การใช้สื่อการสอน “วงจรบัญชี” การใช้สื่อการสอน “วงจรบัญชี” ประกอบการเรียนการสอนกระตุ้นให้นักศึกษา สนใจเรียนวิชาการบัญชีเบื้องต้น 2 ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อการสอน “วงจรบัญชี” ประกอบการเรียนการสอนกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจเรียนวิชาการบัญชีเบื้องต้น 2 เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการใช้สื่อการสอน “วงจรบัญชี” ประกอบการเรียนการสอนกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจเรียนวิชาการบัญชีเบื้องต้น 2
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น การใช้สื่อการสอน “วงจรบัญชี” ประกอบการเรียนการสอนวิชาการบัญชีเบื้องต้น 2 ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ตัวแปรตาม กระตุ้นให้นักศึกษาสนใจเรียนวิชาการบัญชีเบื้องต้น 2 พบว่า นักศึกษามีความสนใจในการเรียนรู้, กระตือรือร้นร่วมกิจกรรม, ทำให้เข้าใจในเนื้อหาบทเรียนจึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มมากขึ้น
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาวิชาการบัญชีเบื้องต้น 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ จำนวน 20 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 5 คน และหญิง 15 คน
ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล รายงานคะแนนสอบก่อนใช้และหลังใช้สื่อการสอน “วงจรบัญชี” แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการใช้สื่อการสอน “วงจรบัญชี”
สรุปผลการวิจัย พบว่า คะแนนจากการทดสอบครั้งที่ 1 ได้ผลรวมร้อยละ 52.90 และครั้งที่ 2 ได้ผลรวมร้อยละ 72.10 พบว่าค่าร้อยละที่เพิ่มมากขึ้น แสดงว่านักศึกษาสนใจเรียนเพิ่มมากขึ้นจากการใช้สื่อการสอน “วงจรบัญชี” ทำให้เข้าใจในเนื้อหาบทเรียนจึงสามารถทำคะแนนสอบได้เพิ่มขึ้น นักศึกษาทุกคนเห็นด้วยเกี่ยวกับความน่าสนใจในการใช้สื่อการสอน “วงจรบัญชี” ที่ใช้ในการเรียนการสอน, รูปแบบของสื่อการสอนเหมาะสมกับเนื้อหาในบทเรียน, นักศึกษาสนุกกับการเรียนโดยใช้การใช้สื่อการสอนมาประกอบการเรียนในบทเรียน
ผลกระทบที่เกิดขึ้น ในการนำสื่อการสอน “วงจรบัญชี” มาประกอบการเรียนการสอน อาจต้องเพิ่มรูปภาพประกอบและเสียงประกอบเพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจ และสนใจเพิ่มมากขึ้น
ข้อเสนอแนะการวิจัย 1. กลุ่มเป้าหมายอาจจะเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น และขยายระยะเวลาในการวิจัยให้มากขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลในด้านอื่น ๆ ด้วย 2. นอกจากเปรียบเทียบคะแนนทดสอบท้ายบทเรียนแล้วอาจจะดูจากคะแนนสอบกลางภาคและปลายภาคเปรียบเทียบกันเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมาย