สรุป การเมืองการปกครองท้องถิ่น ไทย POL 341 ผศ. ดร. ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
การปกครองท้องถิ่น การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การจัดตั้งรูปแบบการปกครองในระดับ ท้องถิ่น ซึ่งเกิดขึ้นจากการกระจายอำนาจของรัฐบาลกลาง โดยมีผลให้ องค์กรที่จัดตั้งนี้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่มีอำนาจอิสระบางส่วนในการ บริหารงาน เพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบต่อภารกิจต่างๆ ภายในขอบเขต พื้นที่ตามที่รัฐบาลกลางกำหนด
องค์ประกอบสำคัญของการ ปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่ ๑.องค์กรปกครองเหล่านั้นต้องมีอาณาเขตที่แน่นอน ชัดเจน (Area) ๒.องค์กรปกครองเหล่านั้นต้องมีอำนาจอิสระ (Autonomy) ๓.องค์กรปกครองเหล่านั้นต้องมีสิทธิตามที่กฎหมาย รับรอง ๔.องค์กรปกครองเหล่านั้นต้องเปิดโอกาสให้ประชาชน ในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองทั้งโดยตรง และโดยอ้อม ๕.องค์กรปกครองเหล่านั้นต้องมีองค์กรที่แน่นอนชัดเจน ในการบริหารจัดการงานของท้องถิ่น
หน้าที่ความรับผิดชอบของ หน่วยงาน การปกครองท้องถิ่น ๑. เป็นงานที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น และงานที่ เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในชีวิตความเป็นอยู่ของ ชุมชน ๒. เป็นงานที่เกี่ยวกับการป้องกันภัย รักษาความปลอดภัย ๓. เป็นงานที่เกี่ยวกับสวัสดิการสังคม ๔. เป็นงานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ของท้องถิ่น ๕. เป็นงานที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
รูปแบบขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ๑. แบบที่ประชุมเมือง (Town Meeting) หรือที่ประชุมเมืองที่ เป็นตัวแทน (Representative Town Meeting) ๒. แบบสภา - นายกเทศมนตรี (The Council – Mayor Form) ๓. แบบนายกเทศมนตรีอ่อนแอ (The Weak Mayor Form) ๔. แบบนายกเทศมนตรีเข้มแข็ง (The Strong Mayor Form) ๕. แบบคณะกรรมการ (The Commission Form) ๖. แบบผู้จัดการเมือง (The City Manager)
หน้าที่ความรับผิดชอบของ หน่วยงาน การปกครองท้องถิ่น ๑. เป็นงานที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น และงานที่ เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในชีวิตความเป็นอยู่ของ ชุมชน ๒. เป็นงานที่เกี่ยวกับการป้องกันภัย รักษาความปลอดภัย ๓. เป็นงานที่เกี่ยวกับสวัสดิการสังคม ๔. เป็นงานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ของท้องถิ่น ๕. เป็นงานที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
แนวคิดเกี่ยวกับหลักการจัด ระเบียบการปกครองประเทศ ๑.หลักการรวมอำนาจปกครอง (Centralization) ๒.หลักการแบ่งอำนาจปกครอง (Deconcentration) ๓.หลักการกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
ลักษณะสำคัญของหลักการกระจายอำนาจ ปกครอง ๑.มีการจัดตั้งองค์การขึ้นเป็นนิติบุคคล เพิ่มขึ้นจากส่วนกลาง ๒.มีการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นและผู้บริหาร ท้องถิ่นทั้งหมด ๓.มีอำนาจอิสระในการปกครองตนเองได้ ตามสมควร ๔.มีงบประมาณและรายได้เป็นของท้องถิ่น ๕.มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เป็นของท้องถิ่น ของตนเอง
การจัดระเบียบบริหารราชการ แผ่นดินของไทย ๑.การบริหารราชการส่วนกลาง สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับ กระทรวง ทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือ กระทรวง กรมหรือส่วนราชการ ๒.การบริหารราชการส่วนภูมิภาค จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ๓.การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
รูปแบบองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นไทย ๑.รูปแบบทั่วไป ๑. ๑ องค์การบริหารส่วน จังหวัด ๑. ๒ เทศบาล ๑. ๓ องค์การบริหารส่วน ตำบล ๒.รูปแบบพิเศษ ๒. ๑ กรุงเทพมหานคร ๒. ๒ เมืองพัทยา
แนวคิดว่าด้วยภารกิจหน้าที่ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑. ภารกิจหน้าที่ตาม บทบัญญัติในกฎหมาย ๒. ภารกิจหน้าที่ตามหลัก ความสามารถทั่วไป ๓. ภารกิจหน้าที่ตามที่ได้รับ มอบหมาย
อำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นของไทย
นวัตกรรมท้องถิ่น คำว่า “ นวัตกรรมท้องถิ่น ” แล้ว พบว่า คำว่า " นวัตกรรม " หรือ “ นวกรรม ” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "innovation" โดยคำว่า นวัตกรรมนี้ แปลตาม รากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเอง ที่ใหม่ ( เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. 2528) สรุปได้ว่า นวัตกรรม คือ “ สิ่งถูกทำให้เกิดขึ้นใหม่ หรือย้อนไปนำกลับมา ใช้ใหม่ หรือพัฒนาของเดิมให้ดีขึ้น โดยสิ่งใหม่นี้เป็นได้ทั้งความคิด วัตถุ โครงการ และแนวทางต่างๆ ”
ประเภทนวัตกรรมท้องถิ่น ประเภทแรก การเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน ประเภทที่สอง การบริหารงานทั่วไป ประเภทที่สาม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ประเภทที่สี่ การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชุมชน ประเภทที่ห้า การศึกษา ประเภทที่หก การสาธารณสุข ประเภทที่เจ็ด การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเภทที่แปด การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ประเภทที่เก้า การพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต - สวัสดิการสังคม ประเภทสุดท้าย การส่งเสริมวัฒนธรรมและกีฬา