ผู้วิจัย : ว่าที่ร้อยโทนรินทร์ ดารุณศิลป์ ชื่อเรื่อง : การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู วิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านจั่น จังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัย : ว่าที่ร้อยโทนรินทร์ ดารุณศิลป์ สังกัด : วิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านจั่น ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ปัญหาการวิจัย ครูเอกชนส่วนใหญ่จะมีปัญหาในด้านความไม่มั่นคงในอาชีพ เมื่อเทียบกับครูโรงเรียนรัฐบาลหรืองานราชการอื่นๆ การที่จะยึดเหนี่ยวและสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้แก่ครูในสถานศึกษาเอกชนอย่างมั่นคงถาวรและให้ได้ผลดียิ่งนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างแรงจูงใจและแสวงหาวิธีการที่จะเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและตรงตามสภาพความต้องการพื้นฐานที่จําเป็นของครูเพื่อให้ครูเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน และเกิดความภูมิใจในอาชีพ ซึ่งจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถด้วยความเต็มใจ อีกทั้งสถานศึกษายังสามารถรักษาบุคลากรครูที่ดีเอาไว้ได้ จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทำให้ผู้ศึกษาสนใจศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูวิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านจั่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โดยยึดทฤษฎีปัจจัยคู่(Two-factor theory) ของเฮิร์ซเบิร์ก เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูวิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านจั่น เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและการกำหนดนโยบายในการปฏิบัติงานของครูได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าของสถานศึกษา อีกทั้งสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงาน
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูวิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านจั่น 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูวิทยาลัยเทคโนโลยี บ้านจั่น จําแนกตาม เพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และระดับรายได้
ตารางสรุป
ตารางสรุป (ต่อ)
สรุปผลการวิจัย 1. ครูวิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านจั่น ส่วนใหญ่ เป็นหญิง อายุ 41 ปีขึ้นไป มีประสบการณ์การ ปฏิบัติงาน 11 ปีขึ้นไป และมีระดับรายได้ระหว่าง 7,000 – 10,000 บาท 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูวิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านจั่น แยกเป็น2 องค์ประกอบ 2.1 องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยจูงใจ พบว่า ครูวิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านจั่นส่วนใหญ่ มีแรงจูงใจในการทำงานอยู่ในระดับมาก 2.2 องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยค้ำจุน พบว่า ครูวิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านจั่นส่วนใหญ่ มีแรงจูงใจในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง 3. เปรียบเทียบระดับแรงจูงใจของครูวิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านจั่น พบว่า ครูที่มีเพศต่างกัน มีอายุต่างกัน มีประสบการณ์การปฏิบัติงานต่างกัน มีรายได้ต่างกัน จะมีแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน
...ขอบพระคุณครับ...