วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ การศึกษาผลของการเสริมแรงทางบวก โดยใช้กิจกรรมดาวแห่งความดี เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของนักศึกษาระดับชั้น ปวช. และ ปวส. โรงเรียนพณิชยการเชียงใหม่ นางสินีนาถ ศรีพงษ์คำ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
ปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ นักศึกษาระดับ ปวช. ที่เข้ามาศึกษาในโรงเรียนพณิชยการเชียงใหม่ทุกปีการศึกษา พบว่าส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะมีบทลงโทษแก่นักศึกษาที่มีพฤติกรรมดังกล่าว แต่ก็ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักศึกษาได้ ทางแผนกวิชาพื้นฐานได้ศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษาดังกล่าว พบว่า สาเหตุเกิดจากทางโรงเรียนขาดการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่นักศึกษาในเชิงบวกและเป็นรูปธรรม ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการเสริมแรงเชิงบวกโดยใช้สมุดดาวแห่งความดี เป็นแรงกระตุ้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษาในหลาย ๆ ด้าน วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการเสริมแรงทางบวก โดยใช้กิจกรรมดาวแห่งความดี เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของนักศึกษาระดับชั้น ปวช. และ ปวส. โรงเรียนพณิชยการเชียงใหม่
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษาระดับ ปวช. จำนวน 417 คน และนักศึกษาระดับ ปวส. จำนวน 236 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ สมุดสติ๊กเกอร์ดาวแห่งความดี และแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเสริมแรงทางบวก โดยใช้สมุดสติ๊กเกอร์ดาวแห่งความดี
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบบันทึกสถิติการสะสมสติ๊กเกอร์ดาวแห่งความดีเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เก็บรวบรวมสมุดดาวแห่งความดีทุกระดับชั้นในสัปดาห์ที่ 13 บันทึกจำนวนสติ๊กเกอร์ในแต่ละด้านลงในแบบบันทึกสถิติของนักศึกษารายบุคคล แจกแบบบันทึกสถิติให้อาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรับทราบผลการประเมินและแจ้งนักศึกษา นักศึกษาที่ไม่ผ่านการประเมิน ให้เข้าทำกิจกรรมซ่อมเสริม ตรวจสอบการซ่อมเสริมของนักศึกษา ใช้แบบบันทึกคะแนนสมุดดาวแห่งความดี แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรม ใช้แบบสอบถามประเมินผลความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการจัดกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละเปรียบเทียบผลการพัฒนาพฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละด้านในแต่ละระดับชั้น
ความคิดเห็นของนักศึกษา สรุปผลการวิจัย ความคิดเห็นของนักศึกษา จากการสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่ากิจกรรมดังกล่าวมีประโยชน์ คือส่งเสริมให้นักศึกษามีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมาโรงเรียนทันเวลามากขึ้น ร้อยละ 75.4 ทำให้นักศึกษามีความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่ยอมรับต่อสังคม คิดเป็นร้อยละ 72.0 ส่งเสริมให้นักศึกษามีความอ่อนน้อมถ่อมตน คิดเป็นร้อยละ 70.8 ปลูกฝังให้นักศึกษาเสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยจิตอาสา ร้อยละ 70.2 ส่งเสริมให้นักศึกษาแต่งกายถูกระเบียบ ร้อยละ 70 และปลูกฝังให้นักศึกษาเป็นผู้มีความซื่อสัตย์ต่อการกระทำของตนเอง ร้อยละ 67.0 และนักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมดาวแห่งความดี ร้อยละ 58.5
ความคิดเห็นของบุคลากร สรุปผลการวิจัย ความคิดเห็นของบุคลากร จากการสอบถามอาจารย์ผู้สอน พบว่า อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่าหลังจากใช้กิจกรรมดาวแห่งความดี นักศึกษามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคือ นักศึกษามีความอ่อนน้อม ถ่อมตน รู้รักทำความเคารพมากขึ้น ร้อยละ 72.8 นักศึกษาแต่งกายเรียบร้อยมากขึ้น ร้อยละ 71.2 จำนวนนักศึกษามาสายลดลง ร้อยละ 70 นักศึกษามีน้ำใจ รู้จักเสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น ร้อยละ 69.4 และมีความเห็นว่าสมุดดาวแห่งความดี ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับนักศึกษาในการประพฤติ ปฏิบัติตนอยู่ร่วมกับสังคม ร้อยละ 74.4 สร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ร้อยละ 73.8 สามารถแก้ไขพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของนักศึกษาให้ดีขึ้น ร้อยละ 73.4 ทำให้นักศึกษามีความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นที่ยอมรับของสังคม ร้อยละ 71.6 และอาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกิจกรรมดาวแห่งความดี ร้อยละ 97.2 และเห็นควรให้จัดทำกิจกรรมนี้ในปีต่อไป คิดเป็นร้อยละ 97.2
ภาพประกอบ
ภาพประกอบ