การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา การบัญชี อุตสาหกรรมและระบบใบสำคัญ ของนักศึกษาระดับ ปวช. 3 สาขาการบัญชี ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ รูปแบบใหม่ STAD Triangle 3D และ การจัดการเรียนรู้แบบปกติ โดย อาจารย์ณัฐรดา กาฬภักดี
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ฉบับ พ.ศ. 2545 หมวด 22 – 24 มาตรา 4 เน้น “ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด” วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ ได้ส่งเสริมให้นักศึกษามีความมุ่งมั่นในการด้านการเรียนเพื่อให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูง และมีศักยภาพ จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดห้องเรียน โดยเรียงตามคะแนนเฉลี่ย GPA โดยมีการจัดแบ่งห้องเรียนเป็นห้องคัด(เกรด) และห้องคละ(เกรด) ซึ่งจากประสบการณ์สอนที่ผ่านมาผู้สอนพบว่า ห้องที่คัดเกรด จะมีผลการเรียนที่ดีกว่า ห้องเรียนคละเกรด
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา จากสาเหตุดังกล่าว ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษากระบวนการสอน “แบบกลุ่ม” เพื่อช่วยให้ผู้เรียนที่มีผลการเรียนค่อนข้างน้อย-ปานกลาง พัฒนาขีดความสามารถด้านการเรียนให้เต็มศักยภาพ STAD Triangle 3D เกิดมาจากแนวคิดในการพัฒนา การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD เพื่อขจัดปัญหาการไม่มีส่วนร่วมของสมาชิกที่มีจำนวนมากเกินไป ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD Triangle 3D และการสอนแบบปกติ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการสอนโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบใหม่ STAD Triangle 3D
เก่ง ดี มีสุข STAD Model STAD Triangle 3D Model 3 D D 1 = Development The Development of the learning Process การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ The Development analysis of thinking Process การพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ D 2 = Distribution of Knowledge การกระจายความรู้ (ความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน) D 3 = Democracy การมีประชาธิปไตย การยอมรับฟังความคิดเห็น ของผู้อื่นการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นทำให้สามารถ ทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เก่ง ดี มีสุข
ระเบียบวิธีวิจัย ประชากร นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 แผนกการบัญชี กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3/1 และ 3/2 แผนก การบัญชี ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling กลุ่มทดลอง ปวช. 3/1 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ ใหม่ STAD Triangle 3D กลุ่มควบคุม ปวช. 3/2 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เนื้อหา วิชาการบัญชีอุตสาหกรรมฯ เรื่อง รายการปรับปรุงและกระดาษทำการกิจการอุตสาหกรรม
ตัวแปรที่ต้องการศึกษา ระเบียบวิธีวิจัย ตัวแปรที่ต้องการศึกษา ตัวแปรต้น 1. การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รูปแบบใหม่ STAD Triangle 3D 2. การเรียนรู้แบบปกติ ตัวแปรตาม 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบ ใหม่ STAD Triangle 3D
1 2 3 การจัดการเรียนการสอน STAD Triangle 3D ผู้สอนให้ความรู้ ผู้สอนวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินผล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3
1 1 2 2 3 การจัดการเรียนการสอน แบบปกติ ผู้สอนให้ความรู้ ทดสอบความรู้ความเข้าใจ ก่อนใช้การเรียนรู้แบบปกติ 1 การเรียนรู้แบบปกติ 1 ทดสอบความรู้ความเข้าใจ หลังใช้การเรียนรู้แบบปกติ การทำงาน เป็นกลุ่ม 2 2 การอภิปราย ผู้สอนวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินผล 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลการวิจัย ตารางที่ 1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือรูปแบบใหม่ STAD Triangle 3D และการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง n k ก่อนเรียน หลังเรียน MD SMD1-MD2 t X1 S1 X2 S2 กลุ่มทดลอง 35 20 8.66 3.25 13.31 4.23 4.66 0.727 3.1819** กลุ่มควบคุม 43 11.98 4.22 14.67 3.46 2.34 **t(.05 ; df 76) = 1.9927
ผลการวิจัย ตารางที่ 2 ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบใหม่ STAD Triangle 3D ด้านที่ 1 เก่ง (D1 : Development)
ผลการวิจัย ตารางที่ 3 ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบใหม่ STAD Triangle 3D ด้านที่ 2 ดี (D2 : Distribution of Knowledge)
ผลการวิจัย ตารางที่ 4 ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบใหม่ STAD Triangle 3D ด้านที่ 3 มีสุข (D3 : Democracy)
สรุปผลการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD Triangle 3D และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการสอนโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบใหม่ STAD Triangle 3D มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ที่เรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ว่านักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างไร ในการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ STAD Triangle 3D กับการสอนแบบปกติ ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป ควรมีการเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD Triangle 3D นำไปสอนเปรียบเทียบกับวิธีสอนอื่นๆ ในเนื้อหาเดียวกันและชั้นเดียวกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมและหาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ต่อไป