ชื่อเรื่อง การแก้ปัญหานักศึกษาสอบไม่ผ่านเกณฑ์ในรายวิชา โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึ่มของนักศึกษาปวส. 1/2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาบริหารธุรกิจสงขลา โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ ชื่อผู้วิจัย อาจารย์เยาวเรศ อนันต์ ตำแหน่ง ครูผู้สอน สถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาบริหารธุรกิจวิทยาสงขลา
ปัญหาการวิจัย เนื่องจากนักศึกษาสอบไม่ผ่านเกณฑ์ ส่วนใหญ่จะขาดแรงจูงใจในการเรียน และไม่กล้าที่จะซักถามผู้สอนหรือเพื่อน ซึ่งผู้สอนมีความประสงค์จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนและแก้ปัญหาการสอบไม่ผ่านเกณฑ์ของนักศึกษา รวมถึงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาให้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อแก้ปัญหาการสอบไม่ผ่านเกณฑ์ของนักศึกษา โดยวิธีการเรียนการสอนแบบร่วมมือ 2. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึ่ม
ตารางแสดงคะแนนทดสอบย่อยก่อนและหลังเรียนแบบร่วมมือของนักศึกษาระดับชั้นปวส.1/2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ รายวิชา โครงสร้างข้อมูลอัลกอริทึ่ม ภาคเรียนที่ 1/2555
ผลการวิเคราะห์ จากตารางแสดงให้เห็นว่า นักศึกษา มีคะแนนทดสอบผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 71.43 จากเดิม ร้อยละ 21.43 แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนแบบร่วมมือ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาดีขึ้น
สรุปผลการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึ่ม ของนักศึกษาปวส.1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม พบว่าการทำแบบทดสอบก่อนเรียน คือ 6.43 คิดเป็นร้อยละ 21.43 โดยใช้วิธีแบบร่วมมือ คิดค่าเฉลี่ยเป็น 12.71 คิดเป็นร้อยละ 71.43 จะเห็นได้ว่านักศึกษา มีการพัฒนาการทำงานมากขึ้นคิดค่าเฉลี่ยเป็น 6.28 คิดเป็นร้อยละ 50
อภิปรายผลการวิจัย จากการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึ่ม เรื่อง สแตกและคิว ของนักศึกษาปวส.1/2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สามารถอภิปรายผลได้ดังต่อไปนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึ่ม เรื่องสแตกและคิวของนักศึกษาปวส.1/2 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมากกว่าร้อยละ 60 ได้แก่ 85.71
อภิปรายผลการวิจัย(ต่อ) การที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สแตกและคิว ของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผู้วิจัยมีความเห็นว่าวิธีการเรียนที่มีเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของผู้เรียน มีการสร้างบรรยากาศที่แปลกใหม่ในห้องเรียน ช่วยเหลือผู้เรียนที่อ่อนซึ่งโดยทั่วไปมักจะไม่ค่อยกล้าถามผู้สอน เพราะเกรงว่าจะถูกดุหรืออายเพื่อนว่าจะเป็นตัวตลก แต่ในกิจกรรมการจัดเรียนแบบร่วมมือนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่เรียนอ่อนสามารถถามเพื่อนที่เรียนเก่งกว่าได้ ขณะเดียวกันนักศึกษาที่เรียนเก่งกว่า รู้สึกเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันที่จะต้องช่วยเพื่อนให้เข้าใจบทเรียนมากขึ้น ผลจากการเรียนแบบร่วมมือจึงทำให้นักศึกษาแต่ละคนมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน จนสามารถมีความรู้เพิ่มขึ้นได้ด้วยตนเองส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น