หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ โดย อ. พิมผกา ธานินพงศ์
ปรัชญาของหลักสูตร ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจนในทฤษฎีสถิติ ทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ความรู้ความเข้าใจขั้นพื้นฐานในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับประสบการณ์ในทางปฏิบัติ เป็นคุณสมบัติสำคัญของบัณฑิตสถิติในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ พร้อมทั้งเป็นปัจจัยในการติดตามองค์ความรู้ใหม่ทั้งในศาสตร์ของตนเองและศาสตร์อื่นๆ อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร ผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพในการประยุกต์สถิติศาสตร์ เริ่มตั้งแต่การวางแผนงานวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำข้อสรุปและประเมินความเชื่อถือได้ แปลผลได้ถูกต้องตามหลักวิชาอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับผลิตสารสนเทศระดับที่ดี ผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพในการให้คำปรึกษาทางวิชาการสถิติ และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลแก่บุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่น พัฒนาบัณฑิตให้มีความใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีคุณธรรมและจริยธรรม
จบสาขาสถิติแล้วทำงานอะไร? 1. ครู /อาจารย์ 2. นักวิชาการ/นักวิจัย เช่น นักวิจัยสถาบัน นักชีวะสถิติ นักวิจัยสังคม เป็นต้น 3. เจ้าหน้าที่สถิติในหน่วยงานหรือบริษัท/ห้างร้านองค์กรต่างๆ 4. เจ้าหน้าที่บริหารฐานข้อมูล 5. พนักงานสถิติในโรงงานอุตสาหกรรม โดยทำงานตำแหน่งต่างๆดังนี้ เจ้าหน้าที่ควบคุณภาพ ( Quality Control Staff) เจ้าหน้าที่ควบคุณภาพโดยวิธีการทางสถิติ ( SPC Facilitator ) ฝ่ายควบคุมและรับประกันคุณภาพ( QRA Department ) ฝ่ายวางแผนการผลิต ( Productions Planner ) พนักงานฝ่ายจัดซื้อ ( Purchasing Officer ) 6. เจ้าหน้าวิเคราะห์ข้อมูล 7. อื่นๆ
จบสาขาสถิติแล้วทำงานที่ไหน? 1. สถานศึกษาต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัย โรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน 2. โรงพยาบาล หน่วยงาน/สำนักงานหรือศูนย์วิจัยต่างๆ 3. สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานสถิติจังหวัด 4. โรงงานอุตสาหกรรม 5. บริษัท/ห้างร้านเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ 6.หน่วยงานราชการท้องถิ่น เช่น เทศบาลเมือง องค์การบริหารส่วน ท้องถิ่น เป็นต้น 7.หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 8.ธนาคาร หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทประกันต่างๆ 9. อื่นๆ
ตัวอย่างงานทางด้านสถิติ
ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จ
และเป็นส่วนหนึ่งในการ แก้ไขปัญหา เพื่อหาคำตอบจากสมมติฐานที่กำหนดไว้ “สถิติ มีความสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งในการ แก้ไขปัญหา เพื่อหาคำตอบจากสมมติฐานที่กำหนดไว้ สถิติ สามารถประยุกต์ใช้กับกระบวน การตัดสินใจทั้งในการทำงานและ การดำเนินชีวิตของเรา” อภิชาติ เจริญลาภ 2905295 ผู้จัดการอาวุโส หน่วยงานตรวจสอบระบบสารสนเทศ – บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด มหาชน
ชื่อ: อนุชา บัวลา รหัส: 4305652 ตำแหน่ง: Quality Assurance Supervisor Asia Zone. สถานที่ทำงาน: Bangkok, Vietnam, China งานหลักของตำแหน่ง: ตรวจสอบสินค้าก่อน โหลดตู้คอนเทรนเนอร์ วิจัยและพัฒนาสินค้า และ ติดต่อกับโรงงาน ผู้ผลิตเพื่อทำตัวอย่างสินค้า ดูแลในส่วนฝึกอบรมมาตรฐานแลกฎระเบียบ ของสินค้าตลาดอเมริกาและยุโรปให้กับทาง QC Asia Zone สถิติที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการทำงาน: STATISTICAL QUALITY CONTROL Military Standard 105E (ANSI/ASQC Z1.4, ISO 2859) Tables and etc.
Advance Contact Center ชื่อ: นางสาวสุดารัตน์ ทองเฉลิมรหัสนักศึกษา: 4605609 จบการศึกษา: คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชา: สถิติ ปัจจุบันทำงาน ตำแหน่ง: Operation Information Analysis Officer บริษัท: Advance Contact Center ลักษณะงานที่ทำ: 1.จัดทำรายงานและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติจากการติดต่อของลูกค้า Call Center เช่น Satisfaction Report, Calls Performance for Inbound & Outbound Contact, KPI Reports,etc. 2.วิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการปรับปรุง Call Center Performance ตาม BSC ของบริษัท 3.จัดทำรายงานเพื่อการบริหารงานของ ACC และรายงานตามที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารโดยใช้หลักการวิเคราะห์ทางสถิติ
ชื่อ: วราภรณ์ พิมา รหัส: 4825155 ตำแหน่ง: เจ้าหน้าที่สถิติ สถานที่ทำงาน: ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย งานหลักของตำแหน่ง: ดูแล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล พัฒนาแบบสอบถาม เพื่อใช้ในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เขียนโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ สถิติที่เกี่ยวข้อง: วิธีการเลือกตัวอย่าง และการกำหนดขนาดตัวอย่าง Hypothesis Testing Regression Analysis
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม…