4123901 System Analysis & Design การวิเคราะห์และออกแบบระบบ อ.ขวัญชัย สุขแสน E-mail : khwanchais@hotmail.com Website: http://cs.udru.ac.th/khwanchai
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบ บทที่ 1 คว ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบ วัตถุประสงค์ของบทเรียน ทราบถึงความหมายของระบบ ทราบถึงความหมายและชนิดของระบบสารสนเทศ มีความเข้าใจถึงระบบสารสนเทศและการนำไปประยุกต์ใช้ ทราบถึงหน้าที่และบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ
ระบบ (System) คืออะไร ระบบมีลักษณะกลุ่ม (Set) ที่มีองค์ประกอบ (Component) หลาย ๆ ส่วนรวมกัน โดยแต่ละองค์ประกอบจะทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์อันเดียวกัน ตัวอย่าง เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ (Hardware + Software + People ware) = ผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการ ระบบการเรียนการสอน ระบบการเรียนการสอน (ครู + นักเรียน + เนื้อหา + วิธีการสอน) = นักเรียนที่มีความรู้
ภาพรวมของระบบ ระบบจะถูกกำหนดด้วยขอบเขต (Boundary) ซึ่งภายในระบบจะประกอบไปด้วยระบบย่อย (Sub system) ต่าง ๆ (ระบบย่อย ก็คือองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบ) ระบบที่ดี จะต้องมีการสื่อสารระหว่าง Sub system มีความสมบูรณ์ในตัว เพื่อให้ระบบดำเนินไปสู่เป้าหมาย (Goal) ซึ่งการทำงานของระบบ จะมีสิ่งแวดล้อม (Environment) คอยสร้างสิ่งที่มีผลกระทบต่อระบบ
ภาพรวมของระบบ
ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ผลกระทบภายในระบบ (Internal Environment) ต้นทุนผลิตสูงขึ้น ปัญหาความขัดแย้งระหว่างพนักงาน ปัญหาการบังคับบัญชาในองค์การ ปัญหาการขาดพนักงานในตำแหน่งหน้าที่ ปัญหาการขาดงาน ผลกระทบภายนอกระบบ (External Environment) คู่แข่งทางการค้าหรือธุรกิจ นโยบาย กฎระเบียบของรัฐ ภัยธรรมชาติ ความต้องการของลูกค้า เทคโนโลยี ปัญหาภายในที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบ (ควบคุมได้) ปัญหาภายในที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบ (ควบคุมไม่ได้) 7
ระบบธุรกิจ ประกอบไปด้วยระบบย่อยที่มีความสัมพันธ์กันทั้งสิ้น ทั้งในด้านของกิจกรรมและการเชื่อมโยงข้อมูล พร้อมทั้งระบบยังต้องมีการรับข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่จะมีผลต่อการดำเนินการภายในระบบด้วย ดังนั้นการดำเนินงานของระบบโดยรวม ก็ต้องขึ้นอยู่กับการทำงานภายในระบบย่อย เพราะส่งผลถึงภาพรวมของระบบธุรกิจ
ภาพระบบธุรกิจ ระบบบริหารงานบุคคล ระบบบัญชี ระบบสินค้าคงคลัง ระบบการผลิต ระบบการตลาด ระบบธุรกิจ
การศึกษาและการพิจารณาระบบ What วัตถุประสงค์ ของระบบคืออะไร เพื่อให้ทราบว่าผลของการดำเนินงานคืออะไร How ระบบมีขั้นตอนวิธีการทำงานอย่างไร เพื่อให้ทราบว่า Goal ของระบบคืออะไร ทำอย่างไรให้งานสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว When ระบบเริ่มดำเนินงานและสิ้นสุดเมื่อใด เพื่อให้ได้มีการจัดวางตารางเวลาอย่างเหมาะสม ไม่ให้ใช้เวลามากเกินไปและลดค่าให้จ่ายของระบบให้น้อยที่สุด Who มีใครเป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อให้ได้มีการกำหนดหน้าที่อย่างชัดเจน และกำหนดขอบเขตให้แน่นอน
ระบบปิด (Closed System) เป็นระบบที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม มีจุดมุ่งหมายในการทำงานในตัวเอง โดยไม่เกี่ยวข้องหรือไม่รับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ระบบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนไปยังไงก็ตาม เช่น ตัวอย่างของสัญญาณไฟจราจร #1
ภาพสัญญาณไฟจราจร #1
ระบบเปิด Open System เป็นระบบที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันกับสภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่น สัญญาณไฟจราจร #2
ภาพสัญญาณไฟจราจร #2
ระบบสารสนเทศ (Information System) ข้อมูล และสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ชนิดของระบบสารสนเทศ
ข้อมูลและสารสนเทศ (DATA & INFORMATION) เช่น ในเที่ยวบินมีผู้โดยสารแยกเป็นชาย/หญิง กี่คน สารสนเทศสามารถกลับไปเป็นข้อมูลอีกครั้งได้ เพื่อทำการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศอีกครั้งหนึ่ง
ข้อมูลและสารสนเทศ (DATA & INFORMATION) กระบวนการ Process สารสนเทศ Information
ความหมายของการประมวลผล (Processing) หมายถึง วิธีการจัดการกับข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความหมาย และมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้งาน 100 x 2000 - + 851 450 การคำนวณ
