พฤติกรรมผู้เรียน การเป็นพลเมืองไทยพลโลก วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ นางสอางค์ แจ่มถาวร วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
ปัญหาการวิจัย การที่จะปลูกฝังและส่งเสริมให้เยาวชนมีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีนั้น สถานศึกษามีหน้าที่และบทบาทโดยตรงที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพื่อปลูกฝังคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีที่พึงปรารถนาตามความต้องการของสังคม สถานศึกษาเป็นเสมือนสถานที่สำหรับเตรียมเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นคนดีของสังคมในอนาคต ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2555 เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มาตรฐานที่ 6 ด้านการปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ซึ่งเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์
ปัญหาการวิจัย (ต่อ) ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ (สอศ. 2555) จากมาตรฐานอาชีวศึกษา และข้อมูลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญพฤติกรรมของผู้เรียน ด้านการเป็นพลเมืองไทย พลเมืองโลก และสนใจศึกษา เรื่องศึกษาพฤติกรรม การเป็นพลเมืองไทยพลเมืองโลก ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นแนวทางการพัฒนาพฤติกรรม การเป็นพลเมืองไทยพลเมืองโลก
วัตถุประสงค์งานวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้เรียนการเป็นพลเมืองไทยพลโลก ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียนการเป็นพลเมืองไทยพลเมืองโลก ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
ตารางสรุปสำคัญ ผลการศึกษาพฤติกรรมผู้เรียนการเป็นพลเมืองไทยพลโลกของนักศึกษา รายการประเมิน ค่าเฉลี่ย ระดับความคิดเห็น 1. ด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม 4.33 ดี 2. ด้านการปลูกฝังจิตสำนึก การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4.28 3. ด้านการกีฬาและนันทนาการ 4.22
ตารางสรุปสำคัญ ผลการศึกษาพฤติกรรมผู้เรียนการเป็นพลเมืองไทยพลโลกของนักศึกษา รายการประเมิน ค่าเฉลี่ย ระดับความคิดเห็น 4. การปลูกฝังจิตสำนึกด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4.06 ดี เฉลี่ยรวม 4.25
สรุปผลการวิจัย สภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีจำนวน 525 คน เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 63.23 และเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 38.66 ส่วนใหญ่มีอายุ ระหว่าง 15-17 ปี คิดเป็นร้อยละ 51.23กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ปวช.1 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 32 และมีผู้ปกครองประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 50.85
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) การศึกษาพฤติกรรมผู้เรียนการเป็นพลเมืองไทยพลโลกของนักศึกษา พฤติกรรมผู้เรียนการเป็นพลเมืองไทยพลโลกของนักศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.62)
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) ข้อเสนอแนะ ควรทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรม การเป็นพลเมืองไทย พลโลกของนักศึกษา เพื่อส่งเสริมในด้านการทำงานจะต้องวางแผนในการทำงานร่วมกันระดมความคิดร่วมกันและต้องช่วยเหลืออย่างตั้งใจจริงจังไม่หลีกเลี่ยงหรือทำแบบอย่างเอาเปรียบผู้อื่น ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้ 1. ควรศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล พฤติกรรม การเป็นพลเมืองไทย พลโลกของนักศึกษา 2. ควรศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรม การเป็นพลเมืองไทย พลโลกของนักศึกษา ระหว่างช่วงชั้นอายุ
ขอบคุณค่ะ