การติดตามและประเมินผล ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ฉบับปรับปรุง การติดตามและประเมินผล แผนการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2553 ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การรายงานความก้าวหน้า ผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ปฏิทิน การรายงานความก้าวหน้า ผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ระดับหน่วยงาน รายงานความก้าวหน้า รายงานต่อ วันรายงาน รอบ 6 เดือน อธิการบดี หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย 1-2 เมษายน 2553 รอบ 9 เดือน 8-9 กรกฎาคม 2553 รอบ 12 เดือน 28-29 กันยายน 2553 แจ้งผลการประเมินรอบ 12 เดือน - 4 ตุลาคม 2553 อุทธรณ์ผลรอบ 12 เดือน ภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2553 1
สรุปผลการปฏิบัติราชการ ปฏิทิน การจัดทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2553 เสนอต่อคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล (Audit Committee) สรุปผลการปฏิบัติราชการ วันจัดส่งรายงาน รอบ 6 เดือน 10 พฤษภาคม 2553 รอบ 12 เดือน 10 พฤศจิกายน 2553 2
หลักเกณฑ์การติดตามและประเมินผล แผนปฏิบัติราชการประจำปี ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทุกหน่วยงานมีการลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีกับผู้บริหารที่กำกับ ดูแล ภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ ทุกหน่วยงานรายงานผลการปฏิบัติราชการทุกไตรมาสผ่านระบบ e-Performance หรือระบบอื่น พร้อมแนบหลักฐานประกอบอ้างอิง 3. ฝ่ายวางแผนแผนและพัฒนาระบบงาน จัดประชุมให้ทุกหน่วยงานรายงานความก้าวหน้าผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี รอบ 6 , 9 และ 12 เดือน ด้วยวาจาต่ออธิการบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ให้แนบหลักฐานประกอบที่ผ่านความเห็นชอบของผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการหน่วยงาน 3
ต่อ สรุปรายงานการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของทุกหน่วยงาน เสนอต่อที่ประชุมผู้บริหารมหาวิทยาลัย รอบ 6 และ 12 เดือน เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลงาน (Audit Committee) และสภามหาวิทยาลัย กรณีหน่วยงานมีความเห็นไม่สอดคล้องกับผลการประเมินการปฏิบัติราชการประจำปีรอบ 12 เดือน สามารถเสนอข้อมูลและหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้มีการนำผลการประเมินไปประกอบการจัดสรรกรอบวงเงินการขึ้นเงินเดือนให้แก่หน่วยงานต่างๆ ตามผลการปฏิบัติราชการประจำปี ข้อ 1-6 ได้จัดทำเป็นประกาศ ฯ เรื่อง หลักเกณฑ์การติดตามและประเมินผลแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 4
ต่อ ทั้งนี้ กองแผนงานจัดทำคู่มือการติดตามและประเมินผลตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัย ที่ประกอบด้วย คำนิยามตัวชี้วัด เกณฑ์ สูตรการคำนวณ ที่ใช้ทั้งมหาวิทยาลัย ออกแบบรูปแบบรายงานผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด วิเคราะห์รายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน และสรุปผลคะแนนผ่านระบบ e - Performance โดยให้มีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อติดตามผลปฏิบัติงาน และจัดให้มีการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 5
สรุปปัญหาการรายงานผลการปฏิบัติราชการฯ และแนวทางปฏิบัติ ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ 1. การรายงานผลการปฏิบัติงานบางหน่วยงานไม่ได้อธิบายผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นตามเป้าหมายตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ แต่เป็นการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลแทน อาทิ หลักฐานอยู่ที่ฝ่าย..... 1. ผู้รับผิดชอบการสรุปผลการปฏิบัติงานของสาขาวิชา/สำนัก/สถาบัน/กอง/ศูนย์ และงาน จะต้องรวบรวมหลักฐานไว้ที่ตนเอง 6
ต่อ ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ 2. เอกสารหลักฐานประกอบการรายงานผลการปฏิบัติงานไม่ครบถ้วน เนื่องจากไม่ได้จัดระบบการเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ 2.1 จะให้คะแนนตามหลักฐานที่มีอยู่ 2.2 ให้หน่วยงานรับผิดชอบในการจัดเก็บผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดอย่างต่อเนื่อง และรายงานต่อที่ประชุมของหน่วยงานเป็นประจำ 7
ขอบคุณค่ะ 8