เรื่อง องค์ประกอบศิลป์ โดย นายสมพงษ์ ถาวรโชติวงศ์ โรงเรียนเบญจมราชาลัย สื่อการเรียนรู้ เรื่อง องค์ประกอบศิลป์ ศ 41101 ทัศนศิลป์ โดย นายสมพงษ์ ถาวรโชติวงศ์ โรงเรียนเบญจมราชาลัย
ผลการเรียนรู้ มีความรู้ความเข้าใจในหลักองค์ประกอบศิลป์ 2. นำหลักองค์ประกอบมาสร้างสรรค์งานศิลปะได้อย่างสวยงาม
ประกอบด้วย 1.สมดุลย์ ( BALANCE ) 2.กลมกลืน ( HARMONY ) 3.ขัดแย้ง ( CONTRAST )
4.จังหวะ ( RHYTHM ) 5.จุดเด่น ( DOMINANCE ) 6.สัดส่วน ( PORPROTION )
สมดุลย์ มี 2 ลักษณะ 1.สมดุลย์ซ้ายขวาเท่ากันหรือเหมือนกัน เหมาะกับงานสถาปัตยกรรม 2.สมดุลย์ตามความรู้สึก ซ้ายขวาไม่เหมือนกัน ดูมีชีวิต ไม่น่าเบื่อ
สมดุลย์ซ้ายขวาเท่ากัน
สมดุลย์ตามความรู้สึก
กลมกลืน คือความประสาน พอเหมาะเข้ากันได้ เช่น ความกลมกลืนของเส้น, สี, รูปร่าง, รูปทรง ฯลฯ
ขัดแย้ง ตัดกัน ไม่เข้ากัน ในงานศิลปะใช้แก้ความซ้ำซาก และสร้างงานให้เกิดจุดสนใจ สะดุดตา
จังหวะ คือการจัดวาง การสลับกันของการเน้น หรือการซ้ำที่เป็นระเบียบ ทำให้เกิดเอกภาพ
ลักษณะของจังหวะ 1.การจัดแบบซ้ำกัน การใช้เส้น สี รูปร่าง รูปทรง ซ้ำๆกัน
2.การจัดแบบขยายเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง เป็นการเพิ่มขนาด
จุดเด่นหรือจุดสนใจ เกิดจากการเน้นส่วนสำคัญ ให้เห็นเด่นสะดุดตา ในงานทัศนศิลป์ถือว่าสำคัญมาก
การเน้นจุดเด่นให้เกิดความสนใจ 1.เน้นโดยการใช้สีให้เด่น 2.เน้นโดยการใช้เส้น รูปร่างและขนาดตัดกัน
3. เน้นโดยการตกแต่ง ให้มีรายละเอียดสวยงาม 4. เน้นโดยการจัดช่องว่าง โดยจัดพื้นที่ว่างรอบจุดเด่น
เน้นโดยการใช้สีให้เด่น
เน้นโดยการจัดช่องว่าง
สัดส่วน ความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ 1.สัดส่วนที่มีความสมบูรณ์ด้วยตัวมันเอง เช่น คน สัตว์
2.สัดส่วนที่สัมพันธ์กับสิ่งรอบข้าง เช่น การจัดตกแต่งห้อง