งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชา. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในชีวิตประจำวัน บทที่ 2

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชา. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในชีวิตประจำวัน บทที่ 2"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชา. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในชีวิตประจำวัน บทที่ 2
วิชา การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในชีวิตประจำวัน บทที่ 2 การใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ ผู้สอน อาจารย์กรรณิกา ทองพันธ์ อีเมล์

2 ระบบปฏิบัติการ ความหมายของระบบปฏิบัติการ หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์

3 การจัดการไฟล์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไฟล์และโฟลเดอร์
การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์

4 คอมพิวเตอร์ : องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ บุคลากร ข้อมูล

5 คอมพิวเตอร์ : องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

6 คอมพิวเตอร์ : องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เป็นลักษณะทางกายภายของเครื่องคอมพิวเตอร์ หมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้างที่เกี่ยวข้อง มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) หน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)

7 คอมพิวเตอร์ : องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) INPUT UNIT OUTPUT UNIT MEMORY SECONDARY STORAGE CENTRAL PROCESSING UNIT

8 คอมพิวเตอร์ : องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่างๆ ตามต้องการ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาใดภาษา หนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ หรือนักเขียนโปรแกรม เป็นผู้ใช้ ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้น ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

9 คอมพิวเตอร์ : องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
บุคคลากรทางคอมพิวเตอร์ (People ware) บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต่าง ๆ และผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้น ๆ ในปัจจุบันจะมีบุคลากรที่ทำงานด้าน คอมพิวเตอร์หลายตำแหน่งหลายหน้าที่ ซึ่งแต่ละหน่วยงานทางด้าน คอมพิวเตอร์ อาจแบ่งหน้าที่ของบุคลากรที่รับผิดชอบงานทางด้านคอมพิวเตอร์ ขึ้นอยู่กับลักษณะงานและขนาดของแต่ละกิจการ บุคลากรทางด้าน คอมพิวเตอร์นั้นมีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการ ทำงานต่าง ๆ นั้นจะต้องมีการจัดระบบจัดเตรียมซอฟท์แวร์และดำเนินการต่าง ๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ถ้าหากไม่ใช่ผู้มีความรู้ทางด้าน คอมพิวเตอร์

10 คอมพิวเตอร์ : องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
บุคคลากรทางคอมพิวเตอร์ (People ware) บุคลากรคอมพิวเตอร์ มีดังนี้ ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ (Computer Manager) พนักงานวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) พนักงานเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator) พนักงานควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) พนักงานซ่อมบำรุง (Maintenance Engineer)

11 คอมพิวเตอร์ : องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ข้อมูล (Data) ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับบุคคล สถานที่ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่ น่าสนใจ อาจเป็นตัวเลข ข้อความ หรือข้อความปนตัวเลข ข้อมูลอาจได้มาจาก การสังเกต การวัด การนับ การชั่ง หรือการตรวจ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ ข้อมูล ต้องเป็นจริงมากที่สุด ข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล คำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศ ตามที่ต้องการ ข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้คอมพิวเตอร์ เพราะถ้าฮาร์ดแวร์หรือ ซอฟท์แวร์เกิดเสียหายไปสามารถจัดซื้อมาใหม่ได้ แต่ถ้าข้อมูลและสารสนเทศ สูญหายแล้ว อาจจะทำให้หน่วยงานประสบกับปัญหาในการดำเนินงานได้

12 คอมพิวเตอร์ : หน้าที่ของคอมพิวเตอร์
การจัดเก็บข้อมูล : โครงสร้างของข้อมูล : โครงสร้างเชิงตรรกะ 1. บิต (Bit) บิต เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เล็กที่สุดที่เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จัก อยู่ในรูปของ สัญญาณไฟฟ้าประกอบด้วยเลข 0 กับ 1 ถ้าเป็นเลข 0 แสดงว่าไม่มีสัญญาณไฟฟ้า แต่ถ้าเป็น เลข 1 แสดงว่ามีสัญญาณไฟฟ้า 2. ไบต์ (Byte)  ไบต์ คือ กลุ่มของบิตที่เป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร 1 ตัว โดยปกติแล้ว 8 บิต คือ 1 ไบต์ หรือ 1 ตัวอักษร (Character) ดังนั้นตัวอักษร 1 ตัว อาจจะเรียกว่า 1 ไบต์ ก็ได้

13 คอมพิวเตอร์ : หน้าที่ของคอมพิวเตอร์
การจัดเก็บข้อมูล : โครงสร้างของข้อมูล : โครงสร้างเชิงตรรกะ 3. เขตข้อมูลหรือฟิลด์ (Field) เขตข้อมูลหรือฟิลด์ คือ หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักษรหลาย ๆ ตัวมารวมกัน เป็นคำที่มีความหมาย เช่น ฟิลด์ชื่อนักศึกษา ฟิลด์เงินเดือน ฟิลด์รหัสประจำตัวพนักงาน ฟิลด์คะแนนแต่ละวิชา เป็นต้น 4. ระเบียนหรือเรคคอร์ด (Record) ระเบียนหรือเรคคอร์ด คือ รายการข้อมูลแต่ละรายการประกอบไปด้วยฟิลด์ต่าง ๆ มา รวมกัน เช่น รายการข้อมูลของพนักงานแต่ละคน รายการของสินค้าแต่ละชิ้น รายการของ นักศึกษาแต่ละคน เป็นต้น

14 คอมพิวเตอร์ : หน้าที่ของคอมพิวเตอร์
การจัดเก็บข้อมูล : โครงสร้างของข้อมูล : โครงสร้างเชิงตรรกะ 5. แฟ้มข้อมูลหรือไฟล์ (File) แฟ้มข้อมูลหรือไฟล์ คือ กลุ่มของรายการข้อมูลที่เหมือนกันมารวมกัน เช่น แฟ้มเก็บ ข้อมูลนักศึกษา แฟ้มเก็บข้อมูลรายชื่อสินค้า แฟ้มเก็บข้อมูลรายชื่อหนังสือในห้องสมุด แฟ้ม เก็บข้อมูลประวัติพนักงานในบริษัท เป็นต้น      6. ฐานข้อมูล (Database) ฐานข้อมูล คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำแฟ้มข้อมูลหลาย ๆ แฟ้มข้อมูลที่มี ความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น ฐานข้อมูลในระบบทะเบียนนักศึกษา ประกอบด้วย แฟ้มข้อมูลรายวิชา แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลการลงทะเบียน และแฟ้มข้อมูลผลการ เรียน เป็นต้น

15 คอมพิวเตอร์ : หน้าที่ของคอมพิวเตอร์
การจัดเก็บข้อมูล : โครงสร้างของข้อมูล : โครงสร้างเชิงตรรกะ

16 คอมพิวเตอร์ : หน้าที่ของคอมพิวเตอร์
การจัดเก็บข้อมูล : หน่วยวัดความจุของข้อมูล

17 คอมพิวเตอร์ : หน้าที่ของคอมพิวเตอร์
การจัดเก็บข้อมูล : หน่วยวัดความจุของข้อมูล 1. บิต (bit) บิต เป็นหน่วยที่มีขนาดเล็กที่สุดโดยจะถูกด้วยเลขฐานสองคือ 0 กับ 1 2. ไบต์ (byte) ไบต์ โดย 1 ไบต์เท่ากับ 8 บิต จะใช้เเทนตัวอักษรใด ๆ เช่น พยัญชนะ ตัวเลข เป็นต้น 3. กิโลไบต์ (Kilobyte : KB) 1 กิโลไบต์ มีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ เทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1,000 ตัวหรือ ประมาณ 1 หน้ากระดาษ

18 คอมพิวเตอร์ : หน้าที่ของคอมพิวเตอร์
การจัดเก็บข้อมูล : หน่วยวัดความจุของข้อมูล 4. เมกะไบต์ (Megabyte : MB) 1 เมกะไบต์ มีค่าเท่ากับ 1,000 กิโลไบต์ หรือเทียบเท่า 1 ล้านไบต์ หรือประมาณหนังสือ 1 เล่ม 5. กิกะไบต์ (Gigabyte : GB) กิกะไบต์ ใช้สำหรับบอกความจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ DVD เป็นต้น โดยมีค่าประมาณ 1,000 เมกกะไบต์หรือเทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1 พันล้านตัวหรือหนังสือที่บรรจุอยู่ใน ตู้หนังสือ 1 ตู้

19 คอมพิวเตอร์ : หน้าที่ของคอมพิวเตอร์
การจัดเก็บข้อมูล : หน่วยวัดความจุของข้อมูล 6. เทราไบต์ (Terabyte : TB) เทราไบต์ เป็นหน่วยวัดที่มีขนาดใหญ่มาก ปัจจุบันมีเพียงอุปกรณ์จำพวกฮาร์ดดิสก์บาง รุ่นเท่านั้น โดยมีค่าประมาณ 1,000 กิกะไบต์ หรือเทียบเท่าตัวอักษร 1 ล้านล้านตัว หรือ หนังสือทั้งหมดที่ถูกบรรจุอยู่ในห้องสมุด 1 ห้อง 7. เพตาไบต์ (Petabyte : PB) เพตาไบต์ เป็นหน่วยความจุที่ใหญ่ที่สุด ยังไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน

20 ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
ความหมาย ระบบปฏิบัติการ หมายถึง ซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการเริ่มต้นระบบ คอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการประสานและเชื่อมโยงระหว่างฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ และผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้ งานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

21 ระบบปฏิบัติการ : หน้าที่
1. ช่วยจัดการกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการจะช่วยจัดการประสานการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จัดลำดับการทำงาน ตรวจสอบความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ เริ่มต้น (Boot) ทำงานในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2. ช่วยติดต่อกับผู้ใช้งาน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ สามารถสั่งการคอมพิวเตอร์โดยผ่าน “ส่วนติดต่อผู้ใช้” (User Interface) หรือที่ผู้ใช้เห็นในหน้าจอเป็นส่วนของกราฟิก (Graphic) ภาพ ไอคอน (Icon) หรือข้อความ ที่เรียกว่า GUI (Graphic User Interface)

22 ระบบปฏิบัติการ : หน้าที่
3. ช่วยจัดการการทำงานของซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ระบบปฏิบัติการจะช่วยโหลดการทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น เมื่อ ผู้ใช้ต้องการเปิดทั้งโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ดและโปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กซ์ เซล ระบบปฏิบัติการจะเรียกโปรแกรมนั้นขึ้นมา และจัดสรรการทำงานของ ซอฟท์แวร์ให้สามารถสลับกันทำงานได้ โดยที่ผู้ใช้งานจะไม่รู้สึกว่าการทำงานมี การสะดุด เนื่องจากระบบปฏิบัติการมีคุณสมบัติที่เรียกว่า มัลติทาส์กกิ้ง (Multitasking) เป็นความสามารถของระบบปฏิบัติการที่ทำให้คอมพิวเตอร์ ทำงานได้หลายอย่าง ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังมีอีกหนึ่ง คุณสมบัติเด่นที่เรียกว่า มัลติยูสเซอร์ (Multi Users) คือให้ผู้ใช้มากกว่าหนึ่งคน เข้าทำงานได้พร้อม ๆ กัน คือสามารถล๊อกอิน (Login) พร้อมกันหลายคนได้

23 ระบบปฏิบัติการวินโดวส์
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานมากที่สุดใน โลก ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) รวมทั้งได้มีการพัฒนาและ ปรับปรุงระบบปฏิบัติการวินโดวส์อยู่เสมอ โปรแกรมประยุกต์ส่วนใหญ่ถูก พัฒนาให้สามารถติดตั้งและทำงานได้ในระบบปฏิบัติการนี้มากกว่า ระบบปฏิบัติการอื่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ได้ออกมาหลายเวอร์ชั่น (Version) เช่น วินโดวส์มี (Windows Me) วินโดวส์เอ็กซ์พี (Windows XP) วินโดวส์วิสต้า (Window Vista) และปัจจุบันตัวที่ได้รับความนิยมคือ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 (Windows 7)

24 ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 ถือเป็นวินโดวส์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันของ บริษัทไมโครซอฟท์ เลข 7 มีความหมายเป็นนัยว่าวินโดวส์รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 7 ของ บริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งหากย้อนกลับไประบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่รู้จักและใช้ งานอย่างจริงจังคือ วินโดวส์ 3.11 (Windows 3.11) วินโดวส์ 95 (Windows 95) วินโดวส์ 98 (Windows 98) วินโดวส์ 2000 (Windows 2000) วินโดวส์มี (Windows Me) วินโดวส์เอ็กซ์พี (Windows XP) วินโดวส์วิสต้า (Windows Vista) และวินโดวส์ 7 (Windows 7) ซึ่งมาถึงเวอร์ชั่นที่เราจะได้เรียนรู้ คือ วินโดวส์ 7 ซึ่งมีรูปแบบพัฒนาการที่ต่อมาจากวินโดวส์วิสต้า ซึ่งในที่นี้จะเรียก ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ 7 อย่างสั้น ๆ ว่า “วินโดวส์ 7”

25 ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 : หน้าตา&องค์ประกอบ

26 ไฟล์และโฟลเดอร์ (File & Folder)
ไฟล์หรือแฟ้มข้อมูล คือ เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และเป็นสิ่งที่ใช้ สำหรับอ้างอิงข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บบันทึกลงดิสก์ ปกติการอ้างอิงไฟล์จะทำ โดยผ่านชื่อไฟล์และตามด้วยจุดนามสกุลของโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้น จำนวนของ ไฟล์จะขึ้นอยู่กับขนาดของไฟล์และดิสก์ ซึ่งปกติถ้าดิสก์มีขนาดใหญ่มากจะ สามารถเก็บไฟล์จำนวนมากได้ ตัวอย่างของไฟล์ ตัวอย่างชื่อของไฟล์ เช่น รายงาน.docx เป็นไฟล์ที่ชื่อ “รายงาน” จากโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด 2007

27 ไฟล์และโฟลเดอร์ (File & Folder)
โฟลเดอร์ เปรียบเสมือนกล่องใส่เอกสารที่ใช้เพื่อจัดกลุ่มของไฟล์ให้เป็น หมวดหมู่ และเพื่อความสะดวกในการค้นหาไฟล์ ภายในโฟลเดอร์สามารถสร้าง โฟลเดอร์ย่อยเพื่อจัดกลุ่มไฟล์ย่อย ๆ ลงไปอีกได้

28 ไฟล์และโฟลเดอร์ (File & Folder)
3. การวัดขนาดของไฟล์ (File Size) การวัดขนาดของไฟล์นิยมใช้หน่วยที่เป็นไบต์ (Byte) ซึ่งอาจเทียบได้กับ 1 ตัวอักษร และเพื่อความสะดวกสำหรับไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มาก จะเทียบหน่วยของ ไฟล์ที่เป็นไบต์ให้เป็นหน่วยที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ หน่วยวัด จำนวนตัวอักษร 1 Byte (ไบต์) 1 ตัวอักษร 1KB (กิโลไบต์) 1,024 Byte (ตัวอักษร) 1MB (เมกกะไบต์) 1,024 KB (กิโลไบต์) 1GB (กิกะไบต์) 1,024 MB (เมกกะไบต์) 1TB (เทราไบต์) 1,024 GB (กิกะไบต์)

29 ไฟล์และโฟลเดอร์ (File & Folder)
การตั้งชื่อไฟล์หรือโฟลเดอร์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (2553) ได้ให้หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อ ของไฟล์และโฟลเดอร์ ดังนี้ 1. ความยาวของชื่อไม่เกิน 256 ตัวอักษร ภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้ 2. ต้องไม่มีเครื่องหมายพิเศษเหล่านี้ \ ? : * “ < > | 3. สามารถใช้ช่องว่าง (Blank) ได้ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ดังนั้นควรใช้ เครื่องหมาย “_” (Underscore) แทนจะดีกว่า 4. จะตั้งชื่อซ้ำกับไฟล์หรือโฟลเดอร์ย่อยที่มีอยู่แล้วในโฟลเดอร์นั้นไม่ได้ แต่ถ้าสั่ง คัดลอก (Copy) แล้ววาง (Paste) ในโฟลเดอร์เดิม วินโดวส์จะเปลี่ยนชื่อไฟล์ที่ถูกวางใหม่โดย เติมคำว่า Copy of หน้าชื่อเดิมให้โดยอัตโนมัติ

30 ไฟล์และโฟลเดอร์ (File & Folder)
การตั้งชื่อไฟล์หรือโฟลเดอร์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (2553) ได้ให้หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อ ของไฟล์และโฟลเดอร์ ดังนี้ 1. ความยาวของชื่อไม่เกิน 256 ตัวอักษร ภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้ 2. ต้องไม่มีเครื่องหมายพิเศษเหล่านี้ \ ? : * “ < > | 3. สามารถใช้ช่องว่าง (Blank) ได้ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ดังนั้นควรใช้ เครื่องหมาย “_” (Underscore) แทนจะดีกว่า 4. จะตั้งชื่อซ้ำกับไฟล์หรือโฟลเดอร์ย่อยที่มีอยู่แล้วในโฟลเดอร์นั้นไม่ได้ แต่ถ้าสั่ง คัดลอก (Copy) แล้ววาง (Paste) ในโฟลเดอร์เดิม วินโดวส์จะเปลี่ยนชื่อไฟล์ที่ถูกวางใหม่โดย เติมคำว่า Copy of หน้าชื่อเดิมให้โดยอัตโนมัติ

31 ไฟล์และโฟลเดอร์ (File & Folder)
การดูคุณสมบัติของไฟล์ คลิกขวาที่ไฟล์ > Properties

32 ไฟล์และโฟลเดอร์ (File & Folder)
การแสดงนามสกุลของไฟล์ 1. คลิกปุ่ม “Organize” 2. คลิก “Folder and Search Option” 3. คลิกเพื่อเอาเครื่องหมาย  ออก หน้าคำว่า “Hide extensions for know file types” 4. คลิก “OK”

33 การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
การสร้างไฟล์ 1. การสร้างไฟล์ด้วยโปรแกรม การสร้างไฟล์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น การพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรม ไมโครซอฟท์เวิร์ด แล้วบันทึกไฟล์เก็บไว้ ก็จะได้ไฟล์เอกสารแบบ .doc หรือ .docx 2. การสร้างไฟล์ภาพด้วยโปรแกรม การสร้างไฟล์ภาพด้วยโปรแกรม เช่น วาดภาพด้วยโปรแกรม Paint หรือโปรแกรม Photoshop แล้วบันทึกเก็บไว้ ก็จะได้ไฟล์แบบ bmp, jpg หรือ gif เป็นต้น 3. การสร้างไฟล์ภาพจากอุปกรณ์ การสร้างไฟล์ภาพจากอุปกรณ์ เช่น อาจใช้กล้องดิจิตอลถ่ายภาพไว้ หรือใช้เครื่อง สแกนเนอร์ในการสแกนภาพหรือเอกสาร ก็จะได้ไฟล์ภาพแบบ .jpg เป็นต้น

34 การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
การสร้างโฟลเดอร์ วิธีที่ 1 เข้าไปยังตำแหน่งไดร์ฟ/โฟลเดอร์ ที่ต้องการสร้างโฟลเดอร์ > คลิกขวาบริเวณพื้นที่ว่าง > New > Folder วิธีที่ 2 คลิกปุ่ม “New Folder” ในตำแหน่งไดร์ฟ/โฟลเดอร์ ที่ต้องการสร้างโฟลเดอร์

35 การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
การเลือกไฟล์/โฟลเดอร์ 1. การเลือกไฟล์/โฟลเดอร์เดียว คลิกที่ไฟล์/โฟลเดอร์ ที่ต้องการ 2. การเลือกไฟล์/โฟลเดอร์ ทั้งหมด วิธีที่ 1 กด Ctrl + A วิธีที่ 2 ลากเมาส์คลุมไฟล์/โฟลเดอร์ทั้งหมด

36 การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
การเลือกไฟล์/โฟลเดอร์ การเลือกไฟล์/โฟลเดอร์ ครั้งละหลายไฟล์/โฟลเดอร์ กรณีไฟล์อยู่ต่อเนื่องหรือยู่ติดกัน คลิกที่ไฟล์แรกที่ต้องการ > กดแป้น Shift ค้างไว้ > คลิกที่ไฟล์สุดท้ายที่ต้องการ กรณีไฟล์อยู่ไม่ต่อเนื่องกัน คลิกที่ไฟล์แรกที่ต้องการ > กดแป้น Ctrl ค้างไว้ > คลิกไฟล์ที่ต้องการไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบ > ปล่อยแป้น Ctrl

37 การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
การเปลี่ยนชื่อไฟล์/โฟลเดอร์ วิธีที่ 1 คลิกขวาที่ไฟล์/โฟลเดอร์ที่ต้องการ > Rename วิธีที่ 2 คลิก 2 ครั้ง ที่ชื่อไฟล์/โฟลเดอร์ที่ต้องการ โดยเว้นระยะห่างในการคลิกพอสมควร วิธีที่ 3 คลิกที่ไฟล์/โฟลเดอร์ที่ต้องการ > กดแป้น F2

38 การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
การค้นหาไฟล์/โฟลเดอร์

39 การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
การย้ายไฟล์/โฟลเดอร์ เลือกไฟล์/โฟลเดอร์ที่ต้องการ > Cut > ไปตำแหน่งที่ต้องการย้าย > Paste การคัดลอกไฟล์/โฟลเดอร์ เลือกไฟล์/โฟลเดอร์ที่ต้องการ > Copy > ไปตำแหน่งที่ต้องการย้าย > Paste การลบไฟล์/โฟลเดอร์ การลบไฟล์ที่สามารถกู้คืนได้ เลือกไฟล์/โฟลเดอร์ที่ต้องการ > Delete การลบไฟล์แบบถาวร เลือกไฟล์/โฟลเดอร์ที่ต้องการ > Shift + Delete

40 การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
การกู้คืนไฟล์/โฟลเดอร์ ดับเบิลคลิกที่ไอคอน Recycle Bin > คลิกขวาที่ไฟล์ที่ต้องการกู้คืน > Restore


ดาวน์โหลด ppt วิชา. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในชีวิตประจำวัน บทที่ 2

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google