กับทิศทางการพัฒนาสังคมไทย บทบาทสถาบันศาสนา กับทิศทางการพัฒนาสังคมไทย
สถาบันศาสนา เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ก่อให้เกิดแบบแผนหรือแนวทางในการปฏิบัติตนของสมาชิก ซึ่งประกอบด้วยความเชื่อ ความรู้สึกทางอารมณ์ พฤติกรรมที่แสดงออกอย่างถูกต้อง งดงาม และเหมาะสม
สถาบันศาสนาที่มีรูปแบบสำคัญ ได้แก่ พิธีกรรม หลักความเชื่อ หลักธรรมคำสอน และสัญลักษณ์ทางศาสนา
บทบาทของสมาชิกสถาบันศาสนา สมาชิกของสถาบันศาสนาตามสถานภาพต่างๆ ตัวอย่าง พระสงฆ์มีบทบาทในการสอนคนให้เป็นคนดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ ฆราวาสมีบทบาทในการปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรม
หลักคำสอนของแต่ละศาสนามีขึ้นเพื่อมุ่งให้คนมีคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบแห่งสังคมอันดีงาม และการมีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม และประเทศไทยได้มีการบัญญัติไว้เป็นตัวบทกฎหมายที่สำคัญของ ประเทศดังนี้
มาตรา 9 พระมหากษัตริย์ทรงเป็น พุทธมามกะ และทรงเป็น อัครศาสนูปถัมภก มาตรา 37 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา มาตรา 79 รัฐต้องส่งเสริมความสมานฉันท์ระหว่าง ศาสนิกชนของ ทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนา มาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
2. นโยบายรัฐบาลปัจจุบันส่งเสริมความสมานฉันท์ ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนาเพื่อนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้หลักธรรมในการดำรงชีวิตมากขึ้น
ซึ่งเมื่อพิจารณาจากเนื้อหาสาระสำคัญ ทำให้มองเห็นมิติและความสำคัญของสถาบันศาสนาในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคมหนึ่งของประเทศไทยที่มีบทบาทในการพัฒนาประเทศควบคู่กันไปกับมิติทางด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
องค์ประกอบของสถาบันศาสนา
กลุ่มทางสังคมหรือองค์การ เช่น วัด สำนักสงฆ์ สถาบันทางการศึกษาทางสังคม เช่น วิทยาลัยสงฆ์ เพื่อช่วยทำหน้าที่ของสถาบันทางศาสนาได้อย่างครบถ้วน
2. สถานภาพและบทบาท ในสถาบันศาสนาจะมี สถานภาพที่สำคัญ ได้แก่ ศาสดา สาวกและ ศาสนิกชน
3. หน้าที่ของสถาบันศาสนา มีหน้าที่ต่อสังคมทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม 3. หน้าที่ของสถาบันศาสนา มีหน้าที่ต่อสังคมทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
หน้าที่ของสถาบันศาสนา 1.ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกทำให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด 2.จัดประเพณีและวัฒนธรรมทางศาสนา เช่น การบรรพชาอุปสมบท การทำบุญ เป็นต้น 3.อบรมศีลธรรมให้แก่สมาชิกของสังคม และเป็นพื้นฐานของหลักจริยธรรม 4.เป็นแบบอย่างของความประพฤติที่ดีให้แก่สมาชิก ฝึกใช้สมาชิกมีระเบียบวินัย มีหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง 5.เป็นพื้นฐานสำคัญของอำนาจรัฐ
แบบฝึกหัด สถาบันศาสนา หมายถึงอะไร สถาบันศาสนามีรูปแบบที่สำคัญ ได้แก่อะไรบ้าง หลักคำสอนของแต่ละศาสนามีเพื่อจุดมุ่งหมายอะไร ที่เหมือนกัน องค์ประกอบของสถาบันศาสนามีอะไรบ้าง สมาชิกของสถาบันศาสนามีบทบาทแตกต่างกันตามอะไร จงยกตัวอย่าง
เฉลยแบบฝึกหัด 1. สถาบันศาสนาหมายถึง ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ที่ก่อให้เกิดแบบแผนหรือแนวทางในการปฏิบัติตนของสมาชิก 2. สถาบันศาสนามีรูปแบบ ที่สำคัญ ได้แก่ พิธีกรรม หลักความเชื่อ หลักธรรมคำสอน และสัญลักษณ์ทางศาสนา 3. หลักคำสอนของแต่ละศาสนามีเพื่อจุดมุ่งหมาย มุ่งให้คนมีคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบแห่งสังคมอันดีงาม และการมีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม 4. องค์ประกอบของสถาบันศาสนามีอะไรบ้าง 1)กลุ่มทางสังคมหรือองค์การ 2) สถานภาพและบทบาท 3) หน้าที่ของสถาบันศาสนา 5. สมาชิกของสถาบันศาสนามีบทบาทแตกต่างกันตาม สถานภาพ ตัวอย่าง พระสงฆ์มีบทบาทในการสอนคนให้เป็นคนดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ ฆราวาสมีบทบาทในการปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรม
จัดทำโดย นายศราวุธ ภูมิพันธ์ เลขที่ 3 นายศราวุธ ภูมิพันธ์ เลขที่ 3 นายพีรวัส ตันวัฒนธนากุล เลขที่ 11 นายศุภชัย เด่นไตรรัตน์ เลขที่ 12 นายศุภวิชญ์ แสงทองย้อย เลขที่ 15 นางสาวแทนหทัย แดงเอม เลขที่ 29 นางสาวธัญวรัตน์ สุริยาธานินทร์ เลขที่ 31 นางสาวธนาภรณ์ ดาววิจิตร เลขที่ 40 นางสาวหทัยสุทธิ เขตอุดมชัย เลขที่ 41