ชื่อเรื่อง. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพิมพ์ดีดไทย 1 ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพิมพ์ดีดไทย 1 โดยใช้เทคนิคการสร้างทักษะ 4 ขั้นตอน นักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยี สยามบริหารธุรกิจ ชื่อผู้วิจัย นางธนพร รอดประเสริฐ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
ปัญหาการวิจัย พบว่านักศึกษาขาดทักษะในการพัฒนาความเร็วและความแม่นยำในการพิมพ์
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ใน รายวิชาพิมพ์ดีดไทย 1 2. เพื่อพัฒนาเทคนิคการจัดกิจกรรมในรายวิชาพิมพ์ดีดไทย 1 3. เพื่อให้นักเรียนเกิดความพึงพอใจในการเรียนวิชา พิมพ์ดีดไทย 1
ก่อนเรียน ด้านเทคนิคในการเรียนการสอน S.D. ระดับความคิดเห็น S.D. ระดับความคิดเห็น 1. กิจกรรมการใช้นิ้วอย่างถูกต้อง 3.64 0.69 เห็นด้วยมาก 2. กิจกรรมปิดตาฝึกพิมพ์สัมผัส 3.83 0.92 3. กิจกรรมให้จังหวะการพิมพ์ 3.61 0.97 4. กิจกรรมการพิมพ์แบบบันได 5 ขั้น 3.53 0.88 รวม 3.65 0.86 เห็นด้วยมาก
หลังเรียน ด้านเทคนิคในการเรียนการสอน S.D. ระดับความคิดเห็น S.D. ระดับความคิดเห็น 1. กิจกรรมการใช้นิ้วอย่างถูกต้อง 4.13 0.83 เห็นด้วยมาก 2. กิจกรรมปิดตาฝึกพิมพ์สัมผัส 4.16 0.79 3. กิจกรรมให้จังหวะการพิมพ์ 4.01 0.85 4. กิจกรรมการพิมพ์แบบบันได 5 ขั้น 4.24 0.75 รวม 4.14 0.81 เห็นด้วยมาก
อา ฟ ห ก ส ด ว
สรุปผลการวิจัย 1. จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ ด้านเพศ เพศหญิง จำนวน 72 คน ร้อยละ 60 เพศชาย จำนวน 48 คน ร้อยละ 40 ด้านสาขา สาขาบัญชี จำนวน 41 คน ร้อยละ 34.2 สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก จำนวน 28 คน ร้อยละ 23.3 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 24 คน ร้อยละ 20 สาขาการขาย จำนวน 12 คน ร้อยละ 10 สาขาภาษาต่างประเทศ จำนวน 8 คน ร้อยละ 6.7 สาขาท่องเที่ยว จำนวน 7 คน ร้อยละ 5.8 ตามลำดับ
2. การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน โดยสร้างทักษะการพิมพ์ดีด 4 ด้าน (ก่อนเรียน) พบว่า กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมปิดตาฝึกพิมพ์สัมผัส โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 รองลงมาคือ กิจกรรมการใช้นิ้วอย่างถูกต้อง กิจกรรมให้จังหวะการพิมพ์ และกิจกรรมการพิมพ์แบบบันได 5 ขั้น โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.64, 3.61 และ 3.53 ตามลำดับ
3. การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน โดยสร้างทักษะการพิมพ์ดีด 4 ด้าน (หลังเรียน) พบว่า กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมการพิมพ์แบบบันได 5 ขั้น โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 รองลงมาคือ กิจกรรมปิดตาฝึกพิมพ์สัมผัส การใช้นิ้วอย่างถูกต้อง และกิจกรรมให้จังหวะการพิมพ์ โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16, 4.13 และ 4.01 ตามลำดับ