งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

2 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
หมายถึง การประยุกต์นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอน โดยมีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นเพื่อนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเสนอแบบติวเตอร์ (Tutorial) แบบจำลองสถานการณ์ (Simulations) หรือแบบการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) เป็นต้น การเสนอเนื้อหาดังกล่าวเป็นการเสนอโดยตรงไปยังผู้เรียนผ่านทางจอภาพหรือแป้นพิมพ์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม วัสดุทางการสอนคือโปรแกรมหรือ Courseware ซึ่งปกติจะถูกจัดเก็บไว้ในแผ่นดิสก์หรือหน่วยความจำของเครื่องพร้อมที่จะเรียกใช้ได้ตลอดเวลา

3 ขั้นตอนการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ขั้นตอนการวิเคราะห์ ขั้นออกแบบบทเรียน ขั้นตอนการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ขั้นประเมินผล ขั้นการนำไปใช้ ขั้นพัฒนาบทเรียน

4 ขั้นตอนการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analysis) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 1.  การกำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป    2.  การวิเคราะห์ผู้เรียน  3.  การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 4.  การวิเคราะห์เนื้อหา

5 ขั้นตอนการออกแบบ (Design) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 1
ขั้นตอนการออกแบบ (Design) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 1.  การออกแบบ Courseware  (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิง พฤติกรรม   เนื้อหา   แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test)  สื่อ  กิจกรรม  วิธีการ นำเสนอ  และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test) 2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่) 3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และ ส่วนประกอบอื่นๆ  สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้ 1.  การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution)  2.  การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ  3.  การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 4.  การกำหนดสี ได้แก่  สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background) , สีของส่วนอื่นๆ 5.  การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน

6 3. ขั้นพัฒนาบทเรียน (Development)
3.1 เขียนรายละเอียดเนื้อหาตามรูปแบบที่ได้กำหนด (Script Development) โดยเขียนเป็นกรอบ ๆ จะต้องเขียนไปตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยเฉพาะถ้าเป็น Interactive Multi Media : IMM จะต้องกำหนด ข้อความ ภาพ เสียง สี ฯลฯ ให้สมบูรณ์   จัดทำลำดับเนื้อหา (Storyboard Development) เป็นการนำเอากรอบ เนื้อหาหรือที่เขียนเป็น Script ไว้ มาเรียบเรียงลำดับการนำเสนอที่ได้วางแผนไว้  3.3 นำเนื้อหาที่ยังเป็นสิ่งพิมพ์นี้มาตรวจสอบหาค่าความถูกต้อง (Content Correctness) โดยเฉพาะการสร้าง IMMCI จะเป็นการเขียนตำราใหม่ทั้งเรื่อง  3.4 การสร้างแบบทดสอบส่วนต่าง ๆ ต้องนำมาหาค่าความยากง่าย อำนาจจำแนก ความเที่ยง และความเชื่อมั่นทุกแบบทดสอบ และต้องปรับปรุง ให้สมบูรณ์ ผลที่ได้ทั้งหมด ทั้งเนื้อหา และแบบทดสอบต่าง ๆ รวมกันจะเป็นตัว บทเรียน (Courseware)

7 ขั้นตอนการนำไปใช้ (Implement)
      การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่ม ตัวอย่างมาย  เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียน ในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะ นำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของ บทเรียน  และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความ เหมาะสมและประสิทธิภาพ

8 ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluate)
การประเมินการทำงานของบทเรียน ในส่วนของการ นำเสนอนั้นควรจะทำการประเมินก็คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ใน การออกแบบมาก่อนในการประเมินการทำงานของบทเรียน นั้น ผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจาก ที่ได้ทำการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว โดยผู้เรียน จะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะ ครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจาก ผู้เชี่ยวชาญ

9 จัดทำโดย นางสาวพจมาลย์ จูมาศ รหัสนักศึกษา นักศึกษาคณะครุศาสตร์ โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์


ดาวน์โหลด ppt คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google