องค์ประกอบฮาร์ดแวร์ คุณลักษณะเฉพาะของเครื่อง คอมพิวเตอร์ ทำงานได้ด้วยชุดคำสั่งหรือโปรแกรม สามารถจำข้อมูลหรือชุดคำสั่งได้ ทำงานได้อย่างถูกต้อง ทำงานได้อย่างรวดเร็ว
Hardware ส่วนต่างๆ ที่เป็นตัวเครื่องและประกอบ ขึ้นมาเป็นตัวเครื่องและหรือ ส่วนประกอบอื่นๆที่ใช้ในการทำงาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้ง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ทำงานร่วมกับ คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่ดังนี้ – จัดเตรียมข้อมูล (Data Preparation) – รับข้อมูลเข้าเครื่อง (Input Data to Computer) – ประมวลผลข้อมูล (Data Processing) – เก็บข้อมูลเสริม (Auxiliary memory or Secondary memory) – แสดงผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ (Output from Computer)
องค์ประกอบ Hardware ของ คอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit:CPU) หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit ) หมายถึง อุปกรณ์ (Device) ต่างๆ ที่ทำ หน้าที่รับข้อมูลจากภายนอกเข้าสู่เครื่อง คอมพิวเตอร์ ข้อมูลอาจจะหมายถึง ชุดคำสั่งหรือ โปรแกรม – อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ – อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์เตรียมข้อมูล บางอย่างต้องมีสื่อเพื่อใช้ในการบันทึก ข้อมูล เช่น เครื่องอ่านบัตร บางอย่างไม่ต้องมีสื่อ เช่น เครื่องวาดภาพ, แป้นพิมพ์ เป็นต้น
หน่วยแสดงผล (Output Unit) หมายถึง อุปกรณ์ (Device) ที่ทำหน้าที่ใน การแสดงผลข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ออกสู่ภายนอก อุปกรณ์แสดงผลได้แก่ จอภาพ, เครื่องพิมพ์, เทปกระดาษ เป็นต้น อุปกรณ์บางชนิดต้องมีสื่อบันทึกข้อมูล ประกอบการแสดงผล เช่น เครื่องพิมพ์, เครื่องวาดภาพ สื่อในการบันทึกได้แก่ กระดาษ, เทป แม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก เป็นต้น
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit :CPU) – ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลและควบคุม การทำงานต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่ง ออกเป็น 3 ส่วนคือ – หน่วยคำนวณ (Arithmetic and Logical Unit :ALU) – หน่วยควบคุม (Control Unit :CU) – รีจิสเตอร์ (Register)
องค์ประกอบ Software ของเครื่อง คอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกเก็บไว้ ในหน่วยความจำ กลุ่มของชุดคำสั่งบางที่เรียกว่า Program โดยจะมีระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ในการนำ Software เหล่านี้ไปไว้ในหน่วยความจำ
การใช้โปรแกรม Microsoft Word การเปิดโปรแกรม Microsoft Word การเปิดโปรแกรม MS Word นั้นสามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. คลิกที่ปุ่ม Start ( หมายเลข 1) 2. เลือกที่เมนู Programs จะปรากฏเมนูย่อยด้านขวาขึ้น 3. ในเครื่องบางเครื่องเราจะเห็นคำสั่ง Microsoft Word ที่เมนูในส่วนนี้เลย แต่ใน บางเครื่องอาจต้องเลือกเพื่อเข้าสู่เมนูในส่วนของ Microsoft Office ก่อนดังรูปข้างบน 4. คลิกที่คำสั่ง Microsoft Word หลังจากนั้นจะเข้าสู่โปรแกรม Microsoft Word ดังรูป รูป
การพิมพ์ข้อความ การพิมพ์ข้อความใน MS Word สามารถทำได้โดยการกดแป้นตัวอักษรที่ ต้องการ หลังจากนั้นตัวอักษรนั้นก็จะปรากฏบนจอภาพ การเลือกตัวอักษรภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ สามารถทำได้โดยการกดปุ่ม ซึ่งจะสลับการทำงานระหว่างภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ การบันทึกข้อมูล เมื่อพิมพ์ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว และต้องการบันทึกลงสู่ดิสก์สามารถทำได้ตาม ขั้นตอนต่อไปนี้
คลิกที่ปุ่มรูปดิสก์บริเวณ Toolbars ดังรูป ถ้าเป็นการบันทึกข้อมูลครั้งแรกจะปรากฏหน้าต่างดังรูป เลือกตำแหน่งของโฟลเดอร์ที่ต้องการบันทึกข้อมูล พิมพ์ชื่อไฟล์ที่ส่วนของ File name และคลิกที่ปุ่ม Save เพื่อบันทึก ข้อมูล
การใช้ MS Excel เบื้องต้น โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมหนึ่ง ที่ จัดอยู่ในชุด Microsoft Office โปรแกรม MS Excel มีชื่อเสียงในด้าน การคำนวณเกี่ยวกับ ตัวเลข และการทำบัญชี ต่าง ๆ การทำงานของ โปรแกรม ใช้ตารางตามแนวนอน (rows) และ แนวตั้ง (columns) เป็นหลัก ซึ่งเราเรียกโปรแกรม ในลักษณะนี้ว่าเป็น Spread Sheet. บางคนใช้โปรแกรม MS Excel สำหรับการพิมพ์ ตาราง การพิมพ์รายการสิ่งของต่าง ๆ ที่มีการรวม เงิน หรือตัวเลข หรือมีการคำนวนอย่างง่าย บางคน ใช้โปรแกรมนี้ เพื่อวิเคราะห์แบบสอบถาม หา ค่าเฉลี่ย และค่าสถิติต่าง ๆ เป็นต้น ในบทเรียนนี้ จะเป็นการสอนการใช้งานเบื้องต้น และถ้าได้รับการตอบรับอย่างดี อาจจะมีภาค 2 ซึ่ง เป็นการใช้งานที่ซับซ้อนขึ้น ตลอดจนการใช้ VBA เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรมให้มากขึ้น
ขั้นตอนการป้อนข้อมูลลงใน เซลล์ เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Microsoft Excel เริ่มป้อนข้อมูลในเซลล์ โดยการ เลือกเซลล์ที่ต้องการป้อนข้อมูล พิมพ์ข้อความลงไปในเซลล์ จะปรากฎใน เซลล์ทำงานและในแถบสูตรจะถือว่าสมบูรณ์ ข้อมูลอยู่ในเซลล์นั้นก็ต่อเมื่อมี การยืนยันโดยการกดแป้น Enter หรือคลิกที่เครื่องหมาย ถูกบนแถบสูตรหรือ เลื่อนตัวชี้เซลล์ไปเซลล์อื่น ขั้นตอนการป้อนข้อมูลลงในเซลล์ 1. เลือกเซลล์ที่ต้องการป้อนข้อมูลโดยการคลิกเมาส์เซลล์เป็น Active Cell 2. พิมพ์ข้อความในเซลล์
. กดแป้น Enter หรือคลิกที่ เครื่องหมายถูกในแถบสูตร ์เมื่อยืนยันข้อมูลใ้ห้สังเกตตัวชี้เซล์เมื่อกด Enter กับคลิกที่ที่เครื่องหมายถูกจะอยู่ที่เซลล์ต่างกันเมื่อกด Enter ตัวชี้เซลลืจะเลื่อนลงมา 1 บรรทัด ถ้าคลิกที่เครื่องหมายถูกจะอยู่ที่เซลล์เดิม
ขั้นตอนการคำนวณด้วยตาราง 1. การกำหนดเซลล์สำหรับเก็บผลสัพธ์โดยการเลื่อนตัวชี้เซลล์นั้นแล้วคลิก 2. ใส่สูตรเข้าในเซลล์สำหรับเก็บผลลัพธ์สูตรจะต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย = ลำดับความสำคัญของเครื่องหมายการคำนวณ ลำดับ เครื่องหมายชื่อเครื่องหมาย 1( )วงเล็บ 2^ยกกำลัง 3* และ /คูณและหาร 4+ และ -บวกและลบ หมายเหตุ การทำงานที่อยู่ในระดับเดียวกัน จะคำนวณจากซ้ายไปขวาตามลำดับ
ตัวอย่างการคำนวณ ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใส่สูตร 1. สูตรที่ใส่ในเซลล์จะปรากฎให้เห็นในแถบสูตร 2. ค่าที่เป็นผลลัพธ์ของสูตรจะปรากฎในเซลล์สำหรับเก็บผลลัพธ์ 3. กรณีที่มีนิพจน์หลายเครื่องหมายจะทำงานตามลำดับเครื่องหมาย