การพัฒนาระบบการให้บริการอินเทอร์เน็ตอัตโนมัติ โดยใช้รายการควบคุม กรณีศึกษา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ นายอาวุธ บุญทายศ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบการให้บริการอินเทอร์เน็ตอัตโนมัติ โดยใช้รายการควบคุม เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อระบบการให้บริการอินเทอร์เน็ตอัตโนมัติ โดยใช้รายการควบคุม
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ที่ขอใช้บริการอินเทอร์เน็ต ระหว่างวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ถึง 23 เมษายน พ.ศ. 2558 จำนวน 37 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ที่ขอใช้บริการอินเทอร์เน็ต ระหว่างวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ถึง 23 เมษายน พ.ศ. 2558 จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
สรุปผลการวิจัย เพศชายทั้งหมดร้อยละ 36.66 เพศหญิงร้อยละ 63.34 มีอายุงานระหว่าง 0 – 10 ปี มากสุด คือร้อยละ 80 โดยสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ สาขาพณิชยการและการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวมีการร้องขอใช้บริการมากสุดรวมกันถึง ร้อยละ 76.66 สามารถลดเวลาในการร้องขอลงได้ 1,380 นาที หรือ 23 ชั่วโมงจากระบบเดิมที่ใช้ 1,490 นาที หรือลดลงร้อยละ 92.62
ตารางเปรียบเทียบระบบเดิมกับระบบใหม่
แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อระบบ
ข้อเสนอแนะ 1. ควรเปิดระบบให้สามารถร้องขอการใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งปัจจุบันให้ร้องขอผ่านระบบเครือข่ายภายในเท่านั้น (อินทราเน็ต) 2. เมื่อระบบได้ส่งคำสั่ง เปิด/เปิด ให้กับอุปกรณ์ควบคุมเครือข่ายแล้ว ควรแจ้งให้ผู้ใช้ทราบผ่านทาง SMS หรือ Email 3. ควรมีโปรแกรมประยุกต์ในลักษณะของ Client Server ติดตั้งไว้กับเครื่องของอาจารย์ผู้สอน เพื่อคอยตรวจสอบชุดข้อมูลภายในเครือข่าย ว่าสามารถใช้งานระบบเครือข่ายภายนอกได้หรือไม่
Network Infrastructure
User Request Service
Application management policy
สรุปผลการวิจัย พบว่าระบบใหม่สามารถลดเวลาในการร้องขอลงได้ ร้อยละ 92.62 ซึ่ง ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อระบบมีอยู่ในระดับมาก ที่ 3.85