ปวสปี 4 รหัส 3200-1001 หมวดวิชาชีพพื้นฐาน เรื่องการค้าระหว่างประเทศ วิชาหลักเศรษฐศาสตร์ ปวสปี 4 รหัส 3200-1001 หมวดวิชาชีพพื้นฐาน เรื่องการค้าระหว่างประเทศ
จุดประสงค์กการเรียนรู้ เมนู ฝึกทักษะ คำชี้แจงบทเรียน เนื้อหาบทเรียน แบบฝึกทักษะ จุดประสงค์กการเรียนรู้ แบบทดสอบหลังเรียน แบบทดสอบก่อนเรียน อ้างอิง
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกความหมายของการค้าระหว่างประเทศ 2. บอกสาเหตุที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ 3. ทำให้ทราบผลดีของการค้าระหว่างประเทศ
คำชี้แจงบทเรียน อ่านจุดประสงค์การเรียนรู้อย่างละเอียดและทำความเข้าใจให้ชัดเจน ควรทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อประเมินความรู้เดิมของตนเอง ศึกษาเนื้อหาบทเรียนให้ครบถ้วนอย่างตั้งใจ ทำแบบฝึกทักษะและตรวจสอบว่าตนเองเข้าใจหรือไม่ และมากน้อยเพียงใดหากมีข้อสงสัย โปรดกลับไปศึกษาเนื้อหาบทเรียนใหม่อีกครั้ง
บทนำ ทุกวันนี้ประเทศต่างๆ ในโลกจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยฃึ่งกันและกัน อาจกล่าวได้ว่าแทบจะ ไม่มีประเทศใดสามารถอยู่ไดอย่างปกติสุข โดยไม่ต้องติดต่อค้าขายกับประเทศใดก็ตามที่มี ความจำเป็นต้องแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวระยะเวลาหนึ่ง ประวัติศาสตร์ก็มักจะแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นหยุดอยู่กับที่ ไม่มีการขยายตัวในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ เพราะประเทศเหล่านี้ไม่สามารถอยู่ได้โดยอาศัย เฉพาะสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้น ภายในประเทศเท่านั้นไม่สามารถผลิตได้เอง
สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ 1.การมีสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน 2.ความสมบูรณ์หรือการขาดแคลนทั้งปริมาณและคุณภาพ ของทรัพยากร 3.ความแตกต่างในเรื่องความรู้ความชำนาญในการผลิตสินค้าและบริการ การค้าระหว่างประเทศหมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประชาชนของประเทศ หนึ่งกับประชาชนของประเทศอื่นหรือการค้าขายระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลของประเทศต่างๆ
ผลดีของการค้าระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศ นอกจากจะช่วยให้การจัดจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพแล้วยังเป็นกิจการสำคัญที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่ง พอสรุปได้ดังนี้ 1. ช่วยให้ประชาชนมีสินค้าและบริการมากขึ้นโดยเฉพาะสินค้าที่ผลิตไม่ได้ในประเทศ หรือ ผลิตได้แต่ใช้ต้นทุนสูง 2. ช่วยให้รัฐบาลได้รับรายได้ ในรูปภาษีและค่าธรรมเนียมจากการส่งออกและนำเข้า
3. ช่วยให้การผลิตและการค้า ทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ภายในประเทศขยายตัว 4. ทำให้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และสามารถนำมาพัฒนาการ ค้าภายในประเทศ ให้มีประสิทธิภาพ 5. ทำใหเกิดช่องทางการลงทุน