1 ทักษะความสามารถพื้นฐานของผู้นำ การพูดเพื่อการสื่อสาร ยุทธนา พรหมณี

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การพูด.
Advertisements

สื่อการสอนโดยใช้โปรแกรม Power Point
บทเรียนโปรแกรม Power Point
40 ข้อที่ไม่ควรลืม.
ธรรมชาติและลักษณะของภาษา
การติดต่อสื่อสาร สร้างสรรค์ประโยชน์ สร้างความประทับใจที่ดี
“การให้บริการที่มีประสิทธิภาพ”
เสริมทักษะการเป็นวิทยากรฝึกอบรมความปลอดภัย
สร้างสรรค์งานโดย ครูพงศ์ศักดิ์ อินปา
โรงเรียนศรีวัฒนาบริหารธุรกิจ และเทคโนโลยีนานาชาติ
"สมัครงาน-สัมภาษณ์งาน อย่างไร? ให้ได้งาน"
เทคนิคการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
สอนอย่างไรใน 50 นาที.
การสื่อสารเพื่อการบริการ
ทักษะภาษาไทยที่นักเรียนควรทราบ
เพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์
ฝึกแล้วสื่อความหมายได้ดี ฝึกพูดเป็นการพัฒนามนุษยสัมพันธ์
ธุรกิจ จดหมาย.
การทำงานอย่างมีความสุข
ในฐานะสื่อกลางของความคิด
เนื้อหาพิเศษ :การชักจูงโน้มน้าว
การรายงานและการประเมิน ด้านที่ ๓
มนุษย์สัมพันธ์ ในการทำงานเป็นทีม
วัฒนธรรมองค์กร & การอยู่ร่วมกัน
โดย... อาจารย์อ้อ สุธาสินี
“เทคนิคการเป็นพิธีกรมืออาชีพ” ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์
บทนำ บทที่ 1.
ทักษะการใช้กิริยาท่าทาง และบุคลิกการเป็นครู
การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และผู้นำทางวิชาการ
หัวข้อวิชา การเพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้นำ และการนำเสนอข้อมูล
โดย พลตรี เอนก แสงสุก ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
เทคนิคการพูดและการนำเสนอ
การบริการ คืออะไร ? คือ การสื่อสารอย่างครบวงจร สื่อจาก ท่าทาง
การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
เคล็ดลับในการฝึกงาน ให้ประสบความสำเร็จ!!!
แนวทางการก้าวสู่การเป็น
ศิลปะการพูดในที่ชุมชน
บันทึกช่วยจำของ “เหลียงจี้จาง” (คุ้มค่าสำหรับการอ่านบทความนี้)
วิชา ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ
เทคนิคการฝึกอบรมที่เน้นผู้เข้ารับการอบรม
พิธีกร (Master of Ceremony: MC)
( Human Relationships )
เทคนิคการนำเสนอ วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2554
ขั้นตอนและหลักการวิเคราะห์
การสั่งการและ การมอบหมายงาน
การฟังและการอ่านให้เกิดวิจารณญาณ
ความหมายของการวิจารณ์
ของขวัญ ของขวัญอันล้ำค่า เหล่านี้ ไม่ต้องรอ
การฟังเพลง.
เทคนิคการรวบรวมข้อมูล
ประสบการณ์การบริหาร มหาวิทยาลัย ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารมหาวิทยาลัย โครงสร้าง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ รูปแบบการบริหารและขอบเขต อำนาจ.
เทคนิคการนำเสนอข้อมูลด้วยวาจา
ทักษะการใช้กิริยาท่าทางและบุคลิกการเป็นครู
บทที่ 2 พุทธธรรมกับสังคม.
การพัฒนาทักษะการคิด การฟัง และการพูด
(Stand & Deliver as Profressional for Management)
คาถาสำหรับนักพูด.
บุคลิกภาพ และ มนุษยสัมพันธ์ โดย รองศาสตราจารย์ดรุณ หาญตระกูล
พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ
เรื่อง การปฏิบัติตนในวัยรุ่น
เรื่อง การใช้ภาษาในการพูด ผู้สอน ครูณรงค์ฤทธิ์ ศักดารณรงค์
วาทนิเทศและเทคนิคการนำเสนอ
การพูด.
การใช้ทักษะในการพูด ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพูด ผู้พูด สื่อ สาร
ภาษาและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู
ภาษาและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู
การปฏิบัติตัวของวัยรุ่น
“การพูดแบบไม่เตรียมตัวล่วงหน้า” (Impromptu Speaking)
การนำเสนอสารด้วยวาจา
ความแตกต่างระหว่างวัยรุ่นชายและวัยรุ่นหญิง
ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ทักษะความสามารถพื้นฐานของผู้นำ การพูดเพื่อการสื่อสาร ยุทธนา พรหมณี

การพูดคืออะไร การพูด คือ การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาอาการ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนความต้องการของผู้พูดให้ผู้ฟังได้รับรู้ และเกิดการตอบสนอง

3. การพูดเพื่อการโน้มน้าวใจ จุดประสงค์ของการพูด 1. การพูดเพื่อความรู้ 2. การพูดเพื่อบอกกล่าว 3. การพูดเพื่อการโน้มน้าวใจ “อ้นอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย” “ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ คนรักรสถ้อยอร่อยจิต”

หลักการพูดที่ดี พูดให้มีเนื้อหาสาระ เชิงสร้างสรรค์ น่าสนใจ พูดแล้วทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจ มีความหวังรู้สึกดี  สดชื่น  สมหวัง   มีความตั้งใจ จริงใจในการพูด น้ำเสียงในการพูดนั้นต้องแสดงออกถึงความจริงใจ สุภาพ อ่อนโยน ดังชัดเจน  ตั้งใจที่จะให้ความรู้ที่มีเนื้อหาสาระดี 3. มีความเข้าใจผู้ฟัง ผู้ที่เราจะพูดด้วย หากเรามีความเข้าใจผู้ฟังว่าต้องการอะไร ผู้พูดมีเจตนาดี การพูดนั้นก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก 4. การพูดที่ดีนั้นต้องให้เกียรติผู้ฟังเสมอ กริยาท่าทาง การพูดให้เกียรติซึ่งกันและกันเป็นการสร้างความเป็นมิตร สร้างความรัก ความผูกพัน ความสามัคคี

วิธีการพูด (Methods of Speech) พูดแบบท่องจำ (Memorized Speech) อ่านจากร่าง (Reading The Speech) หรือต้นฉบับ (Menuscripted) พูดจากความเข้าใจ หรือจดเฉพาะหัวข้อ (Extempo Speech) พูดแบบกะทันหัน ไม่เตรียมตัว (Impromptu Speech)

พูดแบบท่องจำ (Memorized Speech) ไม่ควรใช้เด็ดขาด นอกจากโอกาสพิเศษจริง ๆ หรือพูดแบบสั้น ๆ 3-4 นาทีเพราะ 1. ไม่ว่าท่องอย่างไรคนฟังก็รู้ว่าท่อง 2. เสียงราบเรียบ ทำนองเดียว 3. สายตาไม่มองผู้ฟัง มองเดี๋ยวลืม 4. ท่าทางประกอบไม่มี หรือทำยาก

อ่านจากร่าง (Reading The Speech) หรือต้นฉบับ (Menuscripted) เป็นวิธีการพูดที่ไม่ควรนำมาใช้ในการพูดเพราะ 1. ไม่น่านิยม 2. การอ่านทำให้ต้องละสายตาจากผู้ฟัง ผู้ฟังเบื่อได้ 3. ผู้ฟังขาดความเชื่อถือในตัวผู้พูด 4. อาจแสดงให้เห็นว่าผู้พูดขาดความจริงใจ 5. ขาดความเป็นตัวของตัวเอง เช่น อาจไม่ได้เขียนต้นฉบับด้วยตัวเอง ยกเว้น การพูดแบบทางการ เช่น กล่าวรายงาน แถลงการณ์ เปิดงาน หรือพิธีต่าง ๆ

พูดจากความเข้าใจ หรือจดเฉพาะหัวข้อ (Extempo Speech) คือ พูดจากใจ - ถึงใจ จากภูมิรู้ ความรู้สึก หากกลัวลืมก็ให้โน้ตไป โดยวางไว้บนโต๊ะไว้ในอุ้มมือ เป็นวิธีที่ดี เป็นที่นิยมที่สุด เพราะ 1. เป็นตัวของตัวเอง 2. พรั่งพรู เป็นธรรมชาติ 3. เร้าใจ จริงใจ 4. แสดงภูมิรู้ของตัวเอง 5. ยืดหยุ่น ให้เหมาะสมกับเวลาได้ 6. ตอบปัญหาผู้ฟังและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้

พูดแบบกะทันหัน ไม่เตรียมตัว (Impromptu Speech) แบบนี้ ถ้าพูดได้ดีก็แสดงว่าเก่ง จะพูดได้ดีต้องมีชั่วโมงบินมาก หากขาดชั่วโมงบินก็อันตรายเพราะ ผู้ฟังไม่สนใจฟัง สรุป การพูดที่ดีที่สุดคือ การพูดจากความเข้าใจ ของตนเองหรือจดเฉพาะหัวข้อสำคัญไม่ควรใช้ วิธีการท่องจำ วิธีการอ่านจากต้นฉบับเลือกใช้เฉพาะ การพูดที่เป็นทางการ ส่วนการพูดอย่างกะทันหันนั้น หากจำเป็นจริง ๆ ก็อาจจะทำได้

องค์ประกอบของการพูด 1. ผู้พูด 2. เนื้อเรื่องที่จะพูด 3. ผู้ฟัง 1. ผู้พูด 2. เนื้อเรื่องที่จะพูด 3. ผู้ฟัง 4. เครื่องมือสื่อความหมาย 5.ความมุ่งหมายและผลในการพูดแต่ละครั้ง  

ผู้นำกับทักษะการพูด “ ผู้นำทำงานด้วยปากผู้ตามทำงานด้วยมือ” ผู้นำ“ พูดมากกว่าทำ “ ถ้าเป็นผู้ตาม “ทำมากกว่าพูด” ผู้นำที่ดีจึงต้องพูดเป็น เพราะผู้นำทำงานด้วยปาก คือ พูดมากกว่าทำ ผู้ตามทำงานด้วยมือ คือ ทำมากกว่าพูด ผู้นำจึงต้องใช้สมอง ไตร่ตรอง คิดวางแผนแล้วสั่งการ “ ถึงรู้มาก ไม่มีปาก ลำบากกาย มีอุบาย พูดไม่เป็น เห็นป่วยการ ”

หลักการพูดสำหรับผู้นำ 1.  พูดให้เข้าใจ ต้องพูดให้สั้น ตรงหลัก ถูกเป้า เข้าใจง่าย 2.  พูดให้คนชื่นชอบ ต้องพูดให้ได้ เนื้อหา สาระชัดเจน ลูกเล่นพอดี 3.  พูดให้น่าเชื่อถือ ต้องพูดให้หนัก แน่นจริงใจ ไม่ไร้สาระ

เคล็ดลับควรจำ เตรียมให้พร้อม ซ้อมให้ดี ท่าทีให้สง่า หน้าตาสุขุม เตรียมให้พร้อม ซ้อมให้ดี ท่าทีให้สง่า หน้าตาสุขุม ทักที่ประชุมไม่วกวน เริ่มต้นให้โน้มน้าวเรื่องราวกระชับ ตาจับที่ผู้ฟัง เสียงดังพอดี อย่าให้มีเอออ้า ดูเวลาให้พอครบ สรุปจบให้จับใจ

การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๑. กล่าวแสดงความยินดี/กล่าวตอบ ๒. กล่าวไว้อาลัย ๓. กล่าวอวยพร/กล่าวตอบ ๔. กล่าวสดุดี ๕. กล่าวมอบรางวัลหรือตำแหน่ง/กล่าวตอบ ๖. กล่าวต้อนรับ ๗. กล่าวแนะนำผู้พูด-องค์ปาฐก

กล่าวแสดงความยินดี/กล่าวตอบ ก. แสดงความยินดีในโอกาสรับตำแหน่งใหม่ - ผู้กล่าว กล่าวในนามของใคร - ยกย่องในความวิริยะอุตสาหะและคุณความดี - อวยพรหรือมอบของที่ระลึก - อย่าชักชวนผู้ฟัง ปรบมือ ควรปล่อยให้ผู้ฟังตัดสินใจเอง หรือปรบมือนำ ข. กล่าวตอบ - ขอบคุณ - ปวารณาตัวรับใช้ ยืนยันในความเป็นกันเองเหมือนเดิม - อวรพรตอบ

กล่าวไว้อาลัย กล่าวให้เกียรติผู้ตาย - ยกย่องคุณความดีของผู้ตาย - ให้เกียรติและให้ความอบอุ่นแก่ญาติมิตรผุ้ตาย - ชักชวนให้ยืนไว้อาลัย (ไม่ควรมีการปรบมือเด็ดขาด) ข. กล่าวแสดงความอาลัยในการย้ายงาน - ชมเชยในผลงานที่ปฏิบัติ - กล่าวถึงความรักความอาลัยของผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานทุกคน - หวังว่าจะก้าวหน้าและทำประโยชน์ต่อไป - อวยพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพและประสบความสำเร็จ

กล่าวอวยพร/กล่าวตอบ ก. อวยพรขึ้นบ้านใหม่ - ความสำเร็จในครอบครัวอยู่ที่การมีบ้านช่องเป็นหลักฐาน - ความซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียรของเจ้าของบ้าน - อวยพรให้ประสบความสุข ข. อวยพรวันเกิด - ความสำคัญของวันนี้ - คุณความดีของเจ้าภาพ - ความเจริญเติบโต ก้าวหน้า หรือเป็นที่พึ่งของบุตรหลาน - อวยพรให้อายุยืนนาน

กล่าวอวยพร/กล่าวตอบ ค. อวยพรคู่สมรส - ความสัมพันธ์ของตนต่อคู่สมรส หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง - ความยินดีที่ทั้งสองครองชีวิตคู่ - อวยพร ง. กล่าวตอบรับพร (ทุกอย่าง) - ขอบคุณในเกียรติที่ได้รับ - ยืนยันจะรักษาคุณงามความดี และปฏิบัติตามคำแนะนำ - อวยพรตอบ

กล่าวสดุดี ก. กล่าวมอบประกาศนียบัตรสดุดี - ความหมายและความสำคัญของประกาศนียบัตร - ความเหมาะสมของผู้ได้รับประกาศนียบัตร - มอบ สัมผัสมือ และปรบมือให้เกียรติ ข. กล่าวสดุดีบุคคลสำคัญที่ล่วงลับไปแล้ว - ความสำคัญที่มีต่อสถาบัน - ผลงานและมรดกตกทอด - ยืนยันจะสืบต่อมรดกนี้อย่างเต็มความสามารถ - แสดงคารวะ/ปฏิญาณร่วมกัน

กล่าวมอบรางวัลหรือตำแหน่ง ก. มอบตำแหน่ง - ชมเชยความสามารถและความดีเด่นของผู้ที่ได้รับตำแหน่ง - ความหมายและเกียรตินิยมของตำแหน่งนี้ - ฝากความหวังไว้กับผู้ดำรงตำแหน่งใหม่ - มอบของที่ระลึกหรือเข็มสัญญลักษณ์ - สัมผัสมือและปรบมือให้เกียรติ ข. รับมอบตำแหน่ง - ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจและให้เกียรติ - ชมเชยกรรมการชุดเก่า(ส่วนดีเด่น)ที่กำลังจะพ้นไป - แถลงนโยบายโดยย่อ - ให้คำสัญญาจะรักษาเกียรติและปฏิบัติหน้าที่อย่างดียิ่ง - ขอความร่วมมือจากกรรมการและสมาชิกทุกคน

กล่าวต้อนรับ ก. ต้อนรับสมาชิกใหม่ - ความสำคัญและความหมายของสถาบัน - หน้าที่และสิทธิที่สมาชิกจะพึงได้รับ - กล่าวยินดีต้อนรับ - มอบเข็มสัญญลักษณ์(ถ้ามี) สัมผัสมือ ข. ต้อนรับผู้มาเยือน - เล่าความเป็นมาของสถาบันโดยย่อ - ความรู้สึกยินดีที่มีโอกาสต้อนรับ

กล่าวแนะนำผู้พูด- องค์ปาฐก - เหตุที่ต้องพูดเรื่องนี้ - ความรู้ ประสบการณ์ และความสำคัญของ ผู้พูด โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนี้ - สร้างบรรยากาศเป็นกันเองระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ทำให้ผู้พูดอยากพูดและ ผู้ฟังอยากฟัง - อย่าแนะนำยาวเกินไป และอย่ายกยอจนเกินความจริง

ข้อแนะนำ 10 ประการ ของนักพูดที่ดี 1. จงพูดเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด 2. จงเตรียมตัวมาให้พร้อม 3. จงสร้างความเชื่อมั่นใจตนเอง 4. จงแต่งกายให้สะอาดเหมาะสม และเรียบร้อย 5. จงปรากฏกายอย่างกระตือรือร้น

ข้อแนะนำ 10 ประการ ของนักพูดที่ดี 6. จงใช้กิริยาท่าทางในการพูด 7. จงสบสายตากับผู้ฟัง 8. จงใช้น้ำเสียงให้เป็นธรรมชาติ 9. จงใช้ภาษาของผู้ฟัง 10 จงยกตัวอย่างหรือแทรกอารมณ์ขัน

ข้อเตือนที่ควรจดจำ อย่าพูดจนกว่าท่านจะมี ความเข้าใจ ในเรื่องที่ท่านจะพูด อย่าพูดจนกว่าท่านจะมี ความเชื่อ เรื่องที่ท่านพูด อย่าพูดจนกว่าท่านจะมี ความรู้สึก ตาม เรื่องที่ท่านพูด

เป็นมนุษย์สุดนิยมที่ลมปาก    จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา     แม้พูดดีมีคนเขาเมตตา    จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ        สวัสดี