ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย (ดอยช้าง)
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย (ดอยช้าง) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัด เชียงราย สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีความลาดชันมากกว่า 35% จุดต่ำสุด และสูงสุด จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,200 ถึง 1,700 เมตร ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายของชา ไม้ผล เมืองหนาว ไม้ดอกไม้ประดับโดยเฉพาะว่านสี่ทิศ และพืชสมุนไพร รวมทั้งการผลิตกาแฟเลื่องชื่อแบบครบวงจร มีจุดชมวิว มี บ้านพัก/เต็นท์ ร้านค้า ร้านอาหารให้บริการ เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2528 โดยสำนักงาน ปปส. โครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน ขอความร่วมมือ มายังกรมวิชาการเกษตรให้จัดตั้งหน่วยทดลองเกษตรที่สูงในพื้นที่โครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้าทดสอบพันธุ์พืชและแหล่งข้อมูลทางวิชาการเกษตรต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรแก่ ชาวไทยภูเขา เพื่อใช้เป็นพืชปลูกทดแทนการปลูกฝิ่น
ยุทธศาสตร์ของศูนย์วิจัยฯ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 1. ทำให้ ศูนย์วิจัยฯ เชียงราย น่าอยู่ โดยทำให้ ศูนย์วิจัยฯ เชียงราย สวย สะอาด มั่นคงปลอดภัย สังคมเข้มแข็ง ประชาชนได้รับบริการที่ดีจากรัฐ 2. ทำให้ ศูนย์วิจัยฯ เชียงราย น่าทำงาน ส่งเสริมบุคลากรให้เป็นเลิศทางด้านการวิจัย การพัฒนาและการขยายพันธุ์พืชของกรมวิชาการเกษตรและพืชในท้องถิ่น 3. ทำให้ ศูนย์วิจัยฯ เชียงราย น่าเที่ยว การพัฒนาให้ศูนย์เป็นที่ท่องเที่ยวทางการเกษตร สถานที่ประชุม สัมมนา กิจกรรมนันทนาการและเป็นแหล่งเรียนรู้ ชุมชน ธรรมชาติวัฒนธรรมและการเกษตร 4. ทำให้ ศูนย์วิจัยฯ เชียงราย ผลิตอาหารปลอดภัย ( น่ากิน ) เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและอาหารที่ปลอดภัย เพื่อการส่งออกและบริโภคภายในประเทศ
งานที่ปฏิบัติ กาแฟอาราบิกา มะคาเดเมียนัท การขยายพันธุ์พืช ชา การจัดสวน ปุ๋ยและ GAP
กาแฟอาราบิกา การเพาะกล้ากาแฟ
การดูแลกล้ากาแฟหลังการเพาะ
การใส่ปุ๋ยกาแฟ
การแปรรูปกาแฟ
มะคาเดเมียนัท การเพาะกล้ามะคาเดเมียนัท
การแปรรูปมะคาเดเมียนัท
การขยายพันธุ์พืช ปักชำ/เสียบยอดมะนาว การติดตากุหลาบ การขยายพันธุ์ว่านสี่ทิศ
ชา การเพาะกล้าชา
การแปรรูปชา
การจัดสวน
ปุ๋ยและGAP
วันปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ
วิเคราะห์การเรียนรู้จากการฝึกภาคสนามเชื่อมโยงกับรายวิชาที่เคยเรียนในคณะทรัพยากรธรรมชาติ วิชาการติดต่อสื่อสารทางการเกษตร วิชาองค์กรและสถาบันทางการเกษตร วิชาเศรษฐกิจชุมชน วิชาความอุดมสมบูรณ์ของดิน วิชากีฏวิทยา วิชาโรคพืช วิชาหลักการบริหารจัดการและมารตฐานสากล วิชาหลักการขยายพันธุ์พืช วิชาการตกแต่งสถานที่
เปรียบเทียบความคาดหวังจากการฝึกงานภาคสนาม สิ่งที่คาดหวัง คาดว่าจะได้ออกพื้นที่ พบกับเกษตรกร คาดหวังว่าจะได้รับความรู้เพิ่มเติมจากลักษณะภูมิประเทศที่ต่างกัน คาดหวังว่าจะได้ประสบการณืใหม่ๆ สิ่งที่ได้รับ ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรที่สูง ได้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชที่สูง ได้ความรู้เกี่ยวการแปรรูปพืชที่สูงจากหน่วยงานทดลอง ได้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจรับแปลง GAP ได้เรียนรู้วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ การเข้าสังคม ได้รับการต้อนรับที่อบอุ่นจาก อาจารย์ พี่ และ ชาวบ้าน สิ่งที่ไม่ได้รับ ได้ออกพื้นที่น้อยกว่าที่คาดไว้
วิเคราะห์หน่วยงานที่เข้ารับการฝึกภาคสนาม จุดแข็ง 1.มีนักวิชาการ ข้าราชการชำนาญการ ที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมาก 2.มีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันในหน่วยงาน ระหว่างข้าราชการ พนักงานราชการ และคนงานในศูนย์วิจัย 3.เป็นองค์กรใหญ่ ที่มีหลากหลายสายงาน - กลุ่มประสานและบริหารนโยบาย - กลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี - กลุ่มวิชาการ - กลุ่มควบคุมพระราชบัญญัติการจำหน่ายปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตร - กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต 4.มีการประสานงาน แบ่งแยกหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน
จุดอ่อน 1.ศูนย์วิจัยตั้งอยู่บนพื้นที่สูง ทำให้การคมนาคมไม่สะดวกเท่าที่ควร ไม่มีรถโดยสารประจำทาง 2.คนงานมีความกระตือรือร้นในการทำงานน้อย ข้อจำกัด บางครั้งในการออกพื้นที่ จำนวนรถในศูนย์วิจัยไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
สรุปและแสดงความคิดเห็น การฝึกงานที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรที่สูงเชียงราย ถือว่าได้รับประสบการณ์เยอะมาก แบบที่ ไม่เคยคิดว่าจะได้รับมาก่อน ได้ทั้งวิชาความรู้ และได้นำวิชาความรู้ที่ได้รับในห้องเรียนไปใช้ฝึกปฏิบัติงาน จริง ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่สูงที่จะแตกต่างจากคนทั่วไป
ภาคผนวก การเดินทาง เดินทางโดยเครื่องบิน หาดใหญ่-เชียงราย หลังจากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยฯมารับที่ สนามบิน ค่าใช้จ่าย ค่าเครื่องบินขาไป ประมาณ 1400 บาท ค่าบำรุงที่พัก 700 บาท ค่าอาหารจะเก็บสัปดาห์ละ 300 บาท/คน (ทำอาหารเอง)
สถานที่ท่องเที่ยว ไร่เชิญตะวัน วัดร่องขุ่น ไร่ชาฉุยฟง พิพิธภัณฑ์บ้านดำ ไร่บุญรอด (สิงห์ปาร์ค) ด่านท่าขี้เหล็ก (แม่สาย) โรงงานกาแฟดอยช้าง ไร่องุ่นลุงชาลี จุดชมวิวดอยช้าง วัดห้วยปลากั้ง
เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ทางวัฒนธรรม ชาวอาข่าจะมีการนับถือศาสนาคริสต์ ชาวอาข่าจะมีวัฒนธรรมการเลี้ยงอาหารกับผู้มาร่วมงานอย่างเต็มที่โดยการจะมีการเสริฟอาหารอยู่ ตลอดเวลา
ขอบคุณครับ/ค่ะ