พระราชบัญญัติการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ความเป็นมา พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๔๙๘ กฎหมายก้าวไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสาร กระแสปฏิรูปสื่อตั้งแต่หลังปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เจตนารมณ์ตามมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ การปฏิรูประบบกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของสื่อวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเดิมถูกถือครอง โดยรัฐและใช้ประโยชน์โดยภาคธุรกิจ ด้วยการกำหนดให้คลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์เป็นทรัพยากรสาธารณะ ซึ่งต้องถูกจัดสรรเพื่อประโยชน์สาธารณะใน ด้านต่างๆ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และการกำหนดให้มีองค์กรอิสระเพื่อ ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุ โทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม
ความเป็นมา (ต่อ) การปฏิรูปสื่อตามเจตนารมณ์ มาตรา ๔๐ รัฐธรรมนูญปี ๔๐ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
ความเป็นมา (ต่อ) กระบวนการร่างกฎหมายการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ เริ่มต้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ก่อนที่จะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๕ มี.ค. ๒๕๕๑) กว่า ๑ ทศวรรษกับความพยายามและการปะทะกันของกลุ่มที่ถือครองและได้ ประโยชน์จากกฎหมายฉบับเก่า กับกลุ่มก้าวหน้าที่ต้องการผลักดันกฎหมายให้ สอดคล้องกับเจตนารมณ์ปฏิรูปสื่อของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๔๐ จนกระทั่งภายหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ร่างพระราชบัญญัติฯ ก็สามารถเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้ ด้วยแรงผลักดันจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
หลักการและเหตุผล คือ การจัดระบบสื่อภาครัฐ ภาคเอกชน และสื่อชุมชน การใช้เครื่องมือ สื่อสารของรัฐเพื่อให้บริการสาธารณะและเกิดประโยชน์ต่อการศึกษาทาง การเมืองแก่ประชาชน โดยสาระสำคัญของกฎหมายของอยู่ที่การจัดแบ่ง ประเภทการประกอบกิจการเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ กิจการที่ใช้คลื่นความถี่ กิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ที่ต้องขอรับการจัดสรรตามพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่ฯ
สาระสำคัญ กำหนดให้มีบริการสาธารณะแทนบริการของรัฐ การปฏิรูประบบกรรมสิทธิ์ ความเป็นเจ้าของคลื่นความถี่จากเดิมที่ถือครองโดยหน่วยงานรัฐทั้งหมด ไปสู่การกระจายตามประเภทการประกอบกิจการที่เป็นอยู่จริงในสังคม ไม่ว่า จะเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในเชิงพาณิชย์ กิจการภาคชุมชนที่ต้องการใช้ คลื่นความถี่เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน รวมถึงการเปิดโอกาสให้ภาค ประชาสังคมรวมตัวกันเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ การกำหนดให้บริการสาธารณะส่วนใหญ่และบริการชุมชนไม่มีโฆษณา และ การกำหนดประเภทการประกอบกิจการในภาคธุรกิจเอกชนเป็นระดับชาติ ระดับภาค และระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมมากขึ้น
สาระสำคัญ ในส่วนของเนื้อหารายการ กิจการประเภทต่างๆ ที่ประสงค์จะขอใบอนุญาต จะต้องนำเสนอประเภทรายการให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนด คือ ใน ประเภทกิจการบริการสาธารณะและกิจการบริการชุมชนต้องมีรายการ ประเภทข่าวสาร และสารประโยชน์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ ขณะที่กิจการทาง ธุรกิจกำหนดประเภทรายการข่าวสารและสาระประโยชน์ร้อยละ ๒๕ มีบทบัญญัติป้องกันการผูกขาดหรือครอบงำกิจการ มาตรการส่งเสริมและ ควบคุมจริยธรรมแห่งวิชาชีพ การส่งเสริมและพัฒนากิจการ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และการกำกับดูแลการประกอบกิจการ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
สาระสำคัญ การให้อำนาจ กทช. ในการสั่งระงับรายการโดยทันทีด้วยวาจาขณะกำลัง ออกอากาศอยู่ หรือการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการ กสทช. ใช้ดุลยพินิจ ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆ จำนวนมาก โดยขาดการนำเสนอ หลักการของกฎหมายไว้อย่างชัดเจน บางหน่วยงานหรือกลุ่มบุคคลได้ประโยชน์จากการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะในส่วนของบริการสาธารณะประเภทกิจการที่มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ ซึ่งเป็นบริการ สาธารณะเพียงประเภทเดียวที่สามารถหารายได้โดยการโฆษณาได้
สาระสำคัญ การกำหนดอายุใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงมีอายุไม่เกิน ๗ ปี และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์มีอายุไม่เกิน ๑๕ ปี อาจส่งผลเสียต่อ การกำกับดูแลการประกอบกิจการมากกว่าผลดีที่จะได้รับ ในการคำนึงถึง แนวทางการพัฒนากิจการ ความเสมอภาคในการแข่งขัน เนื่องจากจะไม่ ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขต่างๆ ในช่วง เวลาที่ใบอนุญาตยังมีอายุอยู่