แผนงาน การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ โครงการพัฒนาการคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (District Health Board :DHB) จังหวัดเชียงราย เป้าหมาย/ ตัวชี้วัด เป้าหมาย : คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (District Health Board : DHB) ที่มีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม KPI: 1) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอทุกอำเภอ 2) ร้อยละ 50 ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (District Health Board : DHB) ที่มีประสิทธิภาพ (จำนวน 9 อำเภอ) สถานการณ์/ข้อมูลพื้นฐาน ปี 2559 มี DHB = 2 อำเภอ (เมือง เชียงของ) ปี 2560 = 2 อำเภอ ( แม่ลาว พญาเม็งราย ) จากการสรุปบทเรียนทั้ง 4 อำเภอ พบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จดังนี้ 1) การคัดเลือก สรรหา คณะกรรมการฯที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานได้จริง 2) การสร้างความเข้าใจ เพื่อให้เห็นเป้าหมายร่วมกัน 3) มีกลไกที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูล สร้างการเรียนรู้ ( DHML) 4) การจัดทำแผนงานโครงการในประเด็นที่ทุกหน่วยงานมีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม 5) การวัดผลลัพธ์เชิงปริมาณและคุณภาพ 6) การจัดการความรู้ 7) ความต่อเนื่องและยั่งยืน ยุทธศาสตร์ มาตรการ 1.สร้างกลไกขับเคลื่อนที่เชื่อมโยงระบบบริการ ปฐมภูมิกับชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ (DHS) 2. พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภออย่างมีส่วนร่วม 3. เสริมสร้างศักยภาพ DHB อย่างมั่นคงและยั่งยืน กิจกรรมหลัก 1.แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ อำเภอ (District Health Board : DHB) ตามระเบียบสานักนายกฯ 2.สนับสนุนและส่งเสริมการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ DHB อย่างโปร่งใส เป็นธรรมและมีส่วนร่วมทั่วถึง ทุกภาคส่วน 3.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่ประกอบด้วยภาคีสุขภาพเพื่อออกแบบการขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอเชื่อมโยง DHB กับชุมชนท้องถิ่น ( ตำบล หมู่บ้าน ครอบครัว ) 1.จัดประชุมแบบมีส่วนร่วมเพื่อวิเคราะห์ปัญหา/ประเด็นพัฒนา นำมาคัดเลือกประเด็นที่สำคัญตามบริบทในพื้นที่ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2.จัดทำแผนดำเนินการพัฒนา/แก้ไขปัญหาสำคัญตามบริบทในพื้นที่ เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต อย่างน้อย 2 เรื่อง 3. ดำเนินการตามแผนดำเนินงานพัฒนา/แก้ไขปัญหาสำคัญตามบริบทในพื้นที่ เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต 4. สรุปบทเรียนผลการดำเนินงานพัฒนา/แก้ไขปัญหาสำคัญตามบริบทในพื้นที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต 5. .จัดทำนโยบายสาธารณะหรือวาระอำเภอการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างน้อย 2 เรื่อง 1.เสริมสมรรถนะคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ 2.เสริมสมรรถนะ คกก. อนุกรรมการฯด้วยกระบวนการ (District Health System Management Learning :DHML ) 3.ดำเนินการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ แบบบูรณาการและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 4.ประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนา/แก้ไขปัญหาสำคัญตามบริบทในพื้นที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วย UCCARE 5.สรุปผลการดำเนินงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชื่นชมและเสริมพลัง 6..สนับสนุนและส่งเสริมให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในอำเภอเป็นบทบาทสำคัญเพื่อให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมท้องถิ่น 7. วิจัยและพัฒนาหารูปแบบ DHB ที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ ระดับความสำเร็จ ไตรมาส 1 1.การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอ (District Health Board : DHB) 2.การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระบบสุขภาพอำเภอ ไตรมาส 2 มีแผนการดำเนินการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาตามบริบทแบบมีส่วนร่วม อย่างน้อย 2 ประเด็น/อำเภอ ไตรมาส 3 มีการดำเนินการ การบริหารจัดการ สร้างกลไก และพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการบูรณาการ อย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไตรมาส 4 1.มีการสรุปผลการดำเนินการทั้งกระบวนการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นโดยกระบวนการชื่นชมและ เสริมพลังแก่ DHB ที่มีประสิทธิภาพร้อยละ 50 2. มีองค์ความรู้ DHB อย่างน้อย 1 เรื่อง 3.มีนโยบายสาธารณะหรือวาระอำเภออย่างน้อย 2 เรื่อง