งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง(ซาเล้ง)ฯ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง(ซาเล้ง)ฯ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง(ซาเล้ง)ฯ
โดย ร้อยตำรวจเอกนพรัตน์ พิมพ์ทอง รอง สวป.สภ.หนองสองห้อง ปฏิบัติหน้าที่งานจราจร ฯ

2 กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องฯ
1.พระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องฯ

3 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 4 “รถ” ตามบทนิยามของมาตรา ๔ หมายความว่า รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฯ “รถจักรยานยนต์” หมายความว่า รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์หรือกำลังไฟฟ้า และมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งล้อ และให้หมายความรวมถึง รถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์ด้วย “รถจักรยานยนต์สาธารณะ” หมายความว่า รถจักรยานยนต์ที่ใช้รับจ้างบรรทุกคน โดยสารแต่ไม่หมายรวมถึงรถจักรยานยนต์ที่มีพ่วงข้างและรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์

4 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 6 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปี สำหรับรถนั้นให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด ฯ มาตรา 13 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงสีของรถให้ผิด ไปจากที่จดทะเบียนไว้ เจ้าของรถต้องแจ้งนายทะเบียนภายใน 7 วัน นับ แต่วันที่เปลี่ยนแปลง ฯ

5 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 14 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนำรถไปให้นายทะเบียนตรวจ สภาพก่อน ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่ารถที่เปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายใน เวลาใช้ ให้สั่งเจ้าของรถแก้ไขและนำรถไปให้ตรวจสภาพก่อนใช้ การตรวจสภาพดังกล่าวนาย ทะเบียนจะสั่งให้เจ้าของรถนำรถไปให้ตรวจสภาพ ณ สถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตตาม กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกก็ได้ และให้นำมาตรา12 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มา ใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้านายทะเบียนเห็นว่ารถนั่นปลอดภัยในเวลาใช้ ให้แก้ไขเพิ่มเติม รายการในทะเบียน และใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วย

6 ตัวอย่างรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง(ซาเล้ง)ฯ

7 ตัวอย่างรถจักรยานยนต์สาธารณะ

8 ตัวอย่างรถสกายแลป **ปัจจุบัน ขนส่งยังไม่รับทำการจดทะเบียนให้

9 สรุป 1.รถ จยย. ซาเล้ง ถือว่าเป็นรถจักรยานยนต์ตามกฎหมาย
2.ต้องตรวจสภาพรถ กับ สถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตฯ 3.ต้องจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงสภาพรถต่อนายทะเบียนฯ 4.ต้องจัดทำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ 5.ต้องเสียภาษีประจำปีฯ 6.ผู้ขับขี่ต้องสวมหมวกนิรภัย(ตาม พ.ร.บ.จราจรฯ)

10 พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 122 ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกที่ จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ (หมวกนิรภัย) ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ตามวรรคหนึ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ใน ขณะที่คนโดยสารรถจักรยานยนต์มิได้สวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกัน อันตราย ฯลฯ

11 พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ.2522 แบบของหมวกนิรภัย ตาม กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ.2535) ฯ มี 3 แบบ ดังต่อไปนี้ 1.หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า 2.หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ 3.หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ ***โดยต้องได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

12 ตัวอย่างที่ดี!!!

13 ขอบพระคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง(ซาเล้ง)ฯ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google