องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ( First Responder : FR) องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา
ความเป็นมาของชุดปฎิบัติการฉุกเฉิน คณะผู้บริหารองค์การส่วนตำบลข่วงเปาชุดปัจจุบันได้เล็งเห็นความสำคัญ ในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อน จากอุบัติเหตุและ เจ็บป่วยฉุกเฉินทั่วไป จึงได้คัดเลือกบุคคลเพื่อเป็นอาสาสมัครและส่ง อาสาสมัครที่ได้รับคัดเลือกเข้ารับอบรมในหลักสูตรการปฐมพยาบาล เบื้องต้น จำนวน 3 นาย จากนั้นจึงได้ คัดเลือกและส่งอาสาสมัครอีก จำนวน 5 นาย เข้าฝึกอบรม ปัจจุบันมี FR จำนวน 9 นาย ซึ่งมีจำนวน อาสาสมัครไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อวันที่ 23 เดือน กันยายน พ.ศ 2554 ทางองค์การบริหารส่วน ตำบลข่วงเปา ได้รับรถพยาบาลจากโรงพยาบาลจอมทอง จำนวน 1 คัน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินขั้นเบื้องต้น ( First Responder : FR) 1. เพื่อการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยที่ด้อยโอกาสหรือยากจน 2. เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุและประสบภัย ต่างๆในเบื้องต้นก่อน นำส่งสถานพยาบาล 3. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในพื้นที่ได้รู้จักที่จะ เสียสละประโยชน์สุขส่วนตัวและเพื่อสังคมส่วนรวม 4. เพื่อเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระหน้าที่เจ้าหน้าที่ ตำรวจในพื้นที่
ทีมงานชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน ปัจจุบัน FR สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา มีจำนวน 8 นายที่พร้อมออก ปฏิบัติหน้าที่
การปฏิบัติงานที่ผ่านมา FR องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาได้ออก ช่วยเหลือประชาชนที่เป็นผู้ป่วยจากอุบัติเหตุทางถนน และอื่นๆ รวมทั้งผู้ป่วยที่ ต้องการความช่วยเหลือให้นำส่งโรงพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ประสบการณ์การทำงาน
ประมวลภาพกิจกรรม
ปัญหาและอุปสรรค ปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมา FR องค์การบริหารส่วนตำบล ข่วงเปาได้ ประสบปัญหา กล่าวคือ รถไม่พร้อม อุปกรณ์กู้ชีพไม่ครบ ทีมงานไม่พร้อม
ความคาดหวังในอนาคต อยากให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายเล็งเห็นความสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ของ อาสาสมัคร FR ให้มากกว่านี้โดยเฉพาะจัดระบบทีมให้เป็นรูปแบบของ FR ให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น และควรเพิ่มจำนวนอาสาสมัครให้มากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ใน อนาคตทีม FR องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ต้องเป็นไปในแนวทางที่ดีขึ้น อย่างแน่นอน พัฒนาศักยภาพของพนักงานกู้ชีพกู้ภัยอย่างทั่วไป
แผนงานที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคต - สำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อระบบบริการแพทย์ฉุกเฉินระดับตำบล/อำเภอ - พัฒนาศักยภาพของพนักงานกู้ชีพกู้ภัยอย่างทั่วถึงและได้มาตรฐานส่งอบรมเพื่อเตรียม ความพร้อมเรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ เนื่องจากพื้นที่ในตำบลมีแม่น้ำขนาด ใหญ่ไหล่ผ่านหลายสาย มีน้ำตกขนาดใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง - ประชาสัมพันธ์งานระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ ประสานขอผู้มี อุปการคุณบริจาคเงินสมทบเพื่อสนับสนุนจัดซื้ออุปกรณ์ที่ขาดแคลนให้ทีมกู้ภัย - จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือทีมกู้ชีพกู้ภัย ให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นขวัญและ กำลังใจในกาปฏิบัติงาน