ตัวอย่างการประมวลผลข้อมูล A xxx Xxx B C การจัดหมวดหมู่ A Z การเรียงลำดับข้อมูล การสรุปผล
คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี ความถูกต้อง (Accuracy) ทันเวลา (Timeliness) ความสมบูรณ์ (Completeness) สอดคล้องกับงาน (Relevance) การตรวจสอบได้ (Verifiability) ความเชื่อถือได้ (Reliability) ความคุ้มทุน (Economy) ความยืดหยุ่น (Flexible)
กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ ส่วนนำเข้า Input กระบวนการ Process ผลลัพธ์ Output ผลป้อนกลับ Feedback
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) 1หมายถึง การผสมผสานการใช้งานระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์) กับเทคโนโลยีการสื่อสาร (ข้อมูล ภาพ เสียง และเครือข่าย) เพื่อให้การติดต่อสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น 2หมายถึง การนำเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม มาใช้ร่วมกันเพื่อใช้ในกระบวนการรวบรวมข้อมูล จัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่ระบบสารสนเทศต่างๆที่มีความถูกต้องแม่นยำ ความรวดเร็วทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านธุรกิจ ด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา เป็นต้น
ชนิดของระบบสารสนเทศ ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง ( Transaction Processing Systems : TPS) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information Systems : EIS) ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems : OIS) ระบบบนเว็บ (Web-based Systems)
ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง ( Transaction Processing Systems : TPS) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในประจำในองค์การ เช่น การบันทึกรายการขาย, รายการตรวจโรคคนไข้, รายการบันทึกเวลาทำงานประจำวัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะเก็บรวบรวมเอาไว้เพื่อนำไปสร้างรายงาน หรือประมวลผลต่อไป สร้างข้อมูลเพื่อดำเนินธุรกิจได้ เช่น ออกใบกำกับภาษี ออกใบแจ้งหนี้ ออกใบรายการสินค้า บำรุงรักษาข้อมูลโดยการปรับปรุงข้อมูล (เพิ่ม ลบ แก้ไข)
คุณลักษณะของ TPS การแยกประเภท (Classification) การคำนวณ (Calculation) การจัดเรียง (Sorting) การสรุปผล (Summarization) การจัดเก็บ (Storage)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS) เป็นระบบที่นำสารสนเทศมาช่วยในการจัดทำรายงานลักษณะต่างๆ วางแผน และควบคุมการดำเนินงานทางธุรกิจ เป็นระบบที่ตอบสนองความต้องการในด้านการสร้างรายงาน ที่สามารถช่วยให้การตัดสินใจบริหารของผู้บริหารทำให้ง่ายขึ้น สามารถสร้างสารสนเทศที่อ้างอิงได้ตามหลักการด้านการจัดการ ด้านสถิติที่เป็นที่ยอมรับได้ ได้ข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง (TPS) มีการเตรียมสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ตามความละเอียดของข้อมูล
คุณลักษณะของ MIS การรวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และจัดทำเป็นสารสนเทศในรูปแบบรายงานที่มาจากฐานข้อมูลจากแหล่งเก็บข้อมูลต่างๆ หรือได้จาก TPS แล้วจัดทำเป็นรายงานหรือเอกสารเพื่อใช้ในงานบริหาร สารสนเทศที่เกิดขึ้นมีรูปแบบต่างๆ คือ สารสนเทศแบบละเอียด (Detailed Information) สารสนเทศแบบสรุป (Summary Information) สารสนเทศแบบกรณีเฉพาะ (Exception information)
รายงานที่เกิดขึ้นจาก MIS รายงานตามตาราง (Schedule Report) รายงานตามความต้องการ (Demand Report) รายงานกรณีเฉพาะ (Exception Report) รายงานพยากรณ์ (Predictive Report)
กระบวนการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจาก TPS เป็น MIS MIS File Order processing System Report Order File Sales Data MIS General Ledger System Expense Data Accounting File
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS) เป็นระบบที่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ในด้านต่าง ๆ แต่ DSS ไม่ได้ตัดสินใจแทน เมื่อผู้ใช้ระบบต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ผู้ใช้ระบบก็จะทำการป้อนข้อมูลที่เป็นตัวแปรต่างๆ ของเหตุการณ์นั้นเข้าสู่ระบบ DSS จากนั้นระบบจะทำการประมวลผลลัพธ์ต่างๆ แล้วรายงานออกมาเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้ระบบได้เห็นและรับทราบถึงข้อเปรียบเทียบ โดยผลลัพธ์ที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรที่แตกต่างกันของสถานการณ์นั้นๆ และสุดท้ายจึงเป็นหน้าที่ของ ผู้ตัดสินใจว่าจะปฏิบัติตามแนวทางหรือไม่อย่างไรจึงจะดีที่สุด โดยการนำเอาข้อมูลที่ได้จากการรวมรวมไว้มาทำการวิเคราะห์ผล เพื่อช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหา โดยที่สามารถสร้างทางเลือกในการตัดสินใจได้หลาย ๆ ทาง
คุณลักษณะของ DSS มีการจัดเตรียมสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลแล้วจาก TPS สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างหรือแบบกึ่งโครงสร้าง สนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ด้านต่างๆดังนี้ ระบุถึงปัญหาหรือโอกาสในการตัดสินใจ ระบุถึงความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจ เตรียมสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจ วิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจที่เป็นไปได้ เช่น อะไรจะเกิดขึ้น…ถ้า (what…if) จำลองทางเลือกและผลลัพธ์ของการตัดสินใจที่เป็นไปได้ เครื่องมือของ DSS สามารถนำโปรแกรมมาประยุกต์ใช้ได้ เช่น Excel, Access, Crystal Report, SPSS เป็นต้น
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES) เป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาหรือทำการตัดสินใจแทนผู้ใช้ โดยเลียนแบบเหตุผลและความคิดจากสารสนเทศที่รวบรวมมาจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาจริง และนำมาเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจ หากใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI อาจเรียกได้ว่า Expert System Shells) สามารถดึงสารสนเทศจากคลังข้อมูล (Data Warehouse) ได้เช่นเดียวกับระบบ DSS ตัวอย่างของ ES ได้แก่ ระบบวินิจฉัยโรค การสำรวจทางธรณีวิทยา ระบบผู้เชี่ยวชาญการควบคุมคุณภาพอาหาร เป็นต้น
คุณลักษณะของ ES ฐานความรู้ (Knowledge Base) เครื่องอนุมาน (Inference Engine) ระบบย่อยในการหาความรู้ (Knowledge Acquisition System) ส่วนอธิบาย (Explanation Facility) ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นสาขาหนึ่งที่อยู่ในระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence :AI) ซึ่งประกอบด้วยสาขาต่างๆคือ ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) หุ่นยนต์ (Robotics) ระบบการมองและการออกเสียง (Visual and Oral Perception Systems) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) เครื่องจักรชาญฉลาด (Intelligent Machines) เครือข่ายประสาท (Neural Network) ตรรกศาสตร์คลุมเครือ (Fuzzy Logic) อัลกอริทึมพันธุกรรม (Genetic Algorithms) เป็นต้น
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information Systems : EIS) เป็นระบบหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนองความต้องการให้กับผู้บริหารระดับสูง (Top Executive) ซึ่งผู้บริหารระดับสูงนี้มักเป็นบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งสูงสุดของหน่วยงาน (Chief Executive Officer : CEO) การตัดสินใจของผู้บริหารเหล่านี้มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน ความมั่นคง ความอยู่รอด และ การเจิรญเติบโตขององค์กรนั้นๆ บางครั้งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support System : ESS)
คุณสมบัติของ EIS สนับสนุนการวางแผนทางยุทธศาสตร์ (Strategic-Planning Support) เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร(External Environment Focus) ความสามารถในการคำนวณอย่างกว้างขวาง (Broad-Based Computing Capabilities) ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน (Exceptional Ease of Learning and Uses) เป็นระบบเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Customization)
ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems : OIS) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS) เป็นระบบที่สนับสนุนกิจกรรมการทำงานในสำนักงานที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งช่วยในการติดต่อสื่อสารของบุคลากรไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่เดียวกันหรือไม่ก็ตาม
คุณลักษณะของ OIS มีการเก็บรวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทุกกลุ่มไว้เพื่อการใช้งาน ช่วยการทำงานอัตโนมัติด้านต่าง ๆ ได้แก่ การประมวลคำ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การกำหนดการทำงานร่วมกัน เป็นต้น ประยุกต์กับระบบ TPS เกิดเป็นเทคโนโลยีที่หลากหลาย
OIS แบ่งตามหน้าที่ได้ดังต่อไปนี้ ระบบจัดการด้านเอกสาร (Document Management System) ระบบการส่งข่าวสาร (Message-handling System) ระบบการประชุมทางไกล (Teleconferencing System) ระบบสนับสนุนงานในสำนักงาน (Office Support System)
ระบบบนเว็บ (Web-based Systems) เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในระบบอินเทอร์เน็ตและการใช้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาทุกสถานที่ ความรวดเร็วที่เกิดขึ้นจากการให้บริการด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกา ด้านธุรกิจ ที่ได้พัฒนาระบบบนอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ระบบสืบค้นข้อมูล การทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าและคู่ค้า
นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst : SA) คือ ผู้ประสานการติดต่อบุคคลต่าง ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบ แล้วนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ เพื่อทำการสร้างระบบใหม่ งานหลัก คือ วางแผน (Planning) วิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis) พิจารณาตัดสินใจใช้ระบบสารสนเทศ กำหนดรายละเอียดระบบใหม่ จัดหา Hardware & Software ใหม่
นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst : SA) ผู้ที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างระบบสารสนเทศกับกลุ่ม ผู้เกี่ยวข้อง (System Owners เจ้าของระบบ, System Users ผู้ใช้ระบบ, System Builders ผู้พัฒนาระบบ) เหตุผลที่ต้องมี SA SA มีวิธีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานพัฒนาระบบงานข้อมูล เพื่อช่วยในงานธุรกิจ นักธุรกิจจะไม่มีความรู้ในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Programmer มีความรู้ในเทคนิคการเขียนโปรแกรม แต่อาจจะไม่เข้าใจในระบบธุรกิจ
หน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ระบบคือ วิเคราะห์ระบบ (System Analysis) วิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางการแก้ไขตามความต้องการผู้ใช้และความเหมาะสมต่อสถานะการเงินขององค์กร ออกแบบระบบ (System Design) กำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคโดยนำระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ปัญหาที่ได้วิเคราะห์มาแล้ว
หน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ เป็นผู้ประสานงาน รวบรวมข้อมูลและสารสนเทศต่างๆของระบบเดิม ออกแบบระบบ สร้างแบบจำลอง ทดสอบโปรแกรมหรือระบบที่ได้สร้างขึ้น ติดตั้งและปรับเปลี่ยนระบบ จัดทำเอกสารและคู่มือประกอบการใช้ บำรุงดูแลรักษาและประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นผู้แทนการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้ให้คำปรึกษา
ลักษณะงานของนักวิเคราะห์ระบบ หน้าที่ : วิเคราะห์ระบบอย่างเดียว เรียกว่า Information Analyst หน้าที่ : วิเคราะห์และออกแบบระบบ เรียกว่า System Designers, Application Developers หน้าที่ : วิเคราะห์ ออกแบบระบบ และเขียนโปรแกรม เรียกว่า Programmer Analysts
คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ มีความรู้ทางด้านระบบสารสนเทศ มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีความรู้ทั่วไปด้านธุรกิจ มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา มีทักษะของการติดต่อสื่อสารและมีมนุษยสัมพันธ์ ความยืดหยุ่นและการปรับตัวได้ จริยศาสตร์ (จรรยาบรรณ) มีความเป็นผู้นำ มีประสบการในการทำงานด้านวิเคราะห์และออกแบบระบบ
Whom does System Analyst need to contact? ผู้จัดการ โปรแกรมเมอร์ เจ้าของระบบ นักวิเคราะห์ ระบบ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคนิค ผู้ใช้ระบบ ผู้ขายและ ผู้จัดจำหน่าย
แบบฝึกหัด ระบบคืออะไร อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ ระบบสารสนเทศ แตกต่างจากเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร ระบบสารสนเทศมีชนิดอะไรบ้าง จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ นักวิเคราะห์ระบบ คือใคร และเป็นบุคคลที่มีบทบาทอย่างไร คุณสมบัติของการเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีคืออะไรบ้าง อาชีพนักวิเคราะห์ระบบมีความสำคัญอย่างไรต่อการพัฒนาประเทศ จงเขียนมาไม่ต่ำกว่า 5 บรรทัด เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องอย่างไรกับการพัฒนาระบบ
Reference สกาวรัตน์ จงพัฒนากร. การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550.