องค์ประกอบของการทบทวนวรรณกรรม

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส
Advertisements

ส่วนประกอบตอนต้น ปก ชื่อเรื่องวิจัย ชื่อผู้วิจัย โรงเรียน ชื่อโครงการ เดือน ปี ที่วิจัยเสร็จ คำนำ ส่วนประกอบ ที่มาของรายงาน วัตถุประสงค์ของรายงาน วิจัย.
ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
: วัตถุประสงค์การวิจัย : การนิยามศัพท์
วิชาหัวข้อเรื่องที่ทันสมัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 6 มกราคม 2555
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
รศ. ดร. สมศักดิ์ คงเที่ยง
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
กรอบแนวคิด ในการทำวิจัย
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
รายงานการวิจัย.
Research Problem ปัญหาการวิจัย
การวิจัยแบบกรณีศึกษา (Case Study Research) อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การทดลองและการเขียนรายงานผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์
Thesis รุ่น 1.
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
การวางแผนและการดำเนินงาน
Management Information Systems
การวิจัยสถาบัน ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร
การติดตาม และประเมินโครงการ.
: หัวข้อและความสำคัญของปัญหา
: หัวข้อและประเด็นปัญหา
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด
ระเบียบวิธีวิจัย RESEARCH METHODOLOGY : ตัวแปรการวิจัย.
รศ. ดร. สุนีย์ เหมะประสิทธิ์
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
วัตถุประสงค์ของการศึกษาด้วยกรณีศึกษา
บทที่ 8 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การเฝ้าระวังกับนโยบายสังคม
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
การออกแบบการวิจัย(Research Design)
กระบวนการวิจัยเชิงประเมิน
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
การวิจัยดำเนินงาน Operations research
การเขียนรายงานการวิจัย
ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร
นักวิจัย กับ แนวทางการมีส่วนร่วมในการทำวิจัย
การพัฒนาระบบการเรียนการสอน
การเขียนรายงานการวิจัย
ปัญหาการวิจัย โดย ดร.วรรณะ บรรจง.
การสร้างข้อสอบ ตามแนวการวัดใน PISA
การเขียนรายงานการวิจัย
การเขียนเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
กระบวนการวิจัย Process of Research
ทักษะการคิดวิเคราะห์
ใส่ชื่อเรื่องงานวิจัย กะทัดรัด มีตัวแปรต้น ตัวแปรตาม อย่างชัดเจน
การเขียนข้อเสนอโครงการ
14. การเขียนโครงร่างการวิจัย (แบบ ว -๑) (Proposal)
การประเมินนวัตกรรม Dr.Kulthida Nugultham.
รศ. ดร. นิตยา เจรียงประเสริฐ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
คำอธิบายรายวิชา.
นายณัฐวุฒิ ปานแก้ว รหัส 039 คอม ปวช 1/2
สารานุกรมการศึกษา (The Encyclopedia of Education) ให้ความหมายไว้ว่า คือ “การจัดการสืบค้นอย่างมีระบบเกี่ยวกับการศึกษาและผลผลิตที่ได้รับจากการศึกษา”
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปัญหาจริยธรรมในทางธุรกิจ
หลักการเขียนโครงการ.
ลักษณะโครงการวิจัยที่ดี
การเขียนรายงานผลการวิจัย
การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R)
15. การวิจัยเชิงสำรวจ Survey Research.
7.Discussion การอภิปราย นายวัชรกร เดชะบุญ รหัสนิสิต
การวิจัยการสื่อสารการตลาด (AMC2202)
หน่วยที่1 ข้อมูลทางการตลาด
การวิจัย เป็น  กระบวนการ แสวงหา ความรู้ หรือ ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องของ ประเด็นปัญหาที่ต้องการ ศึกษา  เป็น ระบบ มีแบบแผนตาม แนวทางของ วิธีการทาง วิทยาศาสตร์
แนวทางพัฒนางานประจำ สู่งานวิจัย
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
1. การวิจัยคืออะไร 2. การวิจัยแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ใบสำเนางานนำเสนอ:

องค์ประกอบของการทบทวนวรรณกรรม แนวคิด (Concepts) ทฤษฎี (Theories) ข้อค้นพบ (Findings)

แนวคิด (Concepts) คือการรวบรวมความหมายหรือคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เรื่องราว เงื่อนไข สถานการณ์และพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรมที่ได้รับการยอมรับสำหรับในการวิจัยนั้น ทฤษฎี (Theories) คือกลุ่มของความเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิด ความหมาย และข้อเสนอ ซึ่งทำให้ก้าวหน้าเพื่ออธิบายและทำนายปรากฏการณ์ด้วยเหตุนี้จึงใช้ทฤษฎีอย่างต่อเนื่องในการอธิบายหรือทำนายสิ่งที่เป็นไปต่างๆ ในงานวิจัย เพื่อให้ผลการวิจัย มีน้ำหนักและเหมาะสมกับสถานการณ์ และเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการอธิบาย และการทำนาย ข้อค้นพบ (Findings) คือสิ่งที่เป็นผลลัพธ์จากการศึกษาวิจัย

ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนค่าได้ (ยุวดี ฦาชา, 2537) ตัวแปร หมายถึง ลักษณะทางประชากรที่นักวิจัยสนใจจะศึกษา ซึ่งสามารถวัดได้ นับได้ และลักษณะนั้นๆ ไม่คงที่สามารถแปรเปลี่ยนไปได้หลายค่า หรือมีมากกว่า 1 ลักษณะ

ประเภทของตัวแปรในการวิจัย 1. ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent variable) 2. ตัวแปรตาม (Dependent variable) 3. ตัวแปรแทรก (Intervening variable) 4. ตัวแปรนำ (Antecedent Variable) 5. ตัวแปรภายนอก (Extraneous Variable)

1. ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นสิ่งที่ ค่าเปลี่ยนแปลงได้ เป็นตัวแปรที่นักวิจัยกำหนดให้มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น เมื่อตัวแปรอิสระเปลี่ยนแปลง จะทำให้ตัวแปรอื่นเปลี่ยนแปลงไปด้วย เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยเห็นว่า เป็นสาเหตุก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในปรากฏการณ์ เหตุการณ์ หรือพฤติกรรมที่ผู้วิจัยทำการศึกษา การกำหนดตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสระจะต้องทำการเปรียบเทียบกับตัวแปรตาม

2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่เป็นเป้าหมายของการวิเคราะห์ เป็นผลจากตัวแปรอิสระ จึงมีลักษณะเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นทีหลังและเปลี่ยนแปลงตามตัวแปรอิสระ

3. ตัวแปรแทรก (Intervening variable) เป็นตัวแปรที่แทรกอยู่ระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม เป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม เช่น การศึกษากับการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง อาจมีความนิยมในการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นตัวแปรแทรก

4. ตัวแปรนำ (Antecedent Variable) เป็นตัวแปรที่มีแบบแผนความสัมพันธ์กับตัวแปรแทรกมาก ตัวแปรนำจะเป็นตัวแปรที่อยู่ข้างหน้าหรือมาก่อนตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม เป็นตัวแปรที่มาก่อนการเริ่มต้นวิเคราะห์ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งอาจมีอาชีพของบิดาเป็นตัวแปรนำ

5. ตัวแปรภายนอก (Extraneous Variable) เป็นตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ มีจำนวนไม่จำกัด เป็นตัวแปรที่เป็นเป้าหมายของการวิเคราะห์ เป็นผลของตัวแปรอิสระ จึงมีลักษณะเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นทีหลังและเปลี่ยนแปลงตามตัวแปรอิสระ บางตัวแปรสามารถดึงมาเป็นตัวแปรอิสระได้ แต่โดยส่วนใหญ่ถูกสันนิษฐานเอา หรือแยกออกไปจากการศึกษา ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ

5. ตัวแปรภายนอก/แทรกซ้อนหรือตัวแปรเกิน (Extraneous Variable) เป็นตัวแปรอิสระที่ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายรายการที่ต้องการศึกษา แต่เป็นตัวแปรที่ส่งผลหรือมีอิทธิพลถึงตัวแปรตาม ในการทำวิจัยจะต้องพยายามควบคุมหรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรประเภทนี้ให้หมดไป หรือให้เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด รศ. เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย P (83)

กรอบแนวคิดของการวิจัย กรอบแนวคิดของการวิจัย หมายถึง แนวความคิดของผู้วิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้เป็นข้อสมมติฐานในการศึกษาและวิจัยแต่ละครั้ง (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2538)

กรอบแนวคิด (Conceptual Framework) ความคิดของผู้วิจัยเกี่ยวกับตัวแปรต่างๆ ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้เป็นข้อสมมติฐานในการศึกษาและวิจัยแต่ละครั้ง ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ

ลักษณะกรอบแนวคิด เป็นการอธิบายความคิด โดยในการวิจัยนี้เราจะใช้แนวคิด หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอะไร หรือใช้เหตุผลอะไรมารองรับงานวิจัยเพื่อให้น่าเชื่อถือ อาจกล่าวถึงทฤษฎีคนอื่น แนวคิดของคนอื่น หรือแนวคิดของเราเองที่จะทำต่องานนี้ เป็น Concept ของการทำวิจัยครั้งนี้ สามารถมองให้เห็น Output ได้

ลักษณะที่สำคัญของกรอบแนวคิด คือ ความมีพื้นฐานเชิงทฤษฎี

ที่มาของกรอบแนวคิดในการวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัยมีที่มาอยู่ 3 แหล่งด้วยกัน คือ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ได้ทฤษฎีของผู้อื่น, ได้แนวคิดของผู้อื่น) 2. ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (แนวคิดที่พิสูจน์แล้ว ได้ทฤษฎี (ของผู้อื่น)) 3. แนวความคิดของผู้วิจัยเอง

หลักสำคัญในการเลือกกรอบแนวคิด มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ คือ ความตรงประเด็น ความง่ายและไม่สลับซับซ้อน ความสอดคล้องกับความสนใจ ความมีประโยชน์เชิงนโยบาย

ประโยชน์ของการเลือกกรอบแนวคิดการวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัยมีประโยชน์ต่อกระบวนการทำวิจัยในขั้นต่อๆ มามากมาย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นการออกแบบการวิจัย ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล และขั้นการตีความหมายผลที่ได้จากการวิจัย

การเสนอกรอบแนวคิด การแสดงให้เห็นถึงกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยอาจทำได้หลายวิธีคือ 1. แบบพรรณนาความ 2. แบบจำลอง หรือ สมการระบุความสัมพันธ์ 3. แบบแผนภาพ 4. แบบผสมผสาน

การเสนอกรอบแนวคิด แบบพรรณนาความ เป็นการเขียนบรรยายเพื่อให้เห็นว่า ในการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้างที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหา หรือประเด็นในการวิจัย ตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์ กับตัวแปรตามอย่างไร และมีเหตุผลหรือทฤษฎีอะไรมาสนับสนุน แบบจำลอง จะใช้สัญลักษณ์ หรือสมการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ กับตัวแปรตาม เช่น V= f(A,B,C,D) V= a+b1A+b2B+b3C+b4D

การเสนอกรอบแนวคิด (ต่อ) แบบแผนภาพ ผู้วิจัยใช้แผนภาพเพื่อช่วยให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นว่าผู้วิจัยมีแนวคิดอย่างไร ในความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการตลาด ความพึงพอใจ ปัจจัยด้านคุณภาพ

หนังสืออ้างอิง ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ. ดร. กิติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และคณะ ระเบียบวิธีวิจัย. รศ. เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. เอกสารการสอนของ อ. พัชรินทร์ สังวาลย์