ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตัวกลางการสื่อสาร ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ความหมาย 1.แบบใช้สายสัญญาณ 2.แบบไร้สายสัญญาณ ตัวกลางของการสื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ให้ข้อมูลเดินทางผ่าน จากผู้ส่งไปสู่ผู้รับ การวัดปริมาณหรือความจุในการนำข้อมูลเรียกว่า “แบนด์วิดธ์ (bandwidth)” มีหน่วยเป็นบิตต่อวินาที ตัวกลางในการสื่อสารแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้ 1.แบบใช้สายสัญญาณ 2.แบบไร้สายสัญญาณ
แบบใช้สายสัญญาณ 1) แบบสายคู่บิดเกลียว สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair : TP) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว เพื่อลดผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถใช้ส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วมากกว่า 1 กิกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร สายคู่บิดเกลียวมี 2 ชนิด คือ 1.สายคู่บิดเกลียวแบบป้องกันสัญญาณรบกวน 2.สายคู่บิดเกลียวแบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน
แบบใช้สายสัญญาณ 1.1) แบบสายคู่บิดเกลียวแบบป้องกันสัญญาณรบกวน Shielded Twisted Pair : STP เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยลวดถักชั้นนอกอีกชั้นเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้น จึงนิยมใช้ในสถานที่ที่มีสัญญาณรบกวนสูง สายแบบนี้จะไม่นิยมใช้ทั่วไปเพราะมีราคาแพง
แบบใช้สายสัญญาณ 1.2) แบบสายคู่บิดเกลียวแบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน Unshielded Twisted Pair : UTP เป็นสายคู่บิดเกลียวที่ไม่มีลวดถักชั้นนอก ทำให้สะดวกในการเดินสายเพราะโค้งงอได้ดี แต่การป้องกันสัญญาณรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะต่ำกว่าชนิดแระ ราคาถูก ทำให้เป็นที่นิยมในการใช้เชื่อมต่อสัญญาณ นิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่ายทั่วไป
แบบใช้สายสัญญาณ 2) สายโคแอกซ์ หรือสายแกนร่วม (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณที่มีสายทองแดงเดี่ยวเป็นแกนกลางหุ้มด้วยฉนวนเพื่อป้องกันไฟรั่ว จากนั้นหุ้มด้วยลวดทองแดงถักเป็นร่วงแหล้อมรอบ และหุ้มชั้นนอกด้วยพลาสติก สายโคแอกซ์ที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น สายอากาศโทรทัศน์ เป็นต้น
แบบใช้สายสัญญาณ 3) สายไฟเบอร์ออปติก หรือสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber optic Cable) ทำจากแก้วหรือพลาสติกที่มีความบริสุทธิ์สูง ใช้แสงในการสื่อสารข้อมูลทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถรบกวนได้ สามารถส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก และใช้ได้ในระยะทางไกลถึงหลายกิโลเมตร และเกิดความผิดพลาดในการส่งข้อมูลต่ำ แต่มีราคาแพงมาก
แบบไร้สายสัญญาณ ตัวกลางนำสัญญาณไร้สาย 1.คลื่นวิทยุ (Radio Wave) อาศัยการส่งสัญญาณไปกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำสัญญาณไร้สาย หรือที่เรามักเรียกกันว่า Wireless โดยมีวิธีการส่งสัญญาณหลายวิธี ที่ไม่เหมือนกัน ช่วยคลื่นที่นิยมใช้กัน มีดังนี้ 1.คลื่นวิทยุ (Radio Wave) 2.คลื่นไมโครเวฟ (Microware) 3.คลื่นอินฟราเรด (Infrared)
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์มีหลากหลายแบบด้วยกันตามลักษณะของการใช้งาน เช่น การเชื่อมต่อแลน การเชื่อมต่อแมน และแวน ซึ่งจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สนับสนุนในการเชื่อมต่อในแต่ละแบบ เช่น
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1.โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ได้ การเชื่อมต่อใช้วิธีการหมุนโทรศัพท์ติดต่อไปยังผู้ใช้บริการ เราเรียกกันว่า Dial-Up ที่มีความเร็วต่ำอยู่ที่ไม่เกิน 56 Kbps นอกจากนี้ยังมีระบบโมเด็มความเร็วสูงหรือที่เรียกกันว่า ADSL ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงตั้งแต่ 128 Kbps ขึ้นไปในการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2.การ์ดแลน (LAN Card) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับสายนำสัญญาณ การ์ดแลนทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับและส่งข้อมูลกับระบบเครือข่ายได้ ปัจจุบันจะมี 2 ลักษณะ คือ การ์ดแลนสำหรับต่อสาย UTP และสายโทรศัพท์ กับแบบรับสัญญาณไร้สาย หรือที่เราเรียกกันว่า Wireless LAN
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3.ฮับ/สวิตซ์ (Hub/Switch) เป็นอุปกรณ์ตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย โดยจะเป็นตัวช่วยขยายสัญญาณให้ระบบเครือข่ายมีช่องรับสัญญาณที่มากขึ้น
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 4.เราเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายเข้าไว้ด้วยกัน เราเตอร์จะมีข้อมูลเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายแต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง แล้วทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทางเพื่อติดต่อไปยังจุดหมายปลายทางได้รวดเร็ว
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 5.การเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Access Point) ทำหน้าที่คล้ายๆ กับฮับแต่ใช้สำหรับเชื่อต่อระหว่างอุปกรณ์แบบไร้สาย ซึ่งข้อมูลจะผ่านทางคลื่นวิทยุความถี่สูง