ผู้วิจัย อาจารย์พิศมัย เดชคำรณ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะการบันทึกบัญชีต้นทุน 1 เรื่องการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตของนักศึกษาระดับ ปวส.2/1 ในรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 โดยการใช้เอกสารประกอบการเรียน ผู้วิจัย อาจารย์พิศมัย เดชคำรณ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
ปัญหาการวิจัย จากการเรียนการสอนในรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 ลักษณะเนื้อหารายวิชาจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ แนวคิดเกี่ยวกับต้นทุน การจำแนกประเภทต้นทุน ระบบบัญชีต้นทุนการคำนวณและการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุน วัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายการผลิต ซี่งเป็นเนื้อหารายวิชาที่ยาก จากวัดและประเมินผลในบทที่ผ่านพบว่านักศึกษามีผลการเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นผู้วิจัยเล็งเห็นถึงปัญหาและความสำคัญของการทำวิจัยในครั้งนี้เป็นอย่างมากจึงได้ค้นหาเครื่องมือวิธีการที่จะพัฒนาทักษะการคำนวณและการบันทึกบัญชีในบทค่าใช้จ่ายการผลิต โดยการสร้างเอกสารประกอบการเรียนรู้ขึ้นมาเพื่อใช้สอนในชั้นเรียน หลังจากได้มีการอธิบายเนื้อหาตามทฤษฏีเรียบร้อย เพื่อเป็นการเน้นย้ำและเป็นการฝึกทักษะในการคำนวณและการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการผลิตให้กับนักศึกษาอีกครั้งจากเอกสารประกอบการเรียนที่ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบขึ้นมา
วัตถุประสงค์ของการทำวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะการคำนวณและการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตของนักศึกษาในรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน
กรอบแนวความคิดการทำวิจัย ทักษะการคำนวณและการบันทึก บัญชีค่าใช้การผลิต เอกสารประกอบการเรียน
นิยามศัพท์ ทักษะการบันทึกบัญชี เอกสารประกอบการเรียน หมายถึงเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนของครูและใช้ประกอบการเรียนของนักศึกษา ในรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 ซึ่งมีหัวข้อเรื่อง จุดประสงค์ เนื้อหาและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดทักษะในการคำนวณและการบันทึกบัญชีตามหลักการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิต ทักษะการบันทึกบัญชี หมายถึง ความสามารถของนักศึกษาในการบันทึกบัญชี การทำบัญชีเกี่ยวกับการจัดเก็บ สะสม รวมรวม จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล ด้านต้นทุน
สรุปผลการวิจัย ผลการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยผู้สอนใช้เอกสารประกอบการเรียนใช้ประกอบการสอนในชั้นเรียนเพื่อฝึกทักษะและสร้างความแม่นยำในการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตในคาบเรียน และให้นักศึกษาทำแบบทดสอบจำนวน 2 ครั้ง ผลปรากฏดังนี้
แบบทดสอบครั้งที่ 1 เรื่องการคำนวณอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน ระดับคะแนน จำนวนนักศึกษาที่ทำได้ ร้อยละ ดีมาก 6 23.08 ดี 16 61.54 ปานกลาง 4 15.38 พอใช้ ปรับปรุง รวม 26 100
แบบทดสอบครั้งที่ 2 เรื่องการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิต ระดับคะแนน จำนวนนักศึกษาที่ทำได้ ร้อยละ ดีมาก 8 30.77 ดี 10 38.46 ปานกลาง พอใช้ ปรับปรุง รวม 26 100
สรุปผลการวิจัย จากการวัดและประเมินผลการทดสอบทั้ง 2 ครั้ง สรุปได้ดังนี้ จากการวัดและประเมินผลการทดสอบทั้ง 2 ครั้ง สรุปได้ดังนี้ 1.จากการเก็บคะแนนแบบทดสอบครั้งที่ 1 การคำนวณอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานนักศึกษามีผลการสอบผ่านหมดทุกคน สามารถวัดและประเมินผลได้ว่านักศึกษามีความเข้าใจในเอกสารประกอบการเรียน จนทำให้นักศึกษาเกิดทักษะและแม่นยำในการคำนวณอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน 2.จากการเก็บคะแนนแบบทดสอบครั้งที่ 2 เรื่องการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตนักศึกษามีผลการสอบผ่านหมดทุกคน สามารถวัดและประเมินผลได้ว่านักศึกษามีความเข้าใจในเอกสารประกอบการเรียน จนทำให้นักศึกษาเกิดทักษะและแม่นยำในหลักการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิต
ขอบคุณมากค่ะ