กลไกชาติสร้างเด็กไทยก้าวทันโลกยุคใหม่ ได้จริง..แต่... วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล อภิปรายในการสัมมนาวิชาการ “กลไกชาติสร้างเด็กไทยก้าวทันโลกยุคใหม่ได้จริงหรือ?” จัดโดย คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ดำเนินงานโดย คณะอนุกรรมาธิการด้านเด็กและเยาวชน ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๖
7 เปลี่ยน ต้องไม่ทำแบบเดิม ลดขนาดกระทรวงศึกษาธิการลง ๑๐ เท่า ยุบ สมศ. เปลี่ยนไปทำงานวิชาการด้านการประเมิน เอื้ออำนาจแก่ครู / จุดใกล้ชิดเด็กที่สุด เปลี่ยนเป้าหมายการศึกษา จากสร้างผู้ตาม เป็นสร้างผู้นำ เลิกเน้นสอน เปลี่ยนไปเน้นเรียน เปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ / การผลิต ครู เปลี่ยนวิธีการพัฒนาครูประจำการ
ลดขนาดกระทรวงศึกษาธิการ เหลือ 1/10 ปลดปล่อย รร./ครู ออกจากอำนาจรวมศูนย์ เพื่อลดการใช้อำนาจควบคุมสั่งการ ให้ครูได้ใช้เวลากับศิษย์ เอาใจใส่เป็นรายคน ให้เรียนแล้วเกิด Mastery Learning กศธ. ทำงานข้อมูล ระบบ วิชาการ เชื่อมโยงกับการพัฒนาประเทศ เชื่อมโยงกับโลก - เปลี่ยนทักษะของบุคลากรของกระทรวงฯ
การประเมินในปัจจุบันนำสู่ศีลธรรมเสื่อม เปลี่ยนระบบประเมิน เน้นประเมินโดยครู โดยผู้เรียนเอง/พ่อแม่ เน้นประเมินเพื่อพัฒนา - Formative Evaluation เน้นประเมินทักษะ, competency ที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ไมใช่เน้นประเมินความรู้่ ไม่เกิด “สอนเพื่อสอบ” (Teach to Test) ส่วนกลางทำงานพัฒนาวิธีการประเมิน ตรวจสอบความแม่นยำในการประเมินของครู/โรงเรียน การประเมินในปัจจุบันนำสู่ศีลธรรมเสื่อม
ให้คุณค่าแก่ครู การใช้ครูเป็น “ครูสอน” เป็นการลดทอนคุณค่าของครู ยิ่งลดทอน หากเป็น “ครูรับคำสั่ง” เพราะทำให้ไม่ได้ฝึกความริเริ่มสร้างสรรค์ ยิ่งลดทอน เพราะมัวแต่สนองนาย ไม่สนองศิษย์ ครูที่มีคุณค่าต่อศิษย์ : ครูฝึก และสมาชิกชมรมเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (PLC) เพื่อ : ศิษย์(ทุกคน)เรียนรู้จริง เกิดทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ เรียนรู้บูรณาการทั้ง ๕ ด้าน
เปลี่ยนเป้าหมายการศึกษา ให้ทันโลกยุคใหม่ จากสร้างผู้ตามแห่งศตวรรษที่ ๒๐ มาเป็นสร้างผู้นำแห่งศตวรรษที่ ๒๑ จากคนที่คิดตามๆ กัน มาเป็นสร้างคนที่คิดเป็น เป็นตัวของตัวเอง กล้าสร้างนวัตกรรม จาก “ผู้รู้” คำตอบที่ถูกต้องคำตอบเดียว มาเป็นผู้คิดคำตอบได้หลายคำตอบ จากผลิตนักรับถ่ายทอด ค. มาเป็น Learning by Doing จากเอาใจใส่เฉพาะเด็กเก่ง มาเป็นเอาใจใส่ทั้งชั้น
เปลี่ยนวิธีการจัดการศึกษา จากเน้นสอนความรู้ สู่เน้นเรียน/ฝึก ทักษะ จากเน้นสอนวิชา สู่เน้นเรียนบูรณาการครบ ๕ ด้าน จาก สอนมาก เรียนน้อย สู่ Teach less, Learn more จากเน้นจากการสอนเพื่อสอบ เป็น เรียนเพื่อพัฒนาทักษะ ๕ ด้าน จากเรียนวิชาที่โรงเรียน เป็น กลับทางห้องเรียน .ใช้เวลาในห้องเรียนฝึกใช้ ค. ให้ศิษย์ทุกคน เรียนแล้วรู้จริง (Mastery)
เปลี่ยนวิธีการผลิตครู จากวิธีปัจจุบัน สู่ เรียนแบบกลับทางห้องเรียน จากเรียนเป็นรายวิชา เป็น เรียนบูรณาการ เรียนให้ได้ ทักษะด้านการเรียนรู้ : Learn, Delearn, Relearn เรียนแบบรู้จริง (Mastery Learning) เข้าใจ และรู้วิธีปรับปรุงวิธีเรียนของตนเอง (Meta-cognition Skills)
เปลี่ยนวิธีพัฒนาครูประจำการ จากเน้น Training Mode สู่ เน้น Learning Mode ครูจับกลุ่ม เป็นทีม/ชุมชน เรียนรู้วิธีทำหน้าที่ “ครูฝึก” – Professional Learning Community (PLC) มีโค้ชให้ครู Reward ครูที่ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของศิษย์ดี ไม่ใช่ผลงานในกระดาษ
สรุป การสร้างเด็กไทยให้ก้าวทันโลก ทำไม่ได้หากยังมีโครงสร้างการบริหารการศึกษาแบบเดิม ใช้กระบวนทัศน์เดิม ... กศ. แห่ง ศตวรรษที่ ๒๐ / ๑๙ ต้องเปลี่ยนโดยสิ้นเชิง สู่กระบวนทัศน์ และวิธีการแห่งศตวรรษที่ ๒๑