ผู้วิจัย อาจารย์สมเกียรติ ขำสำราญ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักการตลาด ของ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบอภิปรายกลุ่มย่อยกับ การจัดการเรียนรู้แบบปกติ ผู้วิจัย อาจารย์สมเกียรติ ขำสำราญ
ปัญหาการวิจัย ในสภาพสังคมปัจจุบัน ประเทศไทยได้เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในด้านความเจริญ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นวัตกรรม เทคโนโลยี และวิทยาการใหม่ ๆอยู่ตลอดเวลา การจัดการศึกษาของประเทศไทยจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อสร้างศักยภาพของคนให้สามารถดำรงอยู่ในสังคมส่วนรวมได้ โดยการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษา เน้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติ ซึ่งการจัดการเรียนการสอน จะต้องมีการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ฝึกการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา
ปัญหาการวิจัย วิชาหลักการตลาด เป็นวิชาหนึ่งที่ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 จะต้องเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 จากประสบการณ์สอนที่ผ่านมาผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่ทางการตลาดและการวิเคราะห์ SWOT น้อยมาก ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจากผู้เรียนขาดการเรียนรู้ และไม่เข้าใจเนื้อหาวิชาหลักการตลาดในหน่วยการเรียนที่ 3 เรื่องหน้าที่ทางการตลาดและการวิเคราะห์ SWOT ได้มีการกล่าวถึงหน้าที่ทางการตลาดของธุรกิจ รวมถึงการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในแต่ละผลิตภัณฑ์และธุรกิจ ซึ่งหากผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี จะสามารถนำความรู้ที่ได้เป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาอื่น ๆ ต่อไป
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักการตลาด ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้แบบอภิปรายกลุ่มย่อยกับการจัดการเรียนรู้ตามปกติ 2. เพื่อจัดการเรียนรู้วิชาหลักการตลาด ที่สอดคล้องกับสภาพของผู้เรียนและสภาพสังคมในปัจจุบัน
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรตาม ตัวแปรต้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักการตลาด ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 การจัดการเรียนรู้แบบ อภิปรายกลุ่มย่อย
วิธีการดำเนินการวิจัย 1. ก่อนดำเนินการทดลองผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มเพื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2. ดำเนินการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักการตลาด 3. ดำเนินการทดลองโดยผู้วิจัย ปฏิบัติการสอนทั้งสองกลุ่มด้วยตนเองและใช้เนื้อหาอย่างเดียวกัน แต่วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนต่างกัน ใช้เวลาในการทดลองสอนกลุ่มละ 12 ชั่วโมง รวม 4 สัปดาห์ 4. เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐาน
ตารางแสดงผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง n ก่อนทดลอง หลังทดลอง ค่าเฉลี่ยของผลต่าง S.D. กลุ่มทดลอง 34 8.55 2.81 14.92 2.51 6.34 0.30 กลุ่มควบคุม 38 8.54 2.36 12.15 2.25 3.60 0.11
ตารางแสดงผลการวิจัย ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักการตลาดเรื่องหน้าที่ทางการตลาดและการวิเคราะห์ SWOT ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบปฏิบัติการ (การอภิปรายกลุ่มย่อย) กับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง n ของผลต่าง S.D. t Sig กลุ่มทดลอง 34 6.34 0.30 27.00* .00 กลุ่มควบคุม 38 3.60 0.11
สรุปผล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักการตลาด ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบปฏิบัติการ(อภิปรายกลุ่มย่อย)สูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นแสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการสอนสอนแบบปฏิบัติการ (อภิปรายกลุ่มย่อย) ดีกว่าการสอนแบบปกติซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่กำหนดไว้
ขอบคุณครับ