่ายชำระกับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริงถือว่าไม่มีสาระสำคัญ ดังนั้น กิจการจึงรับรู้หนี้สินในงบการเงินด้วยมูลค่าของภาระผูกพันที่กิจการต้องจ่ายชำระโดยไม่ต้องคำนึงถึงมูลค่าปัจจุบัน CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้า (Trade Accounts Payable) ภาระผูกพันที่กิจการมีต่อบุคคลภายนอกหรือผู้ขาย เนื่องจากการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการโดยกิจการยังมิได้จ่ายชำระราคาหรือค่าตอบแทนแก่ผู้ขาย กิจการสามารถบันทึกได้ 2 ทางคือ 1. วิธีราคาขั้นต้น (Gross Method) รับรู้ราคาซื้อที่เกิดขึ้น และรับรู้ ส่วนลดรับที่เกิดขึ้นในวันชำระหนี้ 2. วิธีราคาสุทธิ (Net Method) รับรู้เจ้าหนี้ด้วยราคาหักส่วนลดแล้ว และ ถ้าจ่ายชำระไม่ได้รับส่วนลด ให้บันทึกส่วนลดรับที่สูญเสีย ถือว่าเป็น ค่าใช้จ่ายทางการเงิน CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินหมุนเวียน ตั๋วเงินจ่าย (Note Payable) ภาระผูกพันที่เกิจการทำสัญญาว่าจะชำระเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ ตั๋วเงินจ่ายนี้รวมถึงตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน และเช็คลงวันที่ล่วงหน้า ตั๋วเงินจ่ายอาจเกิดขึ้นเนื่องจากกิจการซื้อสินค้าหรือบริการ หรือซื้อสินทรัพย์ หรือเกิดจากการชำระหนี้สินของกิจการ ตั๋วเงินจ่ายอาจจำแนกได้ 2 ประเภท คือ 1. ตั๋วเงินจ่ายชนิดมีดอกเบี้ย (Interest Bearing Note) บันทึกด้วยมูลค่าหน้าตั๋ว เมื่อถึงกำหนด กิจการจ่ายชำระเงินต้นตามจำนวนที่ระบุไว้หน้าตั๋วพร้อมดอกเบี้ย 2. ตั๋วเงินจ่ายชนิดไม่มีดอกเบี้ย (Noninterest Bearing Note) โดยปกติกิจการจะ ถูกหักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า และผู้ถือตั๋วจะได้รับเงินเท่ากับผลต่างของจำนวนตาม มูลค่าหน้าตั๋วเงินกับดอกเบี้ยจ่ายที่ถูกหักไว้ CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินหมุนเวียน เงินปันผลค้างจ่าย (Dividends Payable) ภาระผูกพันของกิจการที่มีต่อผู้ถือหุ้นตั้งแต่วันที่กิจการประกาศจ่าย เงินปันผล กิจการจะลดบัญชีกำไรสะสม การบันทึกบัญชี เดบิต กำไรสะสม x เครดิต เงินปันผลค้างจ่าย x CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินหมุนเวียน ส่วนของเงินกู้ยระยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (Current Portion of Long-term Loan) หนี้สินระยะยาวส่วนที่ถึงกำหนดชำระเป็นงวด กำหนดชำระภายใน 1 ปี ให้นำมาแสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียน ในกรณีที่ไม่ถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน มี 3 กรณี คือ -มีเงินกองทุนสะสมเพื่อชำระหนี้ -ชำระหนี้ด้วยการก่อหนี้สินใหม่ -แปลงสภาพหนี้สินเป็นทุน CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินหมุนเวียน เงินมัดจำรับ (Deposits) เงินที่กิจการได้รับจากลูกค้าหรือพนักงานเพื่อเป็นการประกันว่าลูกค้าหรือพนักงานจะปฏิบัติตามสัญญา หรือประกันว่าจะจ่ายเงินส่วนที่เหลือเมื่อได้รับสินค้าหรือบริการตามสัญญาจ้างแล้วหรือประกันสินทรัพย์ที่อยู่ในมือของลูกค้า ตัวอย่าง เช่น -เงินมัดจำรับค่าภาชนะบรรจุสินค้า -เงินมัดจำรับค่าเช่าอาคาร -เงินมัดจำประกันความซื่อสัตย์ของพนักงาน CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินหมุนเวียน เงินเดือนและค่าแรงงานค้างจ่าย (Payroll Payable) ภาระผูกพันในการจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างแรงงานให้แก่พนักงานที่ทำงานให้กิจการ โดยปกติกิจการจะจ่ายเงินเดือนให้พนักงานในวันสิ้นเดือน แต่หากพนักงานคนใดคนหนึ่งไม่มารับเงินเดือนตามกำหนด จึงเกิดเป็นเงินเดือนค้างจ่าย CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินหมุนเวียน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หมายถึง กองทุนซึ่งประกอบด้วยเงินสะสมของลูกจ้างที่หักจากเงินเดือนหรือค่าจ้าง และเงินสมทบส่วนที่กิจการจ่ายตามโครงการสวัสดิการของกิจการ ทุกสิ้นเดือนกิจการจะหักเงินเดือนของพนักงานจำนวนหนึ่งเรียกว่า “เงินสะสม” และ กิจการจ่ายสมทบให้อีกจำนวนหนึ่งเรียกว่าเงินสมทบ ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของกิจการไปตั้งไว้ใน “บัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ซึ่งเป็นบัญชีหนี้สินหมุนเวียน CRRU
หนี้สินไม่หมุนเวียน ความหมายหนี้สินไม่หมุนเวียน (Noncurrent Liabilities) ศัพท์บัญชี สภาวิชาชีพบัญชี หนี้สินระยะยาว หมายถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาการชำระคืนเกินกว่า 1 ปี หรือเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ CRRU
การกำหนดมูลค่าหนี้สินไม่หมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียนมีระยะเวลาการชำระคืนนานเกินกว่า 1 ปี มูลค่าของเงินเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ดังนั้น หนี้สินไม่หมุนเวียนจึงกำหนดด้วยมูลค่าปัจจุบัน เช่น หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินไม่หมุนเวียน ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว (Long-term Notes) สามารถแยกได้ 2 ชนิด คือ 1. ตั๋วเงินจ่ายระยะยาวชนิดไม่มีดอกเบี้ย ตั๋วเงินจ่ายชนิดนี้มีดอกเบี้ยแฝงอยู่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้ออกจะหักดอกเบี้ยจ่ายไว้ล่วงหน้า และเงินที่ได้รับเท่ากับผลต่างของจำนวนเงินหน้าตั๋วและดอกเบี้ยจ่าย การบันทึกบัญชี Dr. เงินสด x ส่วนลดตั๋วเงิน (ดอกเบี้ยจ่ายล่วงหน้า) x Cr ตั๋วเงินจ่าย (จำนวนเงินหน้าตั๋ว) x CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินไม่หมุนเวียน 2. ตั๋วเงินจ่ายระยะยาวชนิดมีดอกเบี้ย ตั๋วเงินจ่ายชนิดนี้มีดอกเบี้ยตามจำนวนที่ระบุไว้บนหน้าตั๋ว และกิจการต้องจ่ายเมื่อเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด การบันทึกบัญชี วันก่อหนี้ Dr. เงินสด x Cr. ตั๋วเงินจ่าย (จำนวนเงินหน้าตั๋ว) x วันชำระหนี้ Dr. ตั๋วเงินจ่าย x ดอกเบี้ยจ่าย x Cr. เงินสด x CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินไม่หมุนเวียน หุ้นกู้ (Bond Payable) กิจการออกหุ้นกู้เพื่อจัดหาเงินสดมาใช้ในการดำเนินงาน และจะใช้คืนด้วยจำนวนที่แน่นอนเมื่อครบกำหนดชำระ จำนวนดังกล่าวเรียกว่า ราคาตามใบหุ้น หรือราคาที่ตราไว้ หรือราคาเมื่อครบกำหนด หุ้นกู้มีหลายชนิด เช่น หุ้นกู้จำนอง หุ้นกู้ค้ำประกัน หุ้นกู้เงินกู้ หุ้นกู้รายได้ หุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้ชนิดมีหลักประกัน หุ้นกู้ชนิดไม่มีหลักประกัน หุ้นกู้ไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หุ้นกู้ไถ่ถอนเมื่อครบกำหนด หุ้นกู้ไถ่ถอนเป็นงวด หุ้นกู้ร่วมรับ และหุ้นกู้ควบสิทธิ หุ้นกู้แปลงสภาพ เป็นต้น CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินไม่หมุนเวียน ราคาหุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายกำหนดขึ้นจากปัจจัย ดังนี้ 1. มูลค่าปัจจุบันของเงินที่ต้องจ่ายเมื่อหุ้นกู้ครบกำหนดไถ่ถอน 2. มูลค่าปัจจุบันของดอกเบี้ยที่จ่ายเป็นรายปีตลอดอายุของหุ้นกู้ ดังนั้น กิจการจะขายหุ้นกู้สูงกว่ามูลค่าเมื่ออัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในหุ้นกู้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของตลาด ส่วนต่างของราคาที่จำหน่ายกับราคาตามมูลค่าหุ้นกู้ เรียกว่า “ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้” Bond Premium ในทางกลับกัน กิจการจะขายหุ้นกู้ต่ำกว่ามูลค่าเมื่ออัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในหุ้นกู้ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของตลาด ส่วนต่างของราคาที่จำหน่ายกับราคาตามมูลค่าหุ้นกู้ เรียกว่า “ส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้” Bond Discount CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินไม่หมุนเวียน ขายสูงกว่ามูลค่า เดบิต เงินสด xx เครดิต หุ้นกู้ xx ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้ xx ขายต่ำกว่ามูลค่า ส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้ xx CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินไม่หมุนเวียน กิจการจะต้องตัดจำหน่าย “ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้” Bond Premium หรือ “ส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้” Bond Discount กับบัญชีดอกเบี้ยจ่าย เมื่อมีการปิดบัญชี วิธีที่ใช้ในการตัดจำหน่ายส่วนเกินหรือส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้ มีดังนี้ 1. วิธีเส้นตรง (Straight line method) 2. วิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective interest method หรือ Present Value Amortization) CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินไม่หมุนเวียน จ่ายดอกเบี้ย กรณีขายสูงกว่ามูลค่า เดบิต ดอกเบี้ยจ่าย xx ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้ xx เครดิต เงินสด xx จ่ายดอกเบี้ย กรณีขายต่ำกว่ามูลค่า ส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้ xx CRRU
หุ้นกู้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินไม่หมุนเวียน หุ้นกู้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว บางกรณีกิจการจำหน่ายหุ้นกู้ชนิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยในแต่ละงวดจะแตกต่างกัน ตามอัตราดอกเบี้ยในงวดนั้น หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ วันออกหุ้นกู้บันทึกเป็นเงินบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันเกิดรายการ (Spot rate or Current rate) ในวันสิ้นงวดปรับปรุงด้วยอัตราปิดของธนาคาร (Closing rate) กำไรขาดทุนจากแปลงค่าให้บันทึกเป็นรายได้/ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนงวดบัญชีนั้นทั้งจำนวน CRRU
หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bonds) วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินไม่หมุนเวียน หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bonds) การแปลงสภาพเป็นหุ้นชนิดอื่นในเวลาและราคาที่กำหนดไว้ เช่น -แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ -แปลงสภาพเป็นหุ้นบุริมสิทธิ วันที่มีสิทธิแปลงสภาพให้ใช้ราคาตลาดหรือราคาที่กำหนดให้แปลงสภาพ ผลต่าง รับรู้กำไร/ขาดทุนเข้างบกำไรขาดทุน CRRU
รายได้รอตัดบัญชี (Deferred Revenue or Deferred Credit) ศัพท์บัญชี วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินไม่หมุนเวียน รายได้รอตัดบัญชี (Deferred Revenue or Deferred Credit) ศัพท์บัญชี หมายถึง รายได้ที่กิจการได้รับล่วงหน้าเฉพาะส่วนที่ยังถือเป็นรายได้ในงวดบัญชีปัจจุบันไม่ได้ แต่จะถือเป็นรายได้ของงวดบัญชีต่อไป ๆ ไป รายได้รอตัดบัญชีเป็นรายได้ที่ตั้งพักเพื่อรอการหักกับค่าใช้จ่ายในอนาคต CRRU
หนี้สินเงินบำเหน็จ (Liabilities Under Pension Plan) วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินไม่หมุนเวียน หนี้สินเงินบำเหน็จ (Liabilities Under Pension Plan) กิจการบางแห่งมีนโยบายให้เงินบำเหน็จ เมื่อพนักงานทำงานให้กับกิจการในระยะเวลาหนึ่ง เช่น 25 ปี หรืออยู่จนครบอายุ 60 ปี ซึ่งโดยปกติกิจการจะกันเงินไว้เป็นกองทุนเพื่อจ่ายค่าบำเหน็จบำนาญให้แก่พนักงานและลูกจ้างที่ทำงานครบตามเงื่อนไขและเวลาที่กำหนด กิจการจะต้องแสดงเงินบำเหน็จเป็นหนี้สินระยะยาว เว้นแต่กรณีที่กิจการต้องจ่ายเงินบำเหน็จในงวดถัดไปก็ให้แสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียน CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินไม่หมุนเวียน ผลประโยชน์พนักงาน (Employee Benefit) หมายถึง สิ่งตอบแทนในทุกรูปแบบที่กิจการจ่ายไปเพื่อบริการที่ได้รับจากพนักงาน ซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท ประเภทที่ 1 ผลประโยชน์ระยะสั้น เช่น ค่าจ้าง เงินเดือน เงินที่จ่ายสำหรับการหยุดพักผ่อนประจำปี การลาป่วย ส่วนแบ่งกำไรและโบนัส และผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่จ่ายให้แก่พนักงานปัจจุบัน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ค่ายานพาหนะ สินค้าหรือบริการที่ให้โดยไม่คิดค่าตอบแทนหรือให้ในลักษณะอุดหนุน CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินไม่หมุนเวียน ผลประโยชน์พนักงาน (Employee Benefit) ประเภทที่ 2 ผลประโยชน์หลังออกจากงาน เช่น เงินบำนาญ เงินประกันชีวิต และค่ารักษาพยาบาล ประเภทที่ 3 ผลประโยชน์ระยะยาวอื่น ๆ ของพนักงาน เช่น วันหยุดที่ได้รับเนื่องจากการปฏิบัติงานให้กิจการมานาน โบนัสและผลประโยชน์อื่นที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือน ประเภทที่ 4 ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง เช่น เงินที่จ่ายให้เนื่องจากการเกษียณก่อนกำหนด หรือ เนื่องจากการให้พนักงานที่เกินความจำเป็นออกจากงาน CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินไม่หมุนเวียน ผลประโยชน์พนักงาน (Employee Benefit) กิจการจะรับรู้หนี้สินเมื่อพนักงานให้บริการเพื่อแลกเปลี่ยนกับประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับในอนาคตและรับรู้ค่าใช้จ่ายเมื่อกิจการได้รับประโยชน์จากบริการที่ได้รับจากพนักงาน รวมทั้งประโยชน์ระยะสั้นของพนักงานเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อพนักงานให้บริการแก่กิจการ สำหรับวันหยุดที่ไม่สามารถสะสมได้ เช่น วันลาป่วยในบางกรณี ให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะเมื่อพนักงานใช้สิทธิวันลานั้น กรณีการจ่ายส่วนแบ่งกำไรและโบนัส ให้กิจการรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อกิจการมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่าย และ กิจการบันทึกหนี้สินจากผลประโยชน์ระยะสั้นที่ยังไม่มีการจ่ายชำระ CRRU
ประมาณการหนี้สิน ความหมาย ศัพท์บัญชี สภาวิชาชีพบัญชี หนี้สินซึ่งไม่ทราบจำนวนแน่นอนและได้ประมาณขึ้น ประมาณการหนี้สินแตกต่างจากหนี้สินที่กำหนดมูลค่าได้แน่นอน ตัวอย่าง หนี้สินประมาณการ -ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิก่อนภาษี -หนี้สินจากการรับประกันคุณภาพสินค้า -หนี้สินจากการขายบัตรกำนัล/บัตรของขวัญ CRRU
ประมาณการหนี้สิน เกณฑ์การรับรู้ประมาณการหนี้สิน 1. กิจการมีภาระผูกพันในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ในอดีต -ภาระผูกพันตามกฎหมาย ต้องทำตามกฎหมาย -ภาระผูกพันจากการอนุมาน ภาระผูกพันตามการคาดคะเนตามหลักเหตุผล เช่น การรับประกันซ่อมฟรี 1 ปี 2. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพื่อจ่ายชำระภาระผูกพันดังกล่าว เช่น การประกันคุณภาพสินค้า 3. สามารถประมาณมูลค่าภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ ใช้จำนวนประมาณการที่ดีที่สุด (Best Estimate) หมายถึง จำนวนที่สมเหตุสมผลที่กิจการจะต้องจ่ายเพื่อภาระผูกพัน ซึ่งผู้บริหารต้องใช้ดุลยพินิจ ประสบการณ์ในอดีต CRRU
ประมาณการหนี้สิน ตัวอย่าง กิจการขายเครื่องปรับอากาศ โดยรับประกันสินค้า ซึ่งกิจการจะรับผิดชอบในการซ่อมแซมข้อบกพร่องที่เกิดจากการผลิต ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 1 ปี หากมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นไม่มากนัก แต่เกิดกับสินค้าที่จำหน่ายทั้งสิ้น ต้นทุนในการซ่อมแซมจะมีจำนวนประมาณ 500,000 บาท หากข้อบกพร่องเป็นข้อบกพร่องที่สำคัญและเกิดกับสินค้าที่ขายทั้งสิ้น ต้นทุนในการซ่อมจะมีจำนวน ประมาณ 1 ล้านบาท จากประสบการณ์ในอดีตของผู้บริหารประมาณว่า 80% ของสินค้าที่ขายไม่มีข้อบกพร่อง 15% ของสินค้าที่ขายมีข้อบกพร่องไม่มาก 5% ของสินค้าที่ขายมีข้อบกพร่องที่สำคัญ ดังนั้น ประมาณการหนี้สินจากการรับประกันคุณภาพสินค้าโดยรวม มี ดังนี้ (80% ของ 0)+ (15% ของ 500,000) +(5% ของ 1,000,000)= 125,000 บาท CRRU
ประเภทของประมาณการหนี้สิน ประเภทของประมาณการหนี้สิน มี 2 ประเภท 1. ประมาณการหนี้สินหมุนเวียน (Estimated Current Liabilities) หมายถึง ประมาณการหนี้สินที่กิจการต้องจ่ายชำระภาระผูกพันภายในหนึ่งปี เช่น -ประมาณการหนี้สินค่าสมนาคุณลูกค้า -ประมาณการหนี้สินค่ารับประกันคุณภาพสินค้า -ประมาณการหนี้สินค่าบัตรกำนัลหรือบัตรของขวัญ 2. ประมาณการหนี้สินไม่หมุนเวียน ( Estimated Noncurrent Liabilities) หมายถึง ประมาณการหนี้สินที่กิจการต้องชำระภาระผูกพันภายในระยะเวลาที่เกินกว่า 1 ปี หรือเกินรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติ เช่น -หนี้สินบำเหน็จ -หนี้สินจากสัญญาซื้อล่วงหน้า CRRU
วิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับประมาณการหนี้สิน 1. หนี้สินสมนาคุณ (Premium Offered to Customer) กิจการมีนโยบายส่งเสริมการขายโดยการให้ของสมนาคุณ ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น -ให้ของแถม -ให้ลูกค้านำชิ้นส่วนมาแลกของสมนาคุณ -แจกคูปองหรือแสตมป์ CRRU
วิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับประมาณการหนี้สิน 2. หนี้สินค่าบัตรกำนัล (Liabilities on the Advance Sale of Tickets Tokens and Certificates) -กิจการบางแห่งขายบัตรกำนัล หรือบัตรของขวัญให้ลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าเลือกสินค้าที่ต้องการในภายหลัง เช่น ห้างสรรพสินค้าจำหน่ายบัตรกำนัล ซึ่งอาจมีลูกค้าซื้อไปเป็นของขวัญแก่ผู้อื่น -กิจการอาจจะเก็บเงินล่วงหน้าจากลูกค้า เช่น การจำหน่ายคูปองรถไฟ รถประจำทาง โรงอาหารอาจเก็บล่วงหน้าจากพนักงาน กิจการจะทยอยรับรู้เป็นรายได้ของกิจการ CRRU
หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น ความหมาย หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น (Contingent Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากสถานการณ์หรือเงื่อนไขที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งทราบผลแน่นอนจากเหตุการณ์ในอนาคต มาตรฐานการบัญชี เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น นิยามว่า หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นหมายถึง รายการข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้ 1. ภาระผูกพันที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งจะรู้ว่าภาระผูกพันดังกล่าวมีอยู่จริงเมื่อได้รับการยืนยันจากการเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ในอนาคตอย่างน้อยหนึ่งเหตุการณ์ CRRU
หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น ความหมาย (ต่อ) 2. ภาระผูกพันในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ในอดีต แต่ไม่สามารถรับรู้เป็นหนี้สินได้ เนื่องจากไม่เป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ 2.1 มีความน่าจะเป็นไม่ถึงระดับความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพื่อจ่ายชำระภาระผูกพันนั้น 2.2 กิจการไม่สามารถวัดมูลค่าภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอ CRRU
วิธีปฏิบัติทางการบัญชีของหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น กิจการจะไม่รับรู้หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นไว้ในงบแสดงฐานะการเงิน เนื่องจาก 1. หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ไม่มีความแน่นอนที่จะเกิดขึ้น 2. ไม่สามารถกำหนดมูลค่าของภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ ตัวอย่างหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น เช่น -การถูกฟ้องร้องและคดีความที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา -การถูกประเมินภาษีย้อนหลัง -การค้ำประกันหนี้สิน เช่น การค้ำประกันหนี้สินให้บุคคลอื่นหรือกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน -หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากตั๋วเงินรับขายลด หรือการสลักหลังโอนตั๋วเงินรับ CRRU
จบบทที่ 9
คำตอบ ค. มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่ และประมาณจำนวนเงิน แบบฝึกหัด 1. ภาระผูกพันของกิจการจะบันทึกบัญชีได้เมื่อใด ก. ได้รับการอนุมัติรายการโดยฝ่ายบริหารแล้ว ข. ต้องรู้จำนวนเงินแน่นอน ค. มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่ และประมาณจำนวนเงิน ได้อย่างน่าเชื่อถือ ง. ต้องบันทึกบัญชีทันทีที่เกิดข้อผูกพันไม่ว่าจะมีเงื่อนไขใด ๆ คำตอบ ค. มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่ และประมาณจำนวนเงิน ได้อย่างน่าเชื่อถือ CRRU
คำตอบ ง. หนี้สินจากการรับประกันคุณภาพสินค้า แบบฝึกหัด 2. หนี้สินใดที่จัดได้ว่าเป็นประมาณการหนี้สิน ก. ค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย ข. ตั๋วเงินขายลดแต่ตั๋วเงินรับยังไม่ถึงกำหนด ค. คดีความฟ้องร้องที่ศาลยังไม่ได้พิพากษา ง. หนี้สินจากการรับประกันคุณภาพสินค้า คำตอบ ง. หนี้สินจากการรับประกันคุณภาพสินค้า CRRU
คำตอบ ค. ตั๋วเงินรับขายลด แบบฝึกหัด 3. ข้อใดจัดเป็นหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ก. ตั๋วเงินรับ ข. ตั๋วเงินจ่าย ค. ตั๋วเงินรับขายลด ง. หนี้บัตรกำนัล คำตอบ ค. ตั๋วเงินรับขายลด CRRU
คำตอบ ง. แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน แบบฝึกหัด 4. หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นแสดงในงบการเงินอย่างไร ก. แสดงเป็นรายการสุดท้ายของหนี้สินหมุนเวียน ข. แสดงเป็นยอดหักจากหนี้สิน ค. แสดงเป็นรายการสุดท้ายของหนี้สินไม่หมุนเวียน ง. แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน คำตอบ ง. แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน CRRU
แบบฝึกหัด 5. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย หมายถึงจำนวนเงินในข้อใด ก. กิจการยังไม่ได้จ่ายเงิน แต่สามารถจับคู่รายได้งวดปัจจุบัน ข. กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินและไม่สามารถจับคู่กับรายได้งวดปัจจุบัน ค. กิจการจ่ายเงินไปแล้วแต่ไม่สามารถจับคู่กับรายได้งวดปัจจุบัน ง. กิจการจ่ายเงินไปแล้วและสามารถจับคู่กับรายได้งวดปัจจุบัน คำตอบ ก. กิจการยังไม่ได้จ่ายเงิน แต่สามารถจับคู่รายได้งวดปัจจุบัน CRRU
แบบฝึกหัด คำตอบ ก. มีความน่าจะเป็นไม่ถึงระดับความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ 6. ข้อใดเป็นลักษณะของหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น ก. มีความน่าจะเป็นไม่ถึงระดับความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ ข. วัดมูลค่าภาระผูกพันได้ ค. รับรู้รายการในงบแสดงฐานะการเงินได้ ง. เป็นภาระผูกพันในปัจจุบัน คำตอบ ก. มีความน่าจะเป็นไม่ถึงระดับความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ CRRU
คำตอบ ค. เงินกู้ยืมระยะยาว แบบฝึกหัด 7. ข้อใดเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน ก. หนี้สินเงินบำเหน็จ ส่วนของพนักงานที่เกษียณอายุในปีนี้ ข. หุ้นกู้ที่จะถึงกำหนดชำระในปีหน้า ค. เงินกู้ยืมระยะยาว ง. ประมาณการหนี้สินจากการรับประกันคุณภาพ ซึ่งจะหมดสิทธิปีหน้า คำตอบ ค. เงินกู้ยืมระยะยาว CRRU
คำตอบ ก. รายได้รับล่วงหน้า แบบฝึกหัด 8. ข้อใดไม่ใช่ประมาณการหนี้สิน ก. รายได้รับล่วงหน้า ข. หนี้สินบัตรกำนัล ค. หนี้สินประกันคุณภาพสินค้า ง. หนี้สินค่าสมนาคุณ คำตอบ ก. รายได้รับล่วงหน้า CRRU
คำตอบ ค. เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร แบบฝึกหัด 9. รายการใดควรแสดงในงบแสดงฐานะการเงินก่อนรายการอื่น ก. เจ้าหนี้การค้า ข. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค. เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ง. เจ้าหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน คำตอบ ค. เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร CRRU
แบบฝึกหัด คำตอบ ข. ประมาณการหนี้สินจากการรับประกันคุณภาพสินค้า 10. ข้อใดเป็นภาระผูกพันจากการอนุมาน ก. ภาษีเงินได้ค้างจ่าย ข. ประมาณการหนี้สินจากการรับประกันคุณภาพสินค้า ค. คดีความฟ้องร้อง ง. รายได้รับล่วงหน้า คำตอบ ข. ประมาณการหนี้สินจากการรับประกันคุณภาพสินค้า CRRU
ทำแบบฝึกหัดท้ายบท 9 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4
ข้อ 2 บริษัท รัศมี จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตรถยนต์ และพบว่าระบบห้ามล้อของรถยนต์มีข้อบกพร่อง ทำให้ผู้ใช้รถยนต์ที่บริษัทผลิตขึ้นมาได้รับบาดเจ็บจำนวน 30 ราย ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัท รวม 15 ล้านบาท โดยกิจการอาจชดใช้ค่าเสียหายในปี 25x2 นี้ จำนวน 9 ล้านบาท และส่วนที่เหลือจะขอชดใช้ปี 25x3 บริษัทได้ต่อสู้คดี แต่ทนายความของบริษัทค่อนข้างแน่ใจว่าบริษัทอาจแพ้คดี แต่ค่าเสียหายไม่น่าจะเกิด 10 ล้านบาท ให้ทำ 1. บริษัทควรรับรู้หนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินเมื่อใด
ข้อ 2 บริษัทควรรับรู้หนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินเมื่อใด เกณฑ์การรับรู้หนี้สิน เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ 2 ข้อ ดังนี้ 1. เมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากร จะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน 2. เมื่อมูลค่าของภาระผูกพันที่ต้องชำระนั้นสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
ข้อ 2 2. คดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ดังกล่าว จัดเป็นหนี้สินของบริษัทหรือไม่ ถ้าเป็นหนี้สิน จัดเป็นหนี้สินประเภทใด พร้อมอธิบายเหตุผล เป็นหนี้สินของบริษัท ประเภท หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น จะรับรู้หนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้กิจสูญเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ และสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ
ข้อ 2 3. บริษัท ควรบันทึกรายการบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x2 หรือไม่ ถ้าบันทึกบัญชีจะบันทึกอย่างไร และควรเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินหรือไม่ ถ้าเปิดเผยข้อมูลจะเปิดเผยอย่างไร การบันทึกรายการในวันที่ 31 ธันวาคม 25x2 เดบิต ค่าเสียหายจากการถูกฟ้องร้อง 10 ล้านบาท เครดิต หนี้สินจากการถูกฟ้องร้อง 10 ล้านบาท เปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัทถูกฟ้องร้องจากลูกค้าผู้ใช้ระบบห้ามล้อที่ผลิตขึ้นมาได้รับบาดเจ็บจำนวน 30 ราย ร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทรวม 15 ล้านบาท โดยกิจการอาจชดใช้ค่าเสียหายในปี 25x2 นี้ จำนวน 9 ล้านบาท และส่วนที่เหลือจะขอชดใช้ปี 25x3 บริษัทได้ต่อสู้คดียังไม่สิ้นสุด แต่ทนายความของบริษัทค่อนข้างแน่ใจว่าบริษัทอาจแพ้คดี แต่ค่าเสียหายไม่น่าจะเกิด 10 ล้านบาท
ข้อ 3 บริษัทขายเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง ผลิตเครื่องดื่มบรรจุขวด บริษัทเริ่มดำเนินงานโดยการซื้อขวดเปล่า 2,000 ใบ ราคาใบละ 4 บาท ในเดือนนี้บริษัทขายเครื่องดื่มได้ 1,600 ขวด โดยเก็บเงินค่ามัดจำขวดมาได้ 4,800 บาท ในปีนี้ลูกค้านำขวดมาคืนและรับเงินมัดจำไป 2,100 บาท บริษัทมีนโยบายที่จะบันทึกบัญชีในตอนรับเงินมัดจำ และตัดจำหน่าย 1 ใน 4 ของเงินมัดจำค่าภาชนะที่เก็บได้เป็นค่าภาชนะที่จะไม่ได้รับคืน บริษัทควรบันทึกรายการบัญชีอย่างไร พร้อมอธิบายเหตุผล
ข้อ 3 ซื้อขวดเปล่า 2,000 ใบ ราคาใบละ 4 บาท =8,000 บาท เดบิต ภาชนะ 8,000 เครดิต เงินสด 8,000 รับเงินมัดจำเดือนนี้ 1,600 ขวด ค่ามัดจำ 4,800 บาท เดบิต เงินสด 4,800 เครดิต เงินมัดจำรับ 4,800 รับเงินมัดจำค่าภาชนะจำนวน 1,600x3=4,800
ข้อ 3 ลูกค้านำขวดมาคืนและรับเงินมัดจำไป 2,100 บาท เดบิต เงินมัดจำรับ(700*3) 2,100 เครดิต เงินสด 2,100 จ่ายคืนเงินมัดจำให้แก่ลูกค้า เดบิต ค่าภาชนะที่ไม่ได้รับคืน 900 เงินมัดจำรับ(900x3) 2,700 เครดิต ภาชนะ (900x4) 3,600 โอนเงินมัดจำที่ไม่ได้รับคืนกับบัญชีค่าภาชนะจำนวน 900 ขวด
ข้อ 5 บริษัทขายยาสีฟันสำหรับเด็ก มีนโยบายส่งเสริมการจำหน่ายโดยให้นำหลอดยาสีฟัน 5 หลอด มาแลกตุ๊กตาได้ 1 ตัว บริษัทประมาณว่าจะมีผู้มาแลก 20% ข้อมูลการขายมีดังนี้ ปริมาณ จำนวนเงิน ขาย 200,000 หลอด 2,000,000 บาท ตุ๊กตา 17,500 ตัว 105,000 บาท ลูกค้ามาแลกแล้ว 10,000 ตัว ณ วันสิ้นงวดบัญชี กิจการต้องประมาณจำนวนค่าใช้จ่ายและหนี้สินเป็นจำนวนเท่าใด
ข้อ 5 กิจการต้องประมาณจำนวนค่าใช้จ่ายและหนี้สินเป็นจำนวนเท่าใด ประมาณค่าใช้จ่ายเป็นหนี้สินประมาณการ จำนวนที่คาดว่าจะนำมาแลก 200,000x20%=40,000 หลอด จำนวนตุ๊กตา 40,000/5 = 8,000 ตัว ค่าใช้จ่ายในการสมนาคุณ 8,000x 6 = 48,000 บาท ลูกค้านำมาแลกแล้ว 10,000x6 = 60,000 บาท เพราะฉะนั้น -ค่าใช้จ่ายในการรับประกันคุณภาพ 60,000 บาท -หนี้สินจากการรับประกันคุณภาพ 48,000 บาท ไม่มียอดคงเหลือ
ข้อ 5 บริษัทขายยาสีฟันสำหรับเด็ก มีนโยบายส่งเสริมการจำหน่ายโดยให้นำหลอดยาสีฟัน 5 หลอด มาแลกตุ๊กตาได้ 1 ตัว บริษัทประมาณว่าจะมีผู้มาแลก 45% ข้อมูลการขายมีดังนี้ ปริมาณ จำนวนเงิน ขาย 200,000 หลอด 2,000,000 บาท ตุ๊กตา 17,500 ตัว 105,000 บาท ลูกค้ามาแลกแล้ว 10,000 ตัว ณ วันสิ้นงวดบัญชี กิจการต้องประมาณจำนวนค่าใช้จ่ายและหนี้สินเป็นจำนวนเท่าใด
ข้อ 5 กิจการต้องประมาณจำนวนค่าใช้จ่ายและหนี้สินเป็นจำนวนเท่าใด ประมาณค่าใช้จ่ายเป็นหนี้สินประมาณการ จำนวนที่คาดว่าจะนำมาแลก 200,000x45%=90,000 หลอด จำนวนตุ๊กตา 90,000/5 = 18,000 ตัว ค่าใช้จ่ายในการสมนาคุณ 18,000x 6 =108,000 บาท ลูกค้านำมาแลกแล้ว 10,000x6 = 60,000 บาท หนี้สินจากการสมนาคุณลูกค้า = 48,000 บาท เพราะฉะนั้น -ค่าใช้จ่ายในการรับประกันคุณภาพ 108,000 บาท -หนี้สินจากการรับประกันคุณภาพประมาณ 108,000 บาท คงเหลือ 48,000 บาท
ข้อ 5 จำนวนที่คาดว่าจะนำมาแลก 200,000x45%=90,000 หลอด จำนวนตุ๊กตา 90,000/5 = 18,000 ตัว ค่าใช้จ่ายในการสมนาคุณ 18,000x 6 =108,000 บาท การบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่ายในการสมนาคุณ 108,000 เครดิต หนี้สินจากการสมนาคุณ 108,000 ลูกค้านำมาแลกแล้ว 10,000x6 = 60,000 บาท เดบิต หนี้สินจากการสมนาคุณ 60,000 เครดิต สินค้าสมนาคุณ 60,000 ดังนั้น หนี้สินจากการสมนาคุณลูกค้า = 48,000 บาท