แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2556/57
Advertisements

ทฤษฎีใหม่.
การประชุมแผนแม่บทพัฒนาลุ่มน้ำในเขตอำเภอแม่จัน 31 มีนาคม 2553 ณ ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง แผนพัฒนาลุ่มน้ำในเขตอำเภอแม่จัน.
พื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมและการแก้ปัญหา
ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
ชี้แจงการสัมมนากลุ่มย่อย
ยุทธศาสตร์พัฒนาลุ่มน้ำยม
วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม 2555 เวลา น
แผนยุทธศาสตร์เพื่อการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
แนวทางการเลือกพื้นที่เป้าหมาย
วิสัยทัศน์จังหวัดพะเยา “เมืองเกษตรปลอดภัย การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน”
สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต
เกษตรตามแนว ทฤษฏีใหม่
คลื่นพายุซัดชายฝั่ง กลุ่มที่6.
Green Village บ้านคลองกั่ว หมู่ 7 ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ. สงขลา.
โครงการ “การวางแผนจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อความมั่นคงด้านน้ำในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสงครามโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนเว็บ” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
การระบาดของอหิวาตกโรคจังหวัดตาก
โครงสร้างที่ ก.พ. กำหนดไว้เดิม โครงสร้างที่ขอปรับปรุงใหม่
การออกแบบงานชลประทานเบื้องต้น (สำหรับบุคลากรในสายสนับสนุนกรมชลประทาน)
การพัฒนาลุ่มน้ำปิงตอนล่างแบบบูรณาการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตำแหน่งติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำที่เหมาะสม
การประชุมผู้บริหารสำนักชลประทานที่ 10
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก
วิกฤตการณ์เกี่ยวกับการตัดไม้ทำลายป่า และการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้
การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
วิสัยทัศน์กรมส่งเสริมสหกรณ์ ยุทธศาสตร์จังหวัดกระบี่
นโยบายด้านการบริการวิชาการ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช
ภาพรวมการจัดสรรงบประมาณในแต่ละโครงการของศูนย์ สช. ภาคกลาง ปี 2555
การจัดภารกิจ - โครงสร้างองค์กร
**************************************************
แผนปฏิบัติการยะลาเข้มแข็ง ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา
การบริหารจัดการน้ำและแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศ
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่าย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
รายละเอียด แผ่น CD Folder 1 KM เอกสารชุดความรู้ สตน. ๒๕๕๓ รวม ๑๓ บท และ เอกสารอ้างอิง ( ๓๐๙ หน้า ) Folder 2 KM ชุดนำเสนอ ( Power Point.
ความก้าวหน้าของการจัดการ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
พื้นที่ลุ่มน้ำภาคตะวันออก ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก
นโยบายของท่านเลขาธิการ ส.ป.ก. ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทาน
พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย วันพุธที่ 21 ธันวาคม 2554 ณ ห้องคริสตัล ฮอลล์ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี บูรณาการประเทศไทย ก้าวพ้นภัยพิบัติ
บูรณาการประเทศไทย ก้าวพ้นภัยพิบัติ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง ตารางกรอบแผนการบริหารจัดการและพัฒนาลุ่มน้ำ แบบบูรณาการ
3. ข้อมูลแหล่งน้ำที่พัฒนา
การประชุมผู้บริหารกรมทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 9/2549 ระเบียบวาระที่ 4.4 การจัดทำคำของบประมาณจาก กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการฟื้นฟู อนุรักษ์แหล่งน้ำ ธรรมชาติ การจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อ.
วาระที่ การจัดทำแผนพัฒนาแหล่งน้ำ
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ โครงการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร สนับสนุนการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกรมทรัพยากรน้ำ ”
โครงการแก้ปัญหาภัยพิบัติโดยชุมชน บ้านห้วยลากปืนใน ต. ห้วยไร่ อ
โครงการออกแบบวางผังแม่บท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร
แนวทางการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมกรณีอุทกภัย
สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดกระบี่ (พืชสวน)
การลดต้นทุนการผลิตพืช ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน
1 สรุปสถานการณ์น้ำประเทศไทย ปีพุทธศักราช 2554 จัดทำโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดือนมกราคม 2555.
การประชุมผู้บริหารสำนักชลประทานที่ 10
รายละเอียดข้อมูลเพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3
ปัญหาสิ่งแวดล้อม.
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ๑-๑๘
การประชาคมชุมชน โครงการการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ความหมายและความสำคัญเกษตรทฤษฎีใหม่
โครงการเสริมสร้างความรู้ด้านการชลประทานให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน กองแผนงาน กรมชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สำนักชลประทานที่
การตรวจราชการ ปีงประมาณ 2558
โครงการประตูระบายน้ำห้วยบังอี่ บ้านนาโพธิ์ ตำบลโพธิ์ไทร
อุตุนิยมวิทยากับการแจ้งเตือนภัย
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
By Supach Futrakul. By Supach Futrakul ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งมีเป็นหมู่บ้านที่จนมากอยู่บนภูเขาที่มีความแห้งแล้งมาก.
ประเภทของนโยบายสาธารณะ
การวิจัย และองค์ความรู้จากโครงการหลวง
แผนที่ยุทธศาสตร์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แถลงข่าว แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ วันศุกร์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๐.๓๐ น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

สาเหตุของอุทกภัย ปี ๒๕๕๔ ปริมาณฝนที่ตกมาก ตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ต.ค. ๕๔ สูงกว่า ของปี ๕๓ โดยค่าเฉลี่ย ๓๙% ในภาคเหนือ และ ๒๒% ในภาคกลาง เกิดจากพายุโซนร้อนไหหม่า นกเตน ไห่ถาง เนสาด และนาลแก ปริมาณน้ำในเขื่อนหลักภาคเหนือ และปริมาณน้ำท่าตั้งแต่ เดือน ส.ค. ๕๔ มากผิดปกติ

สาเหตุของอุทกภัย พื้นที่ป่าไม้ลดลง และระบบนิเวศน์ถูกทำลาย องค์กรที่มีอำนาจบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ขาดแผนหลักและงบประมาณในการบริหารจัดการน้ำ ระยะยาว ระบบข้อมูลทรัพยากรน้ำขาดการเชื่อมต่อ และไม่มีทีมวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน กฏหมายด้านการจัดการทรัพยากรน้ำไม่ทันสมัย ขาดความพร้อมในการเผชิญอุทกภัยขนาดใหญ่

ผลกระทบจากอุทกภัย ปี ๒๕๕๔ ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชน จำนวน ๔,๒๑๓,๔๐๔ ครัวเรือน และมีผู้เสียชีวิต ๖๗๖ ราย สูญหาย ๓ คน สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ รวม ๑.๔๒ ล้านล้านบาท จำแนกเป็นความเสียหาย ภาครัฐ ๐.๑๔ ล้านล้านบาท ภาคเอกชน ๑.๒๘ ล้านล้านบาท ความเสียหายต่อธุรกิจ สถานประกอบการ ๒๘,๖๗๙ แห่ง นิคมอุตสาหกรรม ๗ แห่ง แรงงานได้รับผลกระทบ ๙๙๓,๙๔๔ คน

แนวคิดและหลักการแก้ไขปัญหา ๑) ปรับปรุงและฟื้นฟูระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีอยู่ให้สมบูรณ์ และเร่งสร้าง เสริมศักยภาพในการป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้ง ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ๒) สร้างความเชื่อมั่นในการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ชุมชน พื้นที่เกษตร พื้นที่ อุตสาหกรรม และพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ ๓) บูรณาการเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ โดยการมีส่วนร่วม ของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อบริหารจัดการน้ำให้ลงสู่ทะเลโดยเร็ว แนวคิดในการ บริหารจัดการน้ำ พื้นที่ต้นน้ำ ให้ความสำคัญกับการซับน้ำ ชะลอน้ำ มิให้ไหลบ่าอย่างรุนแรง ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำ เช่น การระบายน้ำจาก เขื่อน, ทางระบายน้ำหลาก (Floodway), แก้มลิง เป็นต้น พื้นที่กลางน้ำ พื้นที่ปลายน้ำ ให้ความสำคัญกับการเร่งระบายน้ำและผลักดันน้ำออกสู่ทะเล อย่างรวดเร็ว

แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระยะสั้น ฟื้นฟูระบบเดิม และเพิ่มประสิทธิภาพ การระบายโดยใช้เกณฑ์น้ำท่วมในปี ๒๕๕๔ และปี ๒๕๔๙ เป็นหลัก รวมทั้งใช้ มาตรการด้านผังเมืองควบคุมความสูงของ ถนน คัน ทางระบายน้ำ และที่อยู่อาศัย

แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระยะยาว ปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการน้ำท่วม- น้ำแล้ง อย่างบูรณาการและยั่งยืน รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างการจัดการน้ำ ให้ครบทุกพื้นที่ทั้งในและนอกเขต ชลประทาน และจัดให้มีกฏหมายแม่บท สำหรับการจัดการน้ำ

เป้าหมายที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๕ ๑) การจัดทำระบบข้อมูล ระบบพยากรณ์ และระบบเตือนภัย ที่มีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ เพื่อพัฒนาระบบข้อมูล สร้างระบบพยากรณ์ และระบบเตือนภัย ที่มีเอกภาพและประสิทธิภาพ โดย จัดตั้งศูนย์ข้อมูลน้ำแห่งชาติ จัดทำระบบการพยากรณ์สถานการณ์น้ำให้ทันเหตุการณ์ จัดทำระบบเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ ติดตั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น ระบบ ดาวเทียม ระบบติดตามผลระยะไกล ติดตั้งกล้องวงจรปิดตามประตูระบายน้ำเพื่อตรวจสอบ ติดตาม และสั่งการ การทำงานให้มีประสิทธิภาพ

เป้าหมายที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๕ ๒) การบริหารจัดการพื้นที่ต้นน้ำ ดำเนินการปลูกป่าและพืชซับน้ำ ตามแนวพระราชดำริ อย่างต่อเนื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ปลูกป่าแบบไม่ปลูก” เป็นการพลิกฟื้นทรัพยากรป่าไม้ให้อุดม สมบูรณ์ดังเดิม โดยปล่อยทิ้งป่าไว้ให้เจริญเติบโตเป็นป่าที่สมบูรณ์ ไม่เข้าไปยุ่งเกียว หรือทำลายป่า สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ “คนอยู่กับป่า” โดยให้คนอยู่กับป่าได้ ประกอบอาชีพได้ เช่น การปลูกกาแฟอาราบิก้า, การปลูกแมคคาเดเมีย และโรงงานแปรรูป ผลิตภัณฑ์

เป้าหมายที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๕ ๒) การบริหารจัดการพื้นที่ต้นน้ำ ดำเนินการปลูกป่าและพืชซับน้ำ ตามแนวพระราชดำริ อย่างต่อเนื่อง (ต่อ) สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี “ปลูกป่าปลูกคน” เน้นให้คนมีจิตสำนึกในความสำคัญของป่า ทำให้ คนอยู่กับป่าและช่วยรักษาป้องกันการบุกรุกทำลายป่า เช่นโครงการดอยตุง, โครงการปางมะหัน และโครงการบ้านปูนะ การปลูกป่าและพืชซับน้ำแบบอื่นๆ

เป้าหมายที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๕ ๓) การบริหารจัดการพื้นที่กลางน้ำ บริหารจัดการการระบายน้ำของเขื่อนหลัก เช่น ภูมิพล สิริกิติ์ ป่าสัก และชัยนาท เป็นต้น ให้สอดคล้องต่อสถานการณ์น้ำ และเชื่อมโยงกัน จัดทำเส้นทางรับน้ำและแก้มลิงขนาดใหญ่ ปรับปรุงและสร้างคันกั้นน้ำ ฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น แม่น้ำป่าสัก คลองระพีพัฒน์ คลองเชียงราก คลองหกวา ฯลฯ ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น คลองบางกรวย คลองมหาสวัสดิ์ ฯลฯ

เป้าหมายที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๕ ๓) การบริหารจัดการพื้นที่กลางน้ำ (ต่อ) เพิ่มประสิทธิภาพการระบาย โดยการปรับปรุงประตูน้ำ สถานีสูบน้ำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ ขุดลอก คูคลอง ประมาณ ๑๐๐ แห่ง เช่น บางโฉมศรี, ระพีพัฒน์, รังสิต, ประตูจุฬาฯ, ประตูพระธรรม, บางขนาก, พระพิมล, พระยาบรรลือ, บางใหญ่, นราภิรมย์, ทวีวัฒนา ฯลฯ ได้มีการสั่งการให้มีการดำเนินการขุดลอก คู ทั้งต่างจังหวัด และ กรุงเทพมหานคร

เป้าหมายที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๕ ๔) การบริหารจัดการพื้นที่ปลายน้ำ (ฝั่งตะวันตก) เสริมและฟื้นฟูคันกั้นน้ำพระราชดำริ พัฒนาทางระบายน้ำหลาก Flood way ใช้แนวเขตริมถนน วงแหวนกาญจนาฯ ตะวันตก เพิ่มประสิทธิภาพคลองลัดแม่น้ำท่าจีน เช่น ลัดทรงคนอง ลัดงิ้วราย ลัดท่าข้าม และพัฒนาระบบระบายน้ำคลองตาขำ คลองสุนัขหอน เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองแนวตั้ง เช่น คลองทวีวัฒนา คลองราชมนตรี คลองบางน้ำจืด คลองสะแกงาม ฯลฯ

เป้าหมายที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๕ ๔) การบริหารจัดการพื้นที่ปลายน้ำ (ฝั่งตะวันตก) ต่อ เพิ่มประสิทธิภาพคลองมหาสวัสดิ์ และคลองริมทางรถไฟ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำสู่ทะเล โดย ปรับปรุงประตูน้ำ สถานีสูบน้ำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพิ่มขนาดบ่อสูบ ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำถาวร Street Canal พุทธมณฑลสายสี่ ขุดลอกสันดอนปากแม่น้ำท่าจีน

เป้าหมายที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๕ ๔) การบริหารจัดการพื้นที่ปลายน้ำ (ฝั่งตะวันออก) เสริมและฟื้นฟูคันกั้นน้ำพระราชดำริ พัฒนาทางระบายน้ำหลาก Flood way ใช้แนวเขตริมถนน วงแหวนกาญจนาฯ ตะวันออก เพิ่มประสิทธิภาพการป้อนน้ำเข้าสู่ระบบสูบหรืออุโมงค์ระบายน้ำ โดย ปรับปรุงประตูน้ำ สถานีสูบน้ำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพิ่มขนาดบ่อสูบ ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำถาวร เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองระพีพัฒน์และคลองพระองค์ เจ้าไชยานุชิต

เป้าหมายที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๕ ๔) การบริหารจัดการพื้นที่ปลายน้ำ (ฝั่งตะวันออก) ต่อ เพิ่มประสิทธิภาพ การระบายน้ำคลองแนวตั้ง เช่น คลองเปรม ประชากร คูข้างถนนวิภาวดี คลองลาดพร้าว คลองพระยา สุเรนทร์ คลองลำปลาทิว ฯลฯ ขุดลอกสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา

เป้าหมายที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๕ ๕) การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจ (นิคมอุตสาหกรรม) สร้างแนวป้องกันน้ำล้นตลิ่ง ปรับปรุงคันคลอง สร้างประตูน้ำ และสถานี สูบน้ำ ประมาณ ๑๕ แห่ง เช่น คลองเชียงรากน้อย คลองพระองค์ฯ คลองหกบน สถานีสูบน้ำเปรมเหนือ บางปะอิน เป็นต้น เสริมถนนเป็นคันกั้นน้ำ รอบนิคมอุตสาหกรรม ปทุมธานี ๓ แห่ง กม. ๕๘ , ทางหลวงหมายเลข ๓๔๖ บางพูน และกม. ๒๐ เสริมถนนเป็นคันกั้นน้ำ รอบนิคมอุตสาหกรรม พระนครศรีอยุธยา ๕ แห่ง เช่น ทางหลวง ๓๐๘, ๓๐๙ ประตูน้ำพระอินทร์ เป็นต้น จัดสรรเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับนิคมฯ เพื่อจัดทำระบบป้องกันน้ำท่วม และระบบระบายน้ำด้วยตนเอง จัดตั้ง “กองทุนประกันภัย” ห้าหมื่นล้านบาท เพื่อช่วยเหลือการประกัน วินาศภัย ในภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม

เป้าหมายที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๕ ๖) พัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการ จัดตั้งองค์กรบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการที่สามารถ ตัดสินใจได้อย่างฉับพลันในลักษณะ Single Command เพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ ปรับปรุงแผนช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจาก อุทกภัยอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระหว่างน้ำท่วมและน้ำลด ปรับปรุงกฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป

ระยะเวลาดำเนินการ ระยะฟื้นฟูและเยียวยา โดย กฟย. ระยะเร่งด่วนเพื่อป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน ระยะยาว บูรณาการและยั่งยืน

ระยะเวลาดำเนินการ ระยะเร่งด่วนเพื่อป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน โครงการต่างๆที่จะดำเนินการตามแผนงาน ปี ๒๕๕๕ จะใช้งบประมาณ ๑๘,๑๑๐ ล้านบาท ซึ่งได้จัดสรร ไว้เรียบร้อยแล้ว

แผนปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัยแบบบูรณาการและยั่งยืน พัฒนาระบบคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์ และระบบเตือนภัย (๓,๐๐๐ ล้านบาท) การฟื้นฟู อนุรักษ์ป่า ระบบนิเวศ และการสร้างอ่างเก็บน้ำ (๖๐,๐๐๐ ล้านบาท) ปลูกป่า สร้างฝายแม้ว อนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการ ปลูกหญ้าแฝก ฯลฯ สร้างอ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำยม สะแกกรัง น่าน และป่าสัก

แผนปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัยแบบบูรณาการและยั่งยืน กำหนดพื้นที่รับน้ำนองและมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจากการใช้พื้นที่เพื่อการรับน้ำ (๖๐,๐๐๐ ล้านบาท) กำหนดพื้นที่รับน้ำนองในเขตเจ้าพระยาตอนบน และตอนล่างประมาณ ๑๐ แห่ง กำหนดมาตรการชดเชยความเสียหายเป็นกรณีพิเศษ ปรับปรุงพื้นที่เกษตรชลประทานให้เป็นแก้มลิงประมาณ ๒ ล้านไร่ (เก็บน้ำได้ ๖,๐๐๐ – ๑๐,๐๐๐ ล้านลบ.ม.) ในฤดูน้ำหลาก และสามารถปลูกข้าวนาปรัง ได้ปีละ ๒ ครั้ง

แผนปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัยแบบบูรณาการและยั่งยืน จัดสร้างและปรับปรุงโครงข่ายระบายน้ำขนาดใหญ่ของประเทศ (๑๗๗,๐๐๐ ล้านบาท) จัดทำทางน้ำหลาก (Floodway) หรือทางผันน้ำ (Flood division channel) โครงการจัดทำผังการใช้ที่ดิน/และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในผัง รวมทั้งจัดทำพื้นที่ปิดล้อม โครงการปรับปรุงสภาพลำน้ำสายหลัก และคันริมแม่น้ำ ส่วนที่เหลือ (แผนปฎิบัติการบรรเทาอุทกภัยแบบบูรณาการและยั่งยืน ข้อ ๑-๔ ข้างต้น ยังต้องมีการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม และอาจเปลี่ยนแปลงได้)

ขอบคุณ

แผนปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วน

แผนปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วน

แผนปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วน

รูปการ ระบายน้ำ ในพื้นที่ ปลายน้ำ ฝั่งตะวันออกของ แม่น้ำเจ้าพระยา

รูปการ ระบายน้ำ ในพื้นที่ ปลายน้ำ ฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำเจ้าพระยา

แผนปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำแบบบูรณาการและยั่งยืน (กรณีลุ่มน้ำเจ้าพระยา)

แผนปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำแบบบูรณาการและยั่งยืน (กรณีลุ่มน้ำเจ้าพระยา)

แผนปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำแบบบูรณาการและยั่งยืน (กรณีลุ่มน้ำเจ้าพระยา)

พื้นที่น้ำท่วมถึง (Flood Plain) และทางระบายน้ำหลาก (Flood Way)