โปรแกรมพลศาสตร์กระบวนการอันดับที่หนึ่ง นพพล เล็กสวัสดิ์ ลักษณะของผลงานประดิษฐ์คิดค้น ส่วนที่ 2: แผ่นงานบันทึกเวลาอัตโนมัติสำหรับการทดลอง เป็นสื่อประกอบการสอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนวิชาพลศาสตร์กระบวนการและการควบคุมมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้างโปรแกรมดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก ในวิช่วลเบสิค 6.3 ของไมโครซอฟท์เอ็กซ์เซล 2003 หลังจากเปิดโปรแกรม 431FOS.xls และเลือกแผ่นงาน “Data Logging” ผู้ใช้เริ่มบันทึกข้อมูลในคอลัมน์ทางขวามือที่มีหัวคอลัมน์ “response” ซึ่งโปรแกรมจะกำหนดให้เริ่มจับเวลาและกำหนดให้ข้อมูลแรกที่ป้อนเข้าแผ่นงานเป็นเวลาเริ่มต้นที่ 0 วินาที ในคอลัมน์ “Time (s)” จากนั้นเมื่อผู้ใช้อ่านค่าเรสปอนซ์จากเครื่องมือได้อีก แล้วป้อนข้อมูลลงไป โปรแกรมจะคำนวณเวลาที่ผ่านไปหลังจากเวลาเริ่มต้นที่ 0 วินาที และแสดงผลโดยอัตโนมัติในคอลัมน์ “Time (s)” ที่เวลา 0, 5, 8, 10, … วินาที ตามลำดับ ระยะเวลาในการประดิษฐ์คิดค้น 30 เมษายน ถึง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ลักษณะของผลงานอื่นๆ ซึ่งมีใช้อยู่ในปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง ยังไม่ปรากฏโปรแกรมเพื่อการศึกษาในกระบวนวิชาพลศาสตร์กระบวนการและการควบคุมในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคาดว่ายังไม่มีการทำโปรแกรมนี้ขึ้นใช้ประกอบการสอนในประเทศไทย ในปัจจุบันการศึกษาเรื่องดังกล่าวนักศึกษาต้องสร้างแผ่นงานเอ็กซ์เซลขึ้นเองและปรับสภาวะค่าคงที่ต่างๆ ซึ่งอาจมีข้อผิดพลาดและยุ่งยากซับซ้อน ทำให้เกิดความรู้สึกว่าการศึกษากระบวนวิชานี้ยากและไม่น่าสนใจ ส่วนที่ 3: เทอร์โมมีเตอร์ ข้อเสียหรือข้อบกพร่องของผลงานอื่นๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน โปรแกรมที่ทำขึ้นประกอบการศึกษาในต่างประเทศมีราคาแพง และอาจไม่สัมพันธ์กับเนื้อหากระบวนวิชาที่สอนอยู่ ในภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การทำโปรแกรมขึ้นใช้เองจะทำให้สะดวกในการใช้, ปรับแก้ส่วนที่ยังไม่เหมาะสม หรือเพิ่มเนื้อหาเข้าในโปรแกรมได้อย่างสะดวก เหมาะสมกับนักศึกษา ส่วนที่ 4: ถังปล่อยน้ำออกเนื่องจากแรงโน้มถ่วง ข้อดีของผลงานประดิษฐ์คิดค้นนี้ เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบไว้ใน Visual Basic ในสมุดงานไมโครซอฟท์เอ็กซ์เซล ซึ่งหาใช้ได้ง่าย เพราะคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักมีไมโครซอฟท์ออฟฟิซติดตั้งอยู่ สามารถขยายขอบเขตของโปรแกรมไปเพื่อใช้สำหรับงานเฉพาะอย่าง หรือร่วมกับโปรแกรมอื่นที่ออกแบบไว้ไมโครซอฟท์เอ็กซ์เซลได้ถ้าต้องการ www.agro.cmu.ac.th/department/fe ส่วนที่ 1: เส้นแนวโน้มของเรสปอนซ์ที่สัมพันธ์กับค่าเกน, ขนาดของดิสเทอร์บแบนซ์และค่าเวลาคงที่ ส่วนที่ 5: ถังผสม เอกสารอ้างอิง Dixon, D.C. (1997). Rudiments of Process Dynamics & Control. School of Chemical Engineering & Industrial Chemistry, University of New South Wales (UNSW): Sydney, Australia, 120 pp. Hesketh, T. and Clements D. (1998). Lecture Notes in Process Dynamics & Control. School of Electrical Engineering, University of New South Wales (UNSW): Sydney, Australia, 135 pp. http://core.ecu.edu/psyc/wuenschk/StatHelp/IV-DV.htm Kreyszig, E. (1993). Advanced Engineering Mathematics, 7th edn. John Wileys & Sons: Singapore, Chapter 6. Marlin, T.E. (1995). Process Control: Designing Processes and Control Systems for Dynamic Performance. McGraw-Hill: Singapore, 954 pp. Stephanopoulos, G. (1984). Chemical Process Control: An Introduction to Theory and Practice. Prentice/Hall International: New Jersey, 695 pp. ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่