งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 3 การวิเคราะห์โครงสร้าง Structure Analysis

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 การวิเคราะห์โครงสร้าง Structure Analysis"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 3 การวิเคราะห์โครงสร้าง Structure Analysis
การวิเคราะห์โครงสร้าง คือการวิเคราะห์ระบบเดิมที่ทำด้วยมือ หรือ ระบบอัตโนมัติ เพื่อนำไปสู่การกำหนดรูปแบบของระบบใหม่ โดยการ ปรับปรุง หรือ ขยายขอบเขตการทำงานของระบบเดิม วัตถุประสงค์ คือ การจัดระบบให้สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ และ ถูกต้องกับสถานะการณ์ปัจจุบัน การวิเคราะห์ทำให้นักวิเคราะห์ทราบการจัดการ และ ขบวนการทำงานในระบบเดิม และ ช่วยมิให้มองข้ามรายละเอียดที่สำคัญ

2 การวิเคราะห์โครงสร้าง Structure Analysis
โครงสร้าง: ในแง่ของการวิเคราะห์โครงสร้างหมายถึง วิธีกำหนดโครงร่าง ความต้องการของขบวนการ เริ่มจากข้อมูลในระบบเดิม ศึกษารายละเอียดของขบวนการในระบบเดิม ตรวจสอบราบละเอียดที่ขาดหายไป เปิดโอกาสให้นักวิเคราะห์ปรึกษาถึงกลวิธีที่จะพัฒนาระบบ กำหนดการจัดทำเอกสาร ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ

3 ส่วนประกอบของ การวิเคราะห์โครงสร้าง
ส่วนประกอบของการวิเคราะห์โครงสร้าง สัญลักษณ์ (Symbols) รูปที่แสดงส่วนประกอบของระบบ และ ความสัมพันธ์ พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) บรรยายลักษณะข้อมูลที่ใช้ในระบบ เช่น ชื่อ ประเภท ขนาน รูป ช่วงค่า และ การใช้ข้อมูล ขบวนการ (Process / Procedure) ประโยคที่มีรูปแบบทางเทคนิคผสมกับภาษา ที่นักวิเคราะห์ใช้ศึกษาถึงกิจกรรมต่างๆในระบบ กฎ (Rule) มาตรฐานการจัดทำเอกสาร หรือ ระบบการบรรยายขั้นตอน

4 เครื่องมือ วิเคราะห์การไหลข้อมูล
การไหลข้อมูล (Data Flow) คือ การศึกษาว่าระบบประกอบขึ้นจากกิจกรรมใด แต่ละกิจกรรมต้องใช้ข้อมูลเข้า และ ข้อมูลออก อะไรบ้าง โดยทำการวิเคราะห์การไหลข้อมูล การวิเคราะห์การไหลข้อมูล คือ การศึกษาการใช้ข้อมูลในแต่ละกิจกรรม โดยการบันทึกเป็นผังภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม และ ข้อมูลเข้า/ออก รวมทั้งพจนานุกรมข้อมูลประกอบระบบ

5 เครื่องมือ วิเคราะห์การไหลข้อมูล
ผังภาพการไหลข้อมูล (Data Flow Diagram) สัญลักษณ์ใช้แสดงการเคลื่อนไหวของข้อมูลในระบบทำด้วยมือ หรือ อัตโนมัติ มี 2 ประเภท คือ ผังภาพการไหลข้อมูลเชิงตรรกะ (Logical Data Flow) ผังภาพการไหลข้อมูลเชิงกายภาพ (Physical Data Flow) พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ข้อมูลเชิงตรรกะลักษณะการเก็บข้อมูล รวมทั้ง ชื่อ รายละเอียด ประเภท การจัดองค์กรข้อมูล วิธีการเข้าถึง และ การกำหนดฐานข้อมูล

6 เครื่องมือ วิเคราะห์การไหลข้อมูล
ผังภาพโครงสร้างข้อมูล (Data Structure Diagram) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มข้อมูล แสดงในเชิงตรรกะไม่เกี่ยวกับกายภาพ ผังภาพโครงสร้าง (Structure Chart) แสดงความสัมพันธ์แต่ระโมดูล โดยเขียนในรูป ผังภาพลำดับชั้น (Hierarchy) แสดงการผ่านข้อมูลระหว่างโมดูล และ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลเข้ากลายเป็นข้อมูลออก

7 ภาพแสดงความสัมพันธ์ของ ส่วนต่างๆในการวิเคราะห์โครงสร้าง
ภาพแสดงความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆในการวิเคราะห์โครงสร้าง

8 สัญลักษณ์ที่ ใช้ในการไหลข้อมูล
ความหมาย Data Flow เส้นการไหลข้อมูล Process บุคคล ขบวนการ อุปกรณ์ ที่ใช้ผลิต หรือ เปลี่ยนแปลงข้อมูล Data Store แหล่งเก็บข้อมุล ตู้เอกสาร หรือ สื่อบันทึก Source / Sink of data (Destination) ต้น หรือ ปลายทางของข้อมูล อาจเป็นบุคคล หรือ ขบวนการ หรือ หรือ

9 สัญลักษณ์ที่ ใช้ในการไหลข้อมูล
สาเหตุที่มีสัญลักษณ์ต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน เพราะ มีการพัฒนาขึ้นพร้อมกัน 2 แห่ง คือ Yourdon และ Gane&Sason

10 สัญลักษณ์ที่ ใช้ในการไหลข้อมูล
Yourdon Source Source Data flow 1 Process 1 Data flow 2 Data flow 5 Data flow 3 Process 2 Data flow 4 Data Store

11 สัญลักษณ์ที่ ใช้ในการไหลข้อมูล
Gane&Sarson Process 1 Source Source Data flow 1 Data flow 2 Data flow 5 Data flow 3 Process 2 Data flow 4 Data Store

12 ประโยชน์ของ การวิเคราะห์การไหลข้อมูล
ประโยชน์ของการวิเคราะห์การไหลข้อมูล ทำให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ระบบ โปรแกรมเมอร์ บุคคลในองค์กร เข้าใจการทำงานของระบบได้ง่ายขึ้น ทำให้ง่ายต่อการสัมภาษณ์ผู้ใช้ระบบ เพราะงานถูกแบ่งเป็นส่วนย่อย จึงสามารถเจาะลึกการทำงานของแต่ละส่วนได้มากขึ้น


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 การวิเคราะห์โครงสร้าง Structure Analysis

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google