“การศึกษาประสิทธิภาพบทเรียนบนเว็บในการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยทฤษฎีทางเทคโนโลยีการศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (E-learning) วิชาหลักการตลาด ของนักศึกษาคู่ขนาน ระดับชั้น ปวส.” นางนริสรา คลองขุด
ปัญหาการวิจัย เทคโนโลยีทุกวันนี้ทำให้การติดต่อสื่อสารสะดวกรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร หรือระบบสารสนเทศต่างๆ ซึ่งมีบทบาทต่อการดำเนินงานในสาขาวิชาต่างๆ โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจ และการจัดการศึกษา ซึ่งในวงการศึกษานี้ได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอน ในการจัดการเรียนการสอนคู่ขนาน เป็นการจัดการศึกษารูปแบบหนึ่งที่จัดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีในโรงเรียน (Theory Learning) ควบคู่ไปกับการฝึกงาน (Practical Training) ในสถานประกอบการ เพื่อเสริมสร้างให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการทำงาน และมีทักษะในการปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น และเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานประกอบอาชีพแก่นักศึกษา ดังนั้น ผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา และต้องการให้นักศึกษาคู่ขนานได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ในขณะออกฝึกปฏิบัติงานในสถานประการ ซึ่งนักศึกษาไม่สามารถเรียนกับผู้สอนได้ จึงสนใจที่จะพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บในรายวิชา หลักการตลาด รหัสวิชา 3200 – 1005 ซึ่งเป็นวิชาหนึ่งที่นักศึกษาคู่ขนานต้องเรียน
วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ (E-Learning) วิชาหลักการตลาดให้กับนักศึกษาคู่ขนานได้ศึกษา และการให้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบนักศึกษาที่เรียนบนเว็บ (กลุ่มที่ 1 นักศึกษาที่เรียนปกติโดยมีอาจารย์ควบคุม) กับ (กลุ่มที่ 2 นักศึกษาคู่ขนาน โดยศึกษาด้วยตนเอง) 3. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคู่ขนานจากการเรียน บทเรียนบนเว็บ วิชา หลักการตลาด รหัสวิชา 3200 – 1005 ในภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2553
กรอบแนวคิด
ตารางผังสรุปผล
ตารางผังสรุปผล
สรุปผลการวิจัย ผลการหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน E-learning วิชาหลักการตลาด มีประสิทธิภาพ (E1 : E2) เท่ากับ 90.95 : 89.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80 : 80 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตรทางสถิติ Pooled Variances Independent Samples t-test คำนวณได้ค่า t เท่ากับ 2.65 และค่า t-test ที่ได้จากการเปิดตารางเท่ากับ 1.69 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาคู่ขนานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงกว่านักศึกษาภาคปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย 1. ทำให้ได้บทเรียน E-learning วิชาหลักการตลาด รหัสวิชา 3200 - 1005 เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน 2. เป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนาบทเรียน E-learning ในรายวิชาอื่นๆ ต่อไป