วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ การใช้แบบฝึกทักษะความรู้พื้นฐานด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการเขียนจดหมายโต้ตอบของนักศึกษาระดับชั้น ปวช.3/2 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ อัมพวัน ศรีบัวนำ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
ความสำคัญของปัญหา รายวิชา การเขียนจดหมายโต้ตอบ รหัส 2000-1241 เป็นวิชาพื้นฐานที่นักศึกษาระดับ ปวช.3 ทุกคนต้องเรียน ในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นผู้สอนในรายวิชานี้ ปัญหาสำคัญที่ผู้วิจัยพบคือ นักศึกษาแต่ละคนมีพื้นฐานด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษไม่เท่าเทียมกันในแต่ละกลุ่มเรียนสามารถแบ่งนักศึกษาได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีความรู้พื้นฐานด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษปานกลาง และกลุ่มที่มีความรู้พื้นฐานด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษน้อย กลุ่มนักศึกษาที่มีความรู้พื้นฐานด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษมากกว่าจะสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจในบทเรียนได้เร็วกว่า ในขณะที่นักศึกษาที่มีความรู้ด้านไวยากรณ์น้อยกว่าจะเข้าใจในบทเรียนได้ช้ากว่า และไม่กล้าซักถามอาจารย์ผู้สอนเมื่อไม่เข้าใจ ทำให้รู้สึกว่าตนเองไม่พร้อมเกิดความรู้สึกไม่อยากเรียน เหตุผลนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้นักศึกษาได้คะแนนสอบไม่ดีเท่าที่ควร
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับชั้น ปวช.3/2 ในรายวิชาการเขียนจดหมายโต้ตอบ โดยใช้แบบฝึก ทักษะ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับชั้น ปวช.3/2 ที่มี ต่อการใช้แบบฝึกทักษะไวยากรณ์ ในรายวิชาการเขียน จดหมายโต้ตอบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ความพึงพอใจของนักศึกษา กรอบแนวคิดการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ฝึกทักษะความรู้พื้นฐานด้าน ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ความพึงพอใจของนักศึกษา
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การเตรียมสถานที่และเครื่องมือ สถานที่ ที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ ห้องเรียนรายวิชาการเขียนจดหมายโต้ตอบ ซึ่งเป็นประชากรที่ ใช้ในการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวนทั้งสิ้น 15 คน ครูทดสอบความรู้พื้นฐานด้านไวยากรณ์ของนักศึกษาก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบ ครูดำเนินการใช้แบบฝึกทักษะ ควบคู่กับการเรียนการสอนใน ห้องเรียน หลังจากการเรียนในชุดฝึกทักษะเรียบร้อยแล้วครูให้ นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียน แล้วนักศึกษาร่วมกันเฉลยซึ่ง เป็นการประเมินความรู้และเป็นการทบทวนความรู้ ความเข้าใจของ นักศึกษาแต่ละคนด้วย ให้นักศึกษาทำแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อการ เรียนโดยใช้ฝึกทักษะ
วิธีดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการหาคุณภาพเครื่องมือ และ วิเคราะห์ข้อมูล ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ ด้วยสถิติการทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะ โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ที่เรียนรายวิชาการเขียนจดหมายโต้ตอบ โดยใช้แบบฝึกทักษะไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ผลการทดสอบความรู้ทางด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องไวยากรณ์ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังจากเรียนโดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผลการวิจัย ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ ผลวิเคราะห์ความพึงพอใจ ของนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง ปวช. 3/2 จำนวน 15 คน ผู้วิจัยพบว่านักศึกษาเกิดความพึงพอใจในการสอนเสริมด้าน ไวยากรณ์ที่สอดคล้องกับการเรียน อยู่ในเกณฑ์สูงมาก โดยค่าเฉลี่ยสูงถึง 4.46 ทำให้นักศึกษามีความมั่นใจในการเรียนมากขึ้น เมื่อพิจารณาเป็นราย ข้อ พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุดในด้าน นักศึกษาคิดว่าหลัง เรียนไวยากรณ์อังกฤษ นักศึกษาชอบวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น ค่าเฉลี่ย 4.60 รองลงมาได้แก่ นักศึกษาคิดว่าการเรียนไวยากรณ์อังกฤษมีประโยชน์ ต่อการเรียนวิชาการเขียนจดหมายโต้ตอบ ค่าเฉลี่ย 4.53 นักศึกษาคิดว่า หลังจากที่เรียนไวยากรณ์อังกฤษแล้ว นักศึกษามีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น ค่าเฉลี่ย 4.46 นักศึกษาสามารถเรียนวิชาภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้น ค่าเฉลี่ย 4.40 และนักศึกษาคิดว่าควรเรียนไวยากรณ์อังกฤษก่อนเรียนวิชา ภาษาอังกฤษ ค่าเฉลี่ย 4.33 ตามลำดับ