แนะนำระบบคอมพิวเตอร์ Version 1.0, last updated 5 Jun 2007
เนื้อหาในบทเรียน คำนิยามและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบทางด้านฮาร์ดแวร์ ส่วนประกอบทางด้านซอฟท์แวร์ การใช้งานคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คือ??? เครื่องคำนวณ อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ สามารถรับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล นำข้อมูลและคำสั่งไปประมวลผลแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผลและ สามารถบันทึกรายการต่างได้ในอุปกรณ์สำรองข้อมูล
วิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) พ.ศ. 2489-2501 ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502- 2506 ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2512 ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2532 ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 จนถึง ปัจจุบัน www.themegallery.com Logo
ลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่ง ลักษณะเครื่อง คอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่ ใช้ไฟฟ้าแรงสูงจึงต้อง ติดตั้งในห้องปรับอากาศตลอดเวลา วัสดุที่ใช้สร้าง ใช้วงจรอิเล็คโทรนิคส์ และหลอดสูญญากาศ ความเร็วในการทำงาน เป็นวินาที สื่อข้อมูล บัตรเจาะ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภาษาเครื่องจักร (Machine Language) ตัวอย่างเครื่อง UNIVAC, IBM 650, IBM 701, NCR 102 www.themegallery.com Logo
www.themegallery.com Logo
ลักษณะเครื่อง มีขนาดเล็ก มีความร้อนน้อย และราคาถูกลง ลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่สอง ลักษณะเครื่อง มีขนาดเล็ก มีความร้อนน้อย และราคาถูกลง วัสดุที่ใช้สร้าง ใช้หลอดทรานซิสเตอร์แทนหลอดสูญญากาศ มี วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยวามจำ ความเร็วในการทำงาน เป็นมิลลิเซคคั่น สื่อข้อมูล บัตรเจาะและเทปแม่เหล็กเป็นส่วนใหญ่ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภาษาสัญลักษณ์ (symbolic Language) และ ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ตัวอย่างเครื่อง IBM 1620, IBM 1401, CDC 1604, Honeywell 200, NCR 315 www.themegallery.com Logo
www.themegallery.com Logo
ลักษณะเครื่อง เล็กลงกว่าเดิม ความเร็วเพิ่มขึ้น ใช้ความร้อนน้อย ลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่สาม ลักษณะเครื่อง เล็กลงกว่าเดิม ความเร็วเพิ่มขึ้น ใช้ความร้อนน้อย วัสดุที่ใช้สร้าง ใช้ไอซี (Integrated Circuit) ซึ่งสามารถทำงานได้เท่ากับทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัว (จึงทำให้ขนาดเล็ก) ความเร็วในการทำงาน เป็นไมโครเซคคั่น สื่อข้อมูล บัตรเจาะ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ เริ่มมีภาษาโคบอลและภาษาพีแอลวัน (PL/1) ภาษาโคบอลเป็นภาษาที่แพร่หลายมากในยุคนี้ ตัวอย่างเครื่อง IBM 360, CDC 3300, NCR 395, UNIVAC 9400 www.themegallery.com Logo
www.themegallery.com Logo
ความเร็วในการทำงาน เป็นนาโนเซคคั่น ลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ลักษณะเครื่อง มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กหรือไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องปรับอากาศ ทำงานเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น วัสดุที่ใช้สร้าง ใช้วงจรรวมขนาดใหญ่ที่เรียกว่า LSI (Large Scale Integrated) ความเร็วในการทำงาน เป็นนาโนเซคคั่น สื่อข้อมูล เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก ส่วนบัตรเจาะจะใช้น้อยลง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ เริ่มมีภาษาใหม่ ๆ เช่น ภาษาเบสิค ภาษาปาสคาล และภาษาซีเกิดขึ้น ตัวอย่างเครื่อง IBM 370, IBM 3033, UNIVAC 9700,CDC 7600,IBM PC(XT และ AT) www.themegallery.com Logo
www.themegallery.com Logo
มีภาษาเชิงวัตถุ (Object-Oriented) ลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการจัดการ และสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารมากยิ่งขึ้น มีภาษาเชิงวัตถุ (Object-Oriented) ความเร็วในการทำงาน เป็นพิคโคเซคคั่น หนึ่งในล้านล้านวินาที www.themegallery.com Logo
คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน เรียกว่า - ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) - เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข - การคำนวณในดิจิตอลคอมพิวเตอร์เป็นระบบเลขฐานสอง www.themegallery.com Logo
การคำนวณภายในดิจิตอลคอมพิวเตอร์ จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้นเลขฐานสิบและตัวอักษรที่เราใช้อยู่ จะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นเลขฐานสองซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบ www.themegallery.com Logo
สัญญาณไฟกับเลขฐานสอง (เลข 0 = ไม่มีไฟ และเลข 1 = มีไฟ) สัญญาณไฟกับเลขฐานสอง (เลข 0 = ไม่มีไฟ และเลข 1 = มีไฟ) www.themegallery.com Logo
1.2 คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ 1.2 คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญได้แก่ - การทำงานและผลลัพธ์มีความเชื่อถือได้(Reliability) - มีความรวดเร็วในการประมวลผล(Speed) - สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก(Storage Capacity) - เพิ่มผลผลิต (Productivity) - ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Making) - ช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจอีกด้วย (Cost Reduction) www.themegallery.com Logo
แสดงรหัส ASCII เลขฐานสอง 8 หลักที่ใช้แทนตัวอักษรและตัวเลข www.themegallery.com Logo
ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ www.themegallery.com Logo
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูง กว่า คอมพิวเตอร์แบบอื่น ดังนั้นจึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ สามารถคำนวนเลขที่มีจุดทศนิยม ด้วย ความเร็วสูงมาก ขนาดหลายร้อยล้านจำนวนต่อวินาที งานที่ให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำแค่ 1 วินาที ถ้าหากเอามาให้คนอย่างเราคิด อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าร้อยปี ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะที่ จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เมื่อต้องมีการคำนวนมากๆ อย่างเช่น งานวิเคราะห์ภาพถ่าย จาก ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา หรือดาวเทียมสำรวจทรัพยากร งานวิเคราะห์พยากรณ์อากาศ งานทำ แบบจำลองโมเลกุล ของสารเคมี งานวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร ที่ซับซ้อน คอมพิวเตอร์ ประเภทนี้ มีราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันประเทศไทย มีเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray YMP ใช้ในงานวิจัย อยู่ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สมรรถภาพสูง (HPCC) ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้ใช้เป็นนักวิจัยด้านวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ทั่ว ประเทศ บริษัทผู้ผลิตที่เด่นๆ ได้แก่ บริษัทเครย์ รีเสิร์ซ, บริษัท เอ็นอีซี เป็นต้น www.themegallery.com Logo
www.themegallery.com Logo
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เหมาะกับการใช้งาน ทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น งานธนาคาร ซึ่งต้องตรวจสอบบัญชีลูกค้าหลายคน งานของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ ที่ เก็บรายชื่อประชาชนประมาณ 60 ล้านคน พร้อมรายละเอียดต่างๆ งานจัดการบันทึกการส่งเงิน ของผู้ประกับตนหลายล้านคน ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน คอมพิวเตอร์ เมนเฟรม ที่มีชื่อเสียงมาก คือ เครื่องของบริษัท IBM www.themegallery.com Logo
มินิคอมพิวเตอร์ (Mini-Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ช้ากว่า และ ควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามจุดเด่นสำคัญ ของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็ คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม การใช้งานก็ไม่ต้องใช้ บุคลากรมากนัก นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่รู้ วิธีใช้มากกว่าด้วย เพราะเครื่องประเภทนี้ มีใช้ตามสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาหลายแห่ง มินิคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานหลากหลายประเภท คือใช้ได้ทั้งในงานวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม เครื่องที่มีใช้ตามหน่วยงานราชการระดับกรมส่วนใหญ่ มักจะเป็น เครื่องประเภทนี้ www.themegallery.com Logo
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro-Computer) เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและ ความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึง มักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC) ราคาถูก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียน สถานศึกษา และบ้านเรือน บริษัทที่ผลิต ไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือ บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ www.themegallery.com Logo
Notebook/Laptop ความต้องการใช้งานคอมพิวเตอร์ในทุก ๆ สถานที่นั้นทำให้มีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำพกติดตัวไปด้วย เรียกว่า Notebook หรือ Laptop ซึ่งมีประสิทธิภาพและการใช้งานเทียบเท่ากับระดับพีซี www.themegallery.com Logo
Handheld : Pocket PC / Palm คอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาให้สามารถใช้งานได้สะดวกมากขึ้น โดยการออกแบบในมีรูปแบบการใช้งานอยู่เพียงบนฝ่ามือเท่านั้น มีน้ำหนักเบา และพกพาสะดวก ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์แบบแฮนด์เฮลได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยบางรุ่นใช้กับโทรศัพท์มือถือ www.themegallery.com Logo
Tablet คอมพิวเตอร์ที่สามารถป้อนข้อมูลทางจอภาพได้ และสามารถใช้ซอฟต์แวร์ชนิดเดียวกันกับที่ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์แบบพีซีได้ www.themegallery.com Logo
เหตุผลที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากและเรียกใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการ สามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้มาประมวลผลในลักษณะต่างๆ ได้ตามต้องการ สามารถจัดทำเอกสารต่างได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบประมวลผลคำ ซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของระบบสำนักงานอัตโนมัติ
ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ (1/3) ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ (2/3) ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) ความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด หลายร้อยล้านคำสั่งต่อวินาที สร้างเพื่องานที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อนเช่น วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม วิเคราะห์ แบบจำลองโมเลกุล วิเคราะห์โครงสร้างอาคารที่ซับซ้อน ผู้ผลิตที่เด่นๆได้แก่บริษัท Cray Research และ NEC เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) ความสามารถในการทำงานสูง หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที ใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ที่เกี่ยวกับข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น งานธนาคาร สำนักงานทะเบียน ราษฎร์ สำนักงานประกันสังคม ผู้ผลิตที่เด่นๆได้แก่บริษัท IBM
ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ (3/3) มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกว่าเครื่องเมนเฟรมมาก ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีการใช้ข้อมูลร่วมกันไม่มากนัก ผู้ผลิตที่เด่นๆได้แก่บริษัท DEC, Unisys, NEC, … ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูก ผู้ผลิตที่เด่นๆมีมากมาย ได้แก่บริษัท IBM, HP, ACER, Macintosh, …
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ Hardware ส่วนประกอบทุกส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จับต้องได้ Software โปรแกรมหรือชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราไม่สามารถ มองเห็นหรือจับต้องได้ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ทำหน้าที่เป็นล่ามระหว่างคนกับเครื่องคอมฯ ให้สามารถเข้าใจกัน และทำ หน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมด เช่น Windows XP, MacOS และ Linux แอปพลิเคชั่น (Application) โปรแกรมการใช้งานต่าง ๆ เช่น MS Word, MS Excel, Photoshop เป็นต้น โปรแกรมเหล่านี้จะทำงานได้จะต้องติดตั้งภายใน ระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น Windows, Mac, Unix
ไมโครคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์อินพุท ส่วนที่รับข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผลกลาง (1/2)
หน่วยประมวลผลกลาง (2/2) ประกอบด้วยหน่วยย่อยต่างๆ ดังต่อไปนี้ หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit: ALU) หน่วยควบคุม (Control Unit)
หน่วยความจำ ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ มีทั้งแบบที่ใช้เก็บข้อมูลแบบถาวรและแบบที่ใช้เก็บข้อมูลแบบชั่วคราว หน่วยความจำเป็นส่วนที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ถ้า ไม่มีหน่วยความจำก็คงจะไม่สามารถบันทึกข้อมูลใดๆ ไว้ได้เลย เราแบ่งหน่วยความจำออกได้เป็น 2 ประเภทคือ หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำหลัก ROM เป็นหน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว ใช้เก็บข้อมูลแบบถาวร ไม่ต้องการพลังงานไฟฟ้าในการหล่อเลี้ยง ใช้เก็บโปรแกรมควบคุมการทำงานของระบบที่เรียกว่า ไบออส RAM เป็นหน่วยความจำที่ต้องการพลังงานไฟฟ้าในการทำงาน ข้อมูลในแรมจะสูญหายทันทีที่มีการปิดเครื่อง แรมจะทำงานร่วมกับซีพียู โดยซีพียูจะใช้แรมเป็นที่เก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อการประมวลผลในขณะนั้น
หน่วยความจำสำรอง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ แบบถาวร ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดีรอม
มาตราหน่วยนับของคอมพิวเตอร์ 8 บิต (Bit) = 1 ไบต์ (1 ตัวอักษร) 1024 ไบต์ = 1 กิโลไบต์ (KB) 1024 KB = 1 เมกกะไบต์ (MB) 1024 MB = 1 กิกะไบต์ (GB) 1024 GB = 1 เทระไบต์ (TB)
อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
พอร์ตคืออะไร พอร์ต เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างตัวคอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์ภายนอก
พอร์ตอนุกรม (Serial Port) - พอร์ตอนุกรมจะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ เพราะมีเข็มยื่น ออกมา) - พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เม้าส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น พอร์ตขนาน (Parallel Port) - พอร์ตขนานจะมีรู 25 รู (พอร์ตนี้จะเป็นตัวเมีย หมายถึงมีรูที่ตัวพอร์ต) - พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เทปไดร์ฟ สแกนเนอร์ - การส่งสัญญาณจะส่งได้เร็วกว่าพอร์ตอนุกรม
พอร์ต USB (Universal Serial Bus Port) -คอมพิวเตอร์ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB สามารถ หาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้ -เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร -พอร์ตชนิดใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป -เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ -การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้อง boot เครื่องใหม่ นอกจากพอร์ตอนุกรมและขนานแล้ว ยังมีพอร์ตอื่น ๆ อีกได้แก่ พอร์ตคีย์บอร์ด, พอร์ตเกมส์, พอร์ตจอ เป็นต้น
ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์มีรูปแบบการเชื่อมต่ออยู่ 3 มาตรฐานคือ E-IDE SCSI และล่าสุดก็คือ Serial ATA
ไดรฟ์อ่าน-เขียนแผ่นซีดี (CD-ROM/CD-RW Drive)
การ์ดแสดงผล (Graphic Card) การ์ดแสดงผลเป็นการ์ดที่ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูออกสู่จอภาพ ซึ่งอยู่ในรูปของข้อความและรูปภาพ
การ์ดเสียง (Sound Card) การ์ดเสียงเป็นอุปกรณ์ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถนำเสียงออกมาเล่นทางลำโพงได้
เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เพาเวอร์ซัพพลายทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในคอมพิวเตอร์
จอภาพ (Monitor) ปัจจุบันมีจอภาพ อยู่ 2 ชนิดคือ จอภาพ CRT(Cathode Ray Tube) และจอภาพแบบ LCD(Liquid Crystal Display) จอภาพแบบ LCD จอภาพแบบ CRT
คีย์บอร์ด (Keyboard) คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่เราใช้ในการป้อนข้อมูลต่างๆ เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะรับข้อมูลผ่านทางแป้นพิมพ์
เมาส์ (Mouse) เมาส์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเลื่อนตัวชี้ (มีสัญลักษณ์เป็นรูปลูกศร) ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ ทำให้เราเลือกคำสั่งและเปิดโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว
ประเภทของเครื่องพิมพ์ หลัก ๆ แบ่งได้ดังนี้ Dotmatrix เครื่องพิมพ์ที่ใช้หัวเข็มกระแทกผ้าหมึกลงบนกระดาษทำให้เกิดจุดสี Ink Jet เครื่องพิมพ์พ่นหมึกใช้วิธีพ่นหมึกลงบนกระดาษ สำหรับเครื่องพิมพ์สี จะใช้แม่สีในการพิมพ์ ได้แก่ สีฟ้า แดง เหลือง และดำ ผสมกันเพื่อสร้างสีต่าง ๆ Laser เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการยิงแสงเลเซอร์ ไปสร้างภาพบนกระดาษ ปัจจุบัน มีการพัฒนาความเร็วมากขึ้น ทำให้มากกว่า 20 หน้าต่อนาที สำหรับการพิมพ์ด้วยเลเซอร์สี นอกจากเครื่องพิมพ์ข้างต้นแล้ว ยังมีเครื่องพิมพ์ประเภทอื่น ๆ อีก เช่น Ploter, Line Printer ซึ่ง เป็นเครื่องพิมพ์ ทีใช้สำหรับงานขนาดใหญ่ โรงงาน และอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