การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV
การเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน NEW DLTV ระบบการทำงานแบ่งออกเป็น 3 ระบบ ระบบต้นทาง: สถานีโทรทัศน์ และโรงเรียนวังไกลกังวล เป็นหน่วยงานหลัก ทำหน้าที่ถ่ายทอดการเรียนการสอนและผลิตรายการ
มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ประการ ประการที่ 1 ปรับผังรายการ ให้จัดการศึกษาทางไกลครอบคลุมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 1) ช่อง DLTV 1-12 ปรับผังรายการเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 ช่วงเวลา 08.30- 16.30 น. จากเดิมถ่ายทอดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ป.1- ม.6 เปลี่ยนเป็น อบ.1-ม.3โดยปฐมวัยจะออกอากาศเพียงครึ่งวัน ช่วงที่ 2 ตั้งแต่16.30 น. เป็นต้นไป จะเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้คนทุกกลุ่ม เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ รายการภาษาอังกฤษฯ แนะนำการประกอบอาชีพฯ 2) ช่อง DLTV 15 ช่วง 16.30 น. ช่องสำหรับครู เกี่ยวกับเทคนิคการสอน สื่อการเรียนรู้ องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน
2. ประการที่ 2 : ปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนเป็นแบบใหม่ แบบ Active Learning โรงเรียนวังไกลกังวล จะจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ ดังนี้ 1) ระดับปฐมวัย จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรปรับปรุง 2560 ตรงตามตัวชี้วัด ของหลักสูตร โดย สพฐ. เป็นผู้จัดทำแผนการเรียนรู้ รร.วังไกลกังวลนำไปสอน 2) ระดับประถมศึกษา: มูลนิธิได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้นำสื่อ 60 พรรษา ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดย สพฐ.และสสวท.จัดทำแผนการเรียนรู้ เน้นการสอนแบบ Active Learning 3) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น : สพฐ.ร่วมมือปรับหลักสูตรและแผนการเรียนรู้ แบบ Active Learning รวมทั้งรายวิชาสาระเพิ่มเติมที่เน้นความรู้ และทักษะอีพ โรงเรียนวังไกลกังวลนำไปสอนในปี2562 นี้
3. ประการที่ 3 : การเปลี่ยนระบบการออกอากาศจากการออกอากาศสดเป็น แบบบันทึกเทป เพื่อทำให้การถ่ายทอดการเรียนการสอน มีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพแก่โรงเรียนปลายทางมากยิ่งขึ้น 4. ประการที่ 4 : ปรับห้องเรียนที่ใช้ออกอากาศและอุปกรณ์สถานที่โทรทัศน์ใหม่ มีการนำโทรทัศน์ แบบSmart TVมาใช้แล้วยังมีการเพิ่มกล้องเป็น แบบRobot เปลี่ยนจากระบบ SD เป็นแบบ HD ทำให้ภาพคมชัดมากยิ่งขึ้น
2. ระบบกลางทาง คือ ระบบการนำสัญญาณภาพและเสียงจากห้องเรียนต้นทางที่ รร 2. ระบบกลางทาง คือ ระบบการนำสัญญาณภาพและเสียงจากห้องเรียนต้นทางที่ รร.วังไกลกังวล ไปยัง รร.ปลายทาง นอกจากจะรับชมได้ทางช่อง DLTV 15 ช่อง ทาง websiteของมูลนิธิการศึกษาทางไกผ่านดาวเทียม และทางมือถือ Application on Mobile เช่นเดิมแต่มีการปรับปรุงให้มีสัญญาณคมชัดเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังมีระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้รับชมปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น * สามารถสืบค้นรายการย้อนหลังได้ตามความต้องการ สามารถดาวน์โหลดแผนการจัดการเรียนรู้ ใบงาน สื่อการสอนได้ด้วย * มีห้องสนทนา(Web board) ที่สามารถตั้งกระทู้สอบถามปัญหาการเรียนการสอนซึ่งทั้งครูต้นทางและปลายทางเข้ามาตอบปัญหาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
* มีช่องทางให้มีการแจ้งปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์รับสัญญาณต่างๆได้ มีการพัฒนา Application on Mobile ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งให้เข้าถึงการศึกษาทางไกลในคร.นทุกๆกลุ่ม 3.ระบบปลายทาง: มีการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับครูปลายทาง โดยสามารถ Upload รายการการจัดการเรียนการสอนของทุกระดับชั้นทาง Website ของมูลนิธิได้ล่วงหน้า 3 วันเพื่อให้ครูปลายทางได้ดูก่อนและได้ใช้เตรียมความพร้อมก่อนการเรียนการสอนของนักเรียนให้เรียบร้อยก่อน
กำหนดมาตรฐานเป็น 3 ด้าน ดังนี้ มูลนิธิร่วมกับ สพฐ.ได้จัดทำมาตรฐานการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในระดับสถานศึกษา(DLTV) กำหนดมาตรฐานเป็น 3 ด้าน ดังนี้ * มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มี 4 ตชว. ตชว.ที่ 1 พฤติกรรมที่สำคัญของผู้เรียน : ความรับผิดชอบ และ การปฏิบัติกิจกรรมพร้อมนักเรียนต้นทาง ความตรงต่อเวลาในการเข้าเรียนตามตาราง ตั้งใจฟังและจดบันทึกความรู้ และมีผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้
ตชว. 2 : ผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร คะแนนเฉลี่ยในทุกกลุ่มสาระ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ และเขียน สมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร ตชว. 3 : ผลการทดสอบระดับชาติ : ผลการทดสอบO-NET 4 กลุ่มสาระ ตชว.4 : ผลการทดสอบ NT
มาตรฐานด้านการจัดการเรียนการสอน มี 4 ตัวชี้วัด ตชว.1 การเตรียมการก่อนการเรียนการสอน : จัดเตรียมห้องเรียนให้เหมาะสม ตรวจสอบสัญญาณ การแพร่ภาพการเรียนการสอนโรงเรียนต้นทาง เตรียมสื่อ อุปกรณ์ ใบงาน และเครื่องวัดและ ประเมินผล และ มีการทำความเข้าใจกับนักเรียนในการเรียนรู้กับ DLTV ตชว.2 การจัดการเรียนการสอนของครูปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพ: * กำกับ ดูแล ช่วยเหลือ และกระตุ้นให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรตามต้นทาง * กระตุ้นให้นักเรียนจดบันทึกความรู้ในเนื้อหาที่เรียนแต่ละชั่วโมง * มีการมอบหมายงานเพื่อการเรียนในชั่วโมงต่อไป * ตรวจผลงานและเสนอแนะให้นักเรียนมีการปรับปรุงแก้ไข * บันทึกหลังสอน
ตชว. 3 การวัดและประเมินผล: มีการวัดก่อน ระหว่างและหลังเรียน * มีการวัดผลปลายปี * มีการวัดและระเมินผลตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย * มีการวิเคราะห์ผลการประเมินเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการจัด การเรียนรู้ ตชว. 4 การสอนซ่อมเสริมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน * วิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล * สอนซ่อมเสริมนอกตารางออกอากาศเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ไม่บรรลุวัตุประสงค์ * สอนซ่อมเสริมให้ความรู้เพิ่มเติมเด็กเก่ง * บันทึกผลการสอนซ่อมเสิม
มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ มี 6 ตัวชี้วัด ตชว.1 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอนทางไกล * โทรทัศน์ จานดาวเทีม กล่องรับสัญญาณและอุปกรณ์เชื่อต่อครบทุกชั้น * การจัดวางโทรทัศน์ในตำแหน่งที่เหมาะสม * การวางโทรทัศน์มีความมั่นคงปลอดภัย ตชว. 2 การจัดสภาพห้องเรียน อาคารเรียน และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน * ห้องเรียน อาคารเรียน สะอาดปลอดภัย * มีพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน * มีแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการศึกษาทางไกล
ตชว.3 การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม * ดูแลเอาใจใส่อุปกรณ์และระบบอย่างต่อเนื่อง * มีแนวทางแก้ไขในกรณีที่ไม่สามารถรับชมการถ่ายทอดได้ * จัดหาวัสดุอุปกรณ์และส่งเสริมให้ครูพัฒนาสื่อที่สอดคล้องกับรร.ต้นทาง * มอบหมายครูเข้าสอนตามตารางและมีแนวปฏิบัติกรณีที่ครูหลักไม่สามารถเข้าสอนได้ * มีตารางกิจกรรมที่เอื้อต่อการศึกษาทางไกล
มาตรฐานที่ 4 กำหนดนโยบายและการนำนโยบายการจัดการเรียนการสอนทางไกล * สร้างความเข้าใจตระหนักถึงความสำคัญของการสอนทางไกล * สร้างขวัญกำลังใจแก่ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง * ขับเคลื่อนนโยบายกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์เป้าหมายที่พร้อมปฏิบัติได้ * จัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ * ประเมินรายงานผลการดำเนินงานโครงการ * นำผลการรายงานไปใช้ในการวางแผนปรับปรุง
ตชว. 5 การพัฒนาครูและบุคลากร * มีการพัฒนาตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง * มีการนำผลการพัฒนาครูไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง * สรุปผลและรายาผลการพัฒนาครู * มีกิจกรรมPLC ตชว. 6 การนิเทศภายใน * กำหนดแผนนิเทศภายใน * กำหนดผู้นิเทศ ผู้รับการนิเทศ * ดำเนินการนิเทศตามแผน * บันทึกผลการนิเทศ * แลกเปลี่ยนผลการดำเนินการนิเทศ เพื่อปรับปรุงแก้ไข