ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
สรุปสาระสำคัญ 1.อาศัยอำนาจมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สรุปสาระสำคัญ 1.พื้นที่สำหรับใช้เป็นสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ให้พิจารณาความเหมาะสมตามกฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับ หรือประกาศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาคาร โรงงาน พื้นที่ชุ่มน้ำ หรือเขตอนุรักษ์ พื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ และโบราณสถาน
สรุปสาระสำคัญ 2.การออกแบบและการก่อสร้างสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้ 2.1 ก่อนการก่อสร้าง ควรเตรียมข้อมูล ดังต่อไปนี้ 1) แผนที่หรือภาพถ่ายทางอากาศแสดงที่ตั้ง อาณาเขต และการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีขนถ่ายในรัศมี 1,000 เมตร 2) แผนผังแสดงกระบวนการปฏิบัติงานของสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย 3) ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ชนิดหรือประเภทมูลฝอย สัดส่วนมูลฝอยอินทรีย์ที่สามารถนำไปหมักปุ๋ย ปริมาณมูลฝอยที่เข้ากระบวนการหมักปุ๋ย รวมทั้งการคาดการณ์ปริมาณมูลฝอยในอนาคต
สรุปสาระสำคัญ 4) ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการหมักปุ๋ย กำลังการผลิต สารเติมแต่ง เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการกำจัดมูลฝอย รวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการหมักปุ๋ย การคัดแยกมูลฝอย และการแปรสภาพมูลฝอยก่อนการหมักปุ๋ย 5) ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร เช่น จำนวนบุคลากร จำนวนวันและชั่วโมงปฏิบัติงาน มาตรการความปลอดภัยในขณะทำงาน 6) ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยที่คัดแยกออก การจัดการมูลฝอยที่เหลือจากการหมักปุ๋ย และปริมาณปุ๋ยที่ผลิตได้
สรุปสาระสำคัญ 2.2 การออกแบบอาคาร และระบบต่างๆในสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ควรพิจารณาข้อกำหนดดังต่อไปนี้ 1) การออกแบบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่ใช้ในประเทศ เว้นแต่ไม่มีหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานใดในประเทศให้ปฏิบัติตามหรือประยุกต์ใช้หลักเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และให้ระบุและแนบข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงมาประกอบด้วย
สรุปสาระสำคัญ 2) มาตรฐานงานโครงสร้าง งานถนน งานไฟฟ้า งานประปา งานเครื่องกล ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การป้องกันอัคคีภัย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ มาตรฐาน หรือข้อกำหนดของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือมาตรฐานอื่นที่ยอมรับได้ และให้ระบุและแนบข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงมาประกอบด้วย 3) การจัดวางผังบริเวณแสดงรายละเอียดการใช้พื้นที่ขององค์ประกอบต่างๆในสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ให้ใช้มาตรส่วนที่เหมาะสม 4) อาคารและพื้นที่ที่ใช้ในการรับมูลฝอยอินทรีย์ การคัดแยก การแปรสภาพ การหมัก การบ่ม หรือการเก็บรวบรวมปุ๋ยที่ผลิตได้ ให้มีการควบคุมปัญหากกลิ่นรบกวน ระบบระบายอากาศที่ดี และการควบคุมเศษมูลฝอยปลิว
สรุปสาระสำคัญ 5) บริเวณพื้นที่ที่ใช้ในการหมักและบ่ม ควรเป็นพื้นแอสฟัลต์หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก 6) การพิจารณาความเหมาะสมของประเภท จำนวน และขนาดของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดแยก การแปรสภาพ การหมัก และการบ่ม 7) ระบบจัดการน้ำฝนต้องมีประสิทธิภาพ 8) ระบบควบคุมน้ำเสีย และควบคุมคุณภาพน้ำก่อนระบายทิ้งสู่ภายนอก ต้องไม่เกินมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สรุปสาระสำคัญ 3.การจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ให้พิจารณาดังนี้ 3.1 จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในชั่วโมงทำงาน และติดประกาศชั่วโมงปฏิบัติงานที่ประตูทางเข้า 3.2 จัดเตรียมเอกสารหรือคู่มือการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา โดยกำหนดให้มีมาตรการควบคุมความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบัติงาน 3.3 จัดเตรียมมาตรการตรวจสอบ และการจัดการไม่ให้มูลฝอยติดเชื้อและของเสียอันตรายปะปนกับมูลฝอยทั่วไปในสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย 3.4 ควบคุมเศษมูลฝอย กลิ่น แมลง และพาหะนำโรค
สรุปสาระสำคัญ 3.5 บันทึกปริมาณมูลฝอยรายวันจากแหล่งกำเนิดต่างๆที่นำเข้าไปกำจัด ปริมาณและประเภทวัสดุที่คัดแยกออกหรือสิ่งตกค้าง รวมทั้งปริมาณสารเติมแต่งที่ใช้ (หากมี) 3.6 ให้มีมาตรการป้องกันอัคคีภัย แผนฉุกเฉิน 3.7 ต้องเคลื่อนย้ายมูลฝอยที่ถูกคัดแยกสิ่งตกค้าง และนำไปกำจัดด้วยวิธีการที่เหมาะสม 3.8 ให้มีการรวบรวม บำบัดหรือใช้ประโยชน์น้ำเสียจากการปนเปื้อนมูลฝอย รวมถึงน้ำเสียใดๆทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย กรณีที่ระบายน้ำทิ้ง ต้องมีค่าไม่เกินมาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สรุปสาระสำคัญ 3.9 ติดตามตรวจสอบน้ำผิวดิน แหล่งน้ำผิวดินภายนอกอาณาเขตสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย โดยกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ ดังนี้ 1) ตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินก่อนเริ่มโครงการ อย่างน้อย 1 ครั้ง 2) ตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดิน ปีละ 2 ครั้ง ให้ครอบคลุมในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง โดยให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน
สรุปสาระสำคัญ 4.ในกรณีที่มีการว่าจ้างบุคคลหรือนิติบุคคลเป็นผู้รับจ้างเพื่อดำเนินการบริหารจัดการสถานที่ ผู้ว่าจ้างต้องกำหนดเงื่อนไขในสัญญาจ้างเพื่อให้ผู้รับจ้างรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเก็บตัวอย่าง และการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามสัญญาจ้าง หรือกรณีมีเหตุรำคาญตามที่กฎหมายเกี่ยวข้อง
จบการนำเสนอ