โครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล ในการจัดการเมืองสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Partnership for Democratic Local Governance in Southeast-Asia) DELGOSEA สนับสนุนโดย สหภาพยุโรป (European Union) ดำเนินการโดย Konrad Adenauer Stiftung (KAS) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)
รายละเอียดโครงการ ผู้สนับสนุน : สหภาพยุโรป (European Union) ภายใต้โปรแกรม Non-State Actors (NSA) and Local Authorities in Development Actions in Partner Countries ระยะเวลาโครงการ : 30 เดือน เริ่มมีนาคม 2553 – สิงหาคม 2555 พื้นที่ดำเนินโครงการ : ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม กลุ่มเป้าหมาย : สมาคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ผู้บริหารท้องถิ่น, ข้าราชการส่วนท้องถิ่น, ผู้แทนภาคประชาสังคม, นักวิชาการ, สื่อมวลชน, และผู้แทนจากหน่วยงานระดับประเทศ
โครงสร้างของโครงการ - หน่วยงานร่วมดำเนินการ คณะกรรมการกำกับโครงการ (Steering Committee) (ผู้อำนวยการโครงการของ KAS และผู้อำนวยการโครงการของแต่ละประเทศ) เวียดนาม (UCLG-ASPAC/ ACVN) ฟิลิปปินส์ (LOGODEF) กัมพูชา (UCLG-ASPAC/ NLC/S) สำนักงานโครงการ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ไทย (TEI+MLT) อินโดนีเซีย (UCLG-ASPAC)
วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ อปท. และสมาคมสันนิบาตเทศบาลในการจัดการเมืองและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ ตัวอย่างการพัฒนาเมืองที่ดี ของ อปท. ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนระหว่างหน่วยงานต่างๆ ได้แก่อปท. องค์กรพัฒนาเอกชน สมาคมสันนิบาตเทศบาล และสถาบันการศึกษา โดยมีเป้าหมายหลัก คือ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้น โดยส่งเสริมการพัฒนาเมืองโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการบ้านเมือง
ประเด็นของตัวอย่างที่ดี (Best Practices) 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนและตัดสินใจ 2) การบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล 3) การจัดบริการสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม 4) การจัดการการเงินการคลัง และการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ มี “ตัวอย่างที่ดี” ในการจัดการและพัฒนาเมืองใน 4 ประเด็น ใน 5 ประเทศ บุคลากรของสมาคมอปท. ได้รับการพัฒนาศักยภาพ เพื่อเป็นหน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการเมืองตามหลักธรรมาภิบาลแก่ อปท. มีการเผยแพร่และขยายผล “ตัวอย่างที่ดี” ในระดับภูมิภาคเอเซียตะวันนอเฉียงใต้ เกิดเครือข่าย อปท. และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลใน 4 ประเด็นแก่ อปท. มากกว่าที่เป็นอยู่
แผนการดำเนินงาน ปีที่ 1 (เดือน 1-12) การคัดเลือกตัวอย่างที่ดีและ อปท.นำร่องที่จะมาถอดแบบ - การคัดเลือกตัวอย่างที่ดี (27 ตัวอย่าง) และอปท.นำร่อง (20 เทศบาล) - การคัดเลือกให้เหลือ 16 ตัวอย่างที่ดี และจัดทำเอกสารโดยละเอียด - จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมวิทยากรพี่เลี้ยงที่มาจาก สมาคม อปท.ของแต่ละประเทศ - ฝึกอบรมวิทยากรเพื่อเป็นพี่เลี้ยงแก่เทศบาลนำร่อง ปีที่ 2 (เดือน 13-24) การนำเอาตัวอย่างทีดีไปปฏิบัติและติดตามประเมินผล - เทศบาลนำร่องจัดทำกรอบแนวคิดโครงการถอดแบบตัวอย่างที่ดีไปสู่การปฏิบัติ - ฝึกอบรมสร้างศักยภาพแก่เทศบาลนำร่องเพื่อการนำตัวอย่างที่ดีสู่การปฏิบัติ - ศึกษาดูงานจากเมืองตัวอย่างที่ดีโดยเทศบาลนำร่อง - ติดตามประเมินผลกลางปี ปีที่ 3 (เดือน 25-30) การติดตามประเมินผลและปรับปรุงการดำเนินการ - สรุปบทเรียน ปัญหาและอุปสรรค ฯลฯ เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินโครงการ - การผลักดันเข้าสู่หน่วยงานในระดับนโยบาย (national dialogue)
16 ตัวอย่างที่ดีจาก 5 ประเทศ ประเด็น เทศบาล 1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนและตัดสินใจ เทศบาลเล็กในเทศบาลใหญ่และสภาเมือง (ทน.ขอนแก่น ประเทศไทย) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการปรับปรุงย่านที่อยู่อาศัยเก่าแก่ (เมืองวินห์ ประเทศเวียดนาม) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานโดยความร่วมมือของรัฐ-ราษฎร์-เอกชน (Toul Sangke ประเทศกัมพูชา)
16 ตัวอย่างที่ดีจาก 5 ประเทศ ประเด็น เทศบาล 2. การบริหารจัดการในองค์กรตามหลัก ธรรมาภิบาล การปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนโดยใช้ E-Government (เมืองย๊อกยากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย) ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาเมือง (Kartarmantul Regency ประเทศอินโดนีเซีย) ธรรมาภิบาลในการจัดการสุขภาวะระดับชุมชน (เทศบาลตำบลปริก ประเทศไทย) การมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเมือง (จังหวัดกิวมารัส ประเทศฟิลิปปินส์) นวตกรรมการจัดการองค์กรสาธารณะ (เมืองลังซอนประเทศเวียดนาม) การบริการแบบ One Window Service (เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา)
16 ตัวอย่างที่ดีจาก 5 ประเทศ ประเด็น เทศบาล 3. การจัดบริการสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (เทศบาลนครอุดรธานี ประเทศไทย) เมืองคาร์บอนต่ำ (เทศบาลตำบลเมืองแกลง ประเทศไทย) ออมทรัพย์สีเขียว (เมืองมาริกิน่าประเทศฟิลิปปินส์) สภาเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติ (เมืองโอลองกาโป ประเทศฟิลิปปินส์)
16 ตัวอย่างที่ดีจาก 5 ประเทศ ประเด็น เทศบาล 4. การจัดการการเงินการคลังและการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเมือง การโยกย้ายและพัฒนากลุ่มผู้ค้าริมถนน (เมืองโซโล ประเทศอินโดนีเซีย) การอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองเก่าภูเก็ตเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (เทศบาลนครภูเก็ต ประเทศไทย) โครงการจัดการและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง (เทศบาลทูบิกอน ประเทศฟิลิปปินส์)
เกณฑ์การคัดเลือกอปท.นำร่องเพื่อถอดแบบตัวอย่างที่ดีสู่การปฏิบัติ มีประสบการณ์ในการดำเนินงานในประเด็นนั้นๆ อย่างน้อย 4 ปี มีประชากรไม่ต่ำกว่า 20,000 คน บุคลากรมีศักยภาพและความพร้อม เป็นอปท. ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในประเทศ ผู้บริหาร (นายกเทศมนตรี หรือข้าราชการประจำ) มีความเข้มแข็ง และมีความต้องการที่จะปรับปรุงงานที่ทำอยู่ เทศบาลต้องแสดงความประสงค์ และมีพันธกิจในการเข้าร่วมโครงการ มีความพร้อม ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมตลอดระยะเวลาโครงการ และภายหลังโครงการเสร็จสิ้น สามารถเดินทางได้ง่าย และสะดวก ไม่มีความขัดแย้งทางการเมืองที่จะส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
4 เทศบาลนำร่องในประเทศไทยและโครงการที่จะถอดแบบสู่การปฏิบัติ 4 เทศบาลนำร่องในประเทศไทยและโครงการที่จะถอดแบบสู่การปฏิบัติ เทศบาลนำร่อง ตัวอย่างที่ดีที่จะถอดแบบสู่การปฏิบัติ 1. เทศบาลนครปากเกร็ด 14 การโยกย้ายและพัฒนากลุ่มผู้ค้าริมถนน (เมืองโซโล ประเทศอินโดนีเซีย) 2. เทศบาลนครสงขลา การปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนโดยใช้ E-Government (เมืองย๊อกยากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย) 3. เทศบาลนครยะลา 8. นวตกรรมการจัดการองค์กรสาธารณะ (เมืองลังซอนประเทศเวียดนาม) 4. เทศบาลนครเชียงราย 5. ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพัฒนาเมือง (Kartarmantul Regency ประเทศ อินโดนีเซีย)