ใช้เกมพัฒนาทักษะการพิมพ์สัมผัส ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 ผู้วิจัย นางสาวสุภาภักดิ์ แก้วศรีมล สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู www.mbk.ac.th
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วิชาพิมพ์ดีดเป็นวิชาหนึ่งที่ผู้เรียนต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ ทักษะจะเกิดขึ้นได้ด้วยการเรียนรู้และการกระทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ และสม่ำเสมอ มีเทคนิคที่ถูกต้อง เช่นท่านั่ง การวางนิ้ว การสืบนิ้ว ขึ้นลง ทั้งนี้เพื่อสร้างพื้นฐานทักษะการพิมพ์ดีดที่ดี และเป็นพื้นฐานในการผลิตเอกสาร และการพิมพ์คอมพิวเตอร์ได้ ผู้วิจัยได้สังเกตเห็นว่านักเรียนมีทักษะด้านการพิมพ์ดีด ทั้งในเรื่องพิมพ์เร็วและความแม่นยำลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ (มาตรฐานพิมพ์ดีดไทย 35 คำต่อนาที, พิมพ์ดีดอังกฤษ 40 คำต่อนาที) และการพิมพ์งานขั้นผลิตรูปแบบ ขนาด แบบฟอร์มไม่ได้มาตรฐาน ใช้เวลาพิมพ์นาน (มาตรฐานจดหมาย 1 ฉบับใช้เวลาพิมพ์ประมาณ 15-20 นาที) และพบว่า นักเรียนไม่ให้ความสำคัญต่อการเรียนวิชาพิมพ์ดีด ไม่มั่นใจในการฝึกทักษะการพิมพ์ ทำให้พิมพ์ช้า มองแป้นพิมพ์ เกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียน จึงส่งผลให้นักเรียนสอบไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ เหตุผลดังกล่าว ได้จัดทำวิจัยชั้น เรื่อง “การใช้เกมพัฒนาทักษะการพิมพ์สัมผัส “ เพื่อฝึกฝนให้นักเรียนสามารถพิมพ์สัมผัสเกิดทักษะการพิมพ์เร็วและถูกต้อง
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะการพิมพ์สัมผัส และได้เรียนรู้โปรแกรมหลากหลาย สามารถพิมพ์สัมผัสได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1. โปรแกรมเกมฝึกพิมพ์สัมผัส 2. แบบทดสอบจับเวลา 3. แบบบันทึกการพิมพ์สัมผัส
นำแบบทดสอบให้กลุ่มตัวอย่างทำการทดสอบ มาบันทึกในแบบบันทึกการพิมพ์สัมผัส ตาม เกณฑ์คะแนน ที่ครูกำหนด คือ คำสุทธิ คะแนน 40 ขึ้นไป 10 38-39 9 36-37 8 34-35 7 32-33 6 30-31 5 28-29 4 26-27 3 24-25 2 20-23 1
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล นักเรียนที่รับการทดสอบก่อนใช้เกมฝึกทักษะการพิมพ์ ทดสอบจับเวลา 1, 3 และ 5 นาที นักเรียนจำนวน 34 คน โดยพบว่า มีนักเรียนมีสถิติความเร็วในการจับเวลาต่ำ มีคะแนนรวม อยู่ที่ระหว่าง 3,4,5 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน นักเรียนทดสอบหลังเรียนใช้เกมฝึกพิมพ์สัมผัส ทดสอบจับเวลา 1, 3 และ 5 นาที นักเรียนจำนวน 34 คนพบว่า มีนักเรียนมีสถิติความเร็วในการจับเวลาสูงขึ้น มีคะแนนรวม อยู่ที่ระหว่าง 30,29,28,27,26, 25, 24, 23,22,20 คะแนน มีคะแนนต่ำสุด 16 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน จะเห็นได้ว่านักเรียนมีการพัฒนาทักษะการพิมพ์สัมผัสสูงขึ้นเพราะนักเรียนมีความสนใจกระตือรือร้นในการฝึกทักษะการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนทำให้นักเรียนไม่เบื่อ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นตามลำดับ
สรุปผลการวิจัย เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียน ใช้เกมพัฒนาทักษะการพิมพ์สัมผัส คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน รวม 215 756 6.32 22.24 S.D 1.92 4.33
สรุปผลการวิจัย สรุปผลการวิเคราะห์ได้ว่า สื่อหรือวิธีสอนหรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ครูใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทำให้มีการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นจริง ทำให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนการสอนมากขึ้นไม่เกิดการเบื่อหน่าย กระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนและทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากยิ่งขึ้น จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการคะแนนทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน การใช้เกมพัฒนาทักษะการพิมพ์สัมผัส ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 หลังจากใช้เกมฝึกพิมพ์สัมผัส นักเรียนพัฒนาทักษะด้านการพิมพ์สัมผัส แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย 1. นักเรียนมีทักษะการพิมพ์สัมผัสมากยิ่งขึ้น 2. เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาการ เรียนการสอน วิชาพิมพ์ดีดไทยด้วยคอมพิวเตอร์ 2 และเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนวิชาอื่น ๆ 3. ช่วยพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น
ขอบคุณค่ะ