งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่ง ของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาเอก The e-Learning Readiness of PhD. Nursing Students ดร. เจือจันทน์ วัฒกีเจริญ มหาวิทยาลัย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่ง ของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาเอก The e-Learning Readiness of PhD. Nursing Students ดร. เจือจันทน์ วัฒกีเจริญ มหาวิทยาลัย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่ง ของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาเอก The e-Learning Readiness of PhD. Nursing Students ดร. เจือจันทน์ วัฒกีเจริญ มหาวิทยาลัย คริสเตียน รศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

2 ปัญหาวิจัย การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บได้มีเพิ่มขึ้นอย่างมากในสถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะในส่วนของการศึกษาของพยาบาลที่มีการใช้อีเลิร์นนิ่งเข้ามาช่วยในการเรียนการสอนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา (Barker, K. and others, 2013) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลได้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา มหาวิทยาลัยคริสเตียนได้จัดเตรียมระบบอีเลิร์นนิ่งให้กับนักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสื่อเสริม ซึ่งนักศึกษาเองก็ต้องมีความพร้อมในการที่จะเรียนรู้จากอีเลิร์นนิ่ง การวิจัยครั้งนี้จะช่วยให้ทราบว่านักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาเอกมีความพร้อมด้านใดที่จะเรียนรู้ด้วยอีเลิร์นนิ่ง

3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1 เพื่อศึกษาความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่ง ของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาเอกมหาวิทยาลัย คริสเตียน 2 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาเอกต่างชั้นปี ต่างอายุ ต่างเพศและต่างประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์

4 การทบทวนวรรณกรรม สิ่งหนึ่งที่หน่วยงานทางการศึกษาจะต้องให้คำสำคัญคือ ความพร้อมของนักศึกษาในการเรียนรู้ผ่านสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นกระบวนการแรกที่จะต้องทำความเข้าใจผู้เรียน การประเมินความพร้อมของผู้เข้าสู่ระบบอีเลิร์นนิ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น (Aydin and Tasci, 2005) มีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลสนับสนุนการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่งเช่น ปัจจัยสำคัญของความพร้อมทางด้านอีเลิร์นนิ่งก็คือ การเตรียมความพร้อมให้นักเรียน , การเตรียมความพร้อมให้กับครู, โครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที, การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร, วัฒนธรรมโรงเรียน และความชอบที่จะพบกันแบบเห็นหน้า (So and Swatman, 2006) สิ่งสำคัญก่อนที่จะส่งนักศึกษาเข้าเรียนรู้ด้วยตนเองในระบบอีเลิร์นนิ่งคือ ความพร้อมที่จะเข้าไปเรียนรู้และใช้ประโยชน์ ถ้านักศึกษาขาดความพร้อมก็จะทำให้การเรียนรู้ของนักศึกษาไม่ประสบความสำเร็จ

5 สมมุติฐานการวิจัย นักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาเอกที่เรียน
ต่างชั้นปี ต่างอายุ ต่างเพศ และต่างประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์จะมีความ พร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่ง แตกต่างกัน

6 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาเอก จำนวน 16 คนทุกชั้นปี ปีการศึกษา 2556 ใน 6 ชั้นปีจำนวนทั้งสิ้น 16 คนได้แก่ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 จำนวน 9 คน นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 4 คน นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3-6 จำนวน 3 คน

7 เครื่องมือ แบบประเมินความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่ง (Watkins, Leigh and Triner, 2004)โดยวัดระดับความพร้อมใน 6 ด้านจำนวน 27 ข้อ ได้แก่ ด้านการเข้าถึงเทคโนโลยี (Technology Access) ด้านความสัมพันธ์และทักษะออนไลน์ (Online skill and relationships) ด้านแรงจูงใจ (Motivation) ด้านภาพและเสียงออนไลน์ (Online Audio/Video) ด้านการอภิปรายบนอินเทอร์เน็ต (Internet Discussions) ด้านสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จ (Importance to your success)

8 ผลการวิจัย

9 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 93.75

10 กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 41-60 ปีร้อยละ 75.00
กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง ปีร้อยละ

11 กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์ร้อยละ 81.20
กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์ร้อยละ  

12 นักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาเอกชั้นปี1 และปีที่ 3-6 มีค่าคะแนนเฉลี่ยความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่งในระดับมาก โดยชั้นปีที่2มีระดับคะแนนมากที่สุด

13 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาเอก ทุกชั้นปีอยู่ในระดับมากและมากที่สุด

14 เปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนด้วย อีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาเอก ต่างชั้นปี ต่างอายุ ต่างเพศ และต่างประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์มีค่าคะแนนเฉลี่ยความพร้อมในการเรียนด้วย อีเลิร์นนิ่งไม่แตกต่างกัน

15 บทสรุป ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่านักศึกษาในระดับปริญญาเอกสาขาการพยาบาลมีความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่ง มีการยอมรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะนำเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน อีเลิร์นนิ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถจะนำมาใช้ได้ดีในระดับบัณฑิตศึกษา แตกต่างจากความเชื่อในอดีตที่นักศึกษาปริญญาเอกที่สูงอายุจะไม่ถนัดในการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรมีการพัฒนาอีเลิร์นนิ่งเพื่อเป็นสื่อเสริมในการจัดการเรียนรู้ให้นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา อันเนื่องจากมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นใดและสูงอายุหรือไม่ ไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อีกต่อไป


ดาวน์โหลด ppt ความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่ง ของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาเอก The e-Learning Readiness of PhD. Nursing Students ดร. เจือจันทน์ วัฒกีเจริญ มหาวิทยาลัย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google