เรื่อง การใช้ภาษาในการพูด ผู้สอน ครูณรงค์ฤทธิ์ ศักดารณรงค์ วิชาภาษาไทย ท42101 เรื่อง การใช้ภาษาในการพูด ผู้สอน ครูณรงค์ฤทธิ์ ศักดารณรงค์ ครูเชี่ยวชาญ คศ.4
การใช้ภาษาในการพูด การพูดเป็นทักษะที่จำเป็น การใช้ภาษาในการพูดต้องคำนึงถึงโอกาสของการพูดนั้น ๆ เช่น การพูดอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ การฝึกทักษะการพูดจะทำให้เกิดความชำนาญและมีความมั่นใจ
ความหมายของการพูด การพูดหมายถึงการสื่อความหมายโดยใช้เสียง ภาษา อากัปกิริยาเพื่อถ่ายทอดความประสงค์ ความรู้ ความคิด และความรู้สึกไปสู่ผู้ฟัง
ปากเป็นเอกเลขเป็นโทโบราณว่า หนังสือตรีมีปัญญา ไม่เสียหาย ถึงรู้มากไม่มีปากลำบากตาย มีอุบายพูดไม่เป็นเห็นป่วยการ
บทร้อยกรองนี้ แสดงความสำคัญของการพูด คือ การพูดเป็นทักษะที่จำเป็น ต้องใช้ในชีวิตประจำวันควบคู่กับการฟัง การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
การพูดต้องมีความรู้และแสดงออกอย่างเหมาะสม นอกจากบทร้อยกรองนี้แล้ว ยังมีคำพังเพย สุภาษิตและบทร้อยกรองอื่น ๆ กล่าวถึงความสำคัญของการพูดอย่างมากมาย
ประเภทของการพูด การพูดระหว่างบุคคล การพูดระหว่างกลุ่ม การพูดต่อชุมชน 1. การพูดระหว่างบุคคล 2. การพูดระหว่างกลุ่ม 3. การพูดต่อชุมชน
การทักทาย การปราศรัย การแนะนำตนเอง การสัมมนา การพูดระหว่างบุคคล 1. การทักทาย 2. การปราศรัย 3. การแนะนำตนเอง 4. การสัมมนา
การพูดที่ดี ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ภาษาเป็นอย่างดี จึงจะประสบความสำเร็จ การศึกษาวิวัฒนาการภาษาไทย เพื่อใช้ถ้อยคำ สำนวนโวหารให้ถูกต้องเหมาะสม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
สิ่งสำคัญ ต้องทำความเข้าใจว่าภาษา มีการเปลี่ยนแปลง หยิบยืมซึ่งกันและกัน ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทยมีจำนวนมาก เนื่องด้วย อิทธิพลด้านการศึกษา ศาสนา ภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เป็นต้น
การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย ทำให้ภาษาไทยมีคำใช้มากขึ้นและสื่อสารได้กว้างขวางมากขึ้น วิธีการที่ทำให้คำต่าง ๆ ผสมผสานกับภาษาไทยอย่างกลมกลืน ถือเป็นความเจริญงอกงามของภาษาไทย
สรุปได้ว่าภาษาเหมือนสิ่งมีชีวิต ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงทำให้ภาษาไทยส่วนใหญ่เป็นภาษา คำโดดพยางค์เดียว มีพยางค์เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีคำหลายพยางค์มากขึ้น
ธรรมชาติของภาษา ย่อมมีการแลก เปลี่ยน หยิบยืมทางภาษา เพราะ เหตุว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีการ ติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน ทั้งในเชิงธุรกิจระหว่างประเทศ เชิงสังคมและวัฒนธรรม
เครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารได้แก่ ภาษา เพราะเป็นสื่อกลาง เพื่อให้เข้าใจกัน การใช้ภาษาโดยเฉพาะการพูดจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
การรับคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย มี 3 ลักษณะ คือ 1. รับเฉพาะคำที่จำเป็นไม่มีใช้ในภาษาไทย 2. รับคำมาเสริมแต่งให้ไพเราะสละสลวย โดยเฉพาะคำประพันธ์หรือภาษาเฉพาะกิจสาขาใดสาขาหนึ่ง
3. รับคำมาเกินความจำเป็น เช่น คำที่มีใช้อยู่แล้วในภาษาไทย การใช้คำภาษาต่างประเทศปะปนภาษาไทย เป็นต้น
สาเหตุภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย เช่น อิทธิพลด้านภูมิศาสตร์ ได้แก่ อาณาเขตติดต่อกัน เห็นได้จากภาษาจีน พม่า เขมร ลาว มาเลเซีย เป็นต้น
อิทธิพลด้านศาสนา เช่น ภาษาบาลีเข้ามาทางพุทธศาสนา นิกายหินยาน ภาษาสันสกฤตเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์ รวมทั้งอิทธิพลทางภาษาและวรรณคดี เช่น ภาษาชวา บาลี สันสกฤตและอังกฤษ เป็นต้น